การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะ Oracy ของ นักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศโดยบูรณาการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล

Date
2022
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะ Oracy ของ นักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศโดยบูรณาการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล
Recommended by
Abstract
การวิจัยนี้การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของครู ผู้บริหาร และผู้ปกครองในการพัฒนาทักษะ Oracy ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ และ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ Oracy ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตอุทิศโดยบูรณาการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกกับเทคโนโลยีดิจิทัล ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์แรกเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้บริหารและครู จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน สำหรับวัตถุประสงค์ที่ 2 คณะผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร แนวทางการพัฒนาทักษะ Oracy ในประเทศอังกฤษของมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ รวมถึงนำผลจากการสำรวจความต้องการพัฒนาทักษะความต้องการ Oracy ของครู ผู้บริหารและผู้ปกครองโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มาใช้ในการออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะ Oracy ของนักเรียน โดยกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ออกแบบเนื้อหา ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดประเมินรวมถึงสื่อการเรียนรู้ ในการประเมินหลักสูตรได้นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบคุณภาพโดยตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตร ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวัตถุประสงค์ 2) ด้านเนื้อหา 3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ด้านการวัดและประเมินผล ผลการประเมินคุณภาพของหลักสูตรได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 อยู่ในระดับมากที่สุด จากนั้นผู้วิจัยทำการทดลองการใช้หลักสูตรในการอบรมนักเรียนเพื่อประเมินหลักสูตร ผู้เข้าอบรมเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 18 คน ผู้เข้าร่วมทั้งหมดถูกเลือกโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ผลจากการสำรวจพบว่า ความต้องการ Oracy Skills ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับสำคัญมากในทุกองค์ประกอบและทุก Stand โดยรวมแล้วมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.93 สำหรับการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการประเมินในกระบวนการประเมินหลักสูตร Wilcoxon Singed Rank test (WSRT) พบว่า ความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการประเมินของนักศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (p =.002).