บทบาทของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ต่อการบริหารราชการแบบธรรมาภิบาล
dc.contributor.author | ปริญญ รื่นภาควุฒิ | |
dc.date.accessioned | 2/12/2023 11:52 | |
dc.date.available | 2/12/2023 11:52 | |
dc.date.issued | 2009 | |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง “บทบาทของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพต่อการบริหารราชการแบบธรรมาภิบาล” ครั้งนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการบริหารราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีสมเด็จพระเจ้ากรมพระยาดํารงราชานุภาพ (เสด็จในกรมฯ) เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งท่านเป็นจักรกลสําคัญในการปฏิรูประบบการบริหารราชการของไทยจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่ง กระทรวงมหาดไทย” กับการบริหารราชการในสมัยปัจจุบัน โดยมีหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นตัวชี้วัด เนื่องจากผู้เขียนตั้งคําถามในการวิจัยว่าแนวทางในการดําเนินการ ปฏิรูประบบบริหารราชการอย่างไรที่เสด็จในกรมฯ ได้ทรงนําหลักการบริหารสมัยใหม่ที่ยึดหลักธรรมาภิบาลมาใช้อันเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพของงานบริหารราชการดีขึ้น และสามารถผ่านปัญหาภัยรุกรานจากทั้งภายในและภายนอกประเทศมาได้ ซึ่งปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นใกล้เคียงกับเหตุการณ์บ้านเมืองของไทยในสมัยปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของการวิจัยประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาถึงเอกลักษณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพที่ทรงวางรากฐานในการบริหารราชการที่ถือว่าเป็นแบบอย่างของประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ถึงการดําเนินนโยบายและการบริหารราชการของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพที่ได้ดําเนินการในแบบธรรมาภิบาล ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของประเทศในการประสานรูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรกับการบริหารสมัยใหม่ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งกําหนดการวิจัยออกเป็น 3 ลักษณะ คือ การวิจัยข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research), การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview), และการประชุมระดมสมอง (Brainstorming) | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/711 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต | |
dc.subject | กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ธรรมภิบาล | |
dc.subject | ธรรมาภิบาล ราชการ | |
dc.title | บทบาทของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ต่อการบริหารราชการแบบธรรมาภิบาล | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=67 |