การศึกษาอัตราการสะสมของเชื้อรา และประสิทธิภาพของนายาฆ่าเชื้อ ในการกำจัดเชื้อราในอากาศภายในอาคาร

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การศึกษาอัตราการสะสมของเชื้อรา และประสิทธิภาพของนายาฆ่าเชื้อ ในการกำจัดเชื้อราในอากาศภายในอาคาร
Recommended by
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดมงหมายเพื่อศึกษาชนิด ปริมาณ และอัตราการสะสมของเชื้อราในอากาศ และเครื่องปรบอากาศ พื้นที่ศึกษา คือ ห้อง E-Learning center ของอาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระหว่างวันแรกที่ทําการทดลอง (Day 0) และวันที่ 2 ของการศึกษา (Day 2) โดยงดกิจกรรมการทำความสะอาดภายในห้อง พบว่า มีปริมาณเชื้อราในอากาศ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.73 x 102 และ 4.19 x 102 CFU/m3 ตามลำดับ โดยยังอยู่ในเกณฑ์ค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ (5.00 x 102 CFU/m3) และมีปริมาณเชื้อราในเครื่องปรับอากาศ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 x 102 และ 4.87 x 102 CFU/m3 ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการสะสมของเชื้อราในอากาศและเครื่องปรับอากาศ เท่ากับ 73.0 และ 53.5 CFU/day ทั้งนี้ พบความหลากหลายของชนิดเชื้อราในการศึกษา จํานวน 3 ชนิด ได้แก่ Aspergillus aculeatus (CBS 172.66T), Pestalotiopsis theae (CMU ELA1) และ Aspergillus flavus (CBS 100927T) ซึ่งเชื้อราที่พบมากที่สุด คือ Aspergillus spp. รองลงมาคือ Pestalotiopsis spp. ทั้งนี้ ผลการทดสอบฤทธิ์การต้านและประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในอากาศและเครื่องปรับอากาศของน้ำยาฆ่าเชื้อ จํานวน 4 ชนิด ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 1, 2, 3, 5, 7.5 และ 10 (v/v) เป็นเวลา 5 วัน โดยพิจารณาความเข้มข้นต่ำที่สุดที่แสดงประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ทั้งหมด เท่ากับร้อยละ 100.00 พบว่า กรดอะซิติก (Acetic acid) มีประสิทธิภาพ การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา จํานวน 3 ชนิด ได้แก่ Aspergillus aculeatus, Pestalotiopsis theae และ Aspergillus flavus สูงที่สุด ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 3, 2 และ 2 (v/v) ตามลำดับ โดยมีฤทธิ์การต้านเชื้อราคิดเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 3.40, 4.84 และ 1.60 มิลลเมตร ตามลำดับ รองลงมาคือ ไฮโดรเจนเปอรออกไซด์ (Hydrogen peroxide) ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 5, 3 และ 3 (v/v) ตามลำดับ มีฤทธิ์การต้านเชื้อราคิดเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 4.70, 13.31 และ 1.13 มิลลเมตร ตามลำดับ และโพวโดน - ไอโอดีน (Povidone - Iodine) ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 5, 3 และ 5 (v/v) ตามลำดับ มีฤทธิ์การต้านเชื้อราคิดเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 5.57, 3.41 และ 2.09 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนผลการทดสอบน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดไอโซโพรพานอล (ISO - Propanol) พบว่า ไม่มีฤทธิ์การต้านและประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในอากาศและเครื่องปรับอากาศ ทั้ง 3 ชนิด ทุกระดับความเข้มข้น ส่วนผลการทดสอบฤทธิ์ของน้ำยาฆ่าเชื้อในการกำจัดเชื้อราในอากาศและเครื่องปรับอากาศของน้ํายาฆาเชื้อ จํานวน 3 ชนิด ได้แก่ โพวโดน - ไอโอดีน (Povidone - Iodine), ไฮโดรเจนเปอรออกไซด์ (Hydrogen peroxide) และกรดอะซิติก (Acetic acid) ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 1, 2, 3, 4, 5, 7.5 และ 10 (v/v) เป็นเวลา 5 วัน ต่อเชื้อรา 3 ชนิด ได้แก่ Aspergillus aculeatus, Pestalotiopsis theae และ Aspergillus flavus พบว่า ไฮโดรเจนเปอรออกไซด์ (Hydrogen peroxide) และกรดอะซิติก (Acetic acid) มีคุณสมบัติดีเท่ากัน โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดของน้ำยาฆ่าเชื้อที่เชื้อราทั้ง 3 ชนิดไม่สามารถเจริญได้ (Minimum Inhibitory Concentration, MIC) เทากบรอยละ 2 (v/v) ทั้งหมด ส่วนโพวโดน - ไอโอดีน (Povidone - Iodine) พบว่า ค่า MIC มีค่าเท่ากับร้อยละ 2, 2 และ 3 (v/v) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณา ค่า MFC (Minimum fungicidal concentration) ซึ่งเป็นค่าความเข้มข้นต่ำสุดของน้ำยาฆาเชื้อ ในการกำจัดเชื้อรา พบว่า โพวโดน - ไอโอดีน (Povidone - Iodine) มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อราทั้ง 3 ชนิด ดีที่สุด โดยมีค่า MFC เท่ากับร้อยละ 2, 2 และ 3 (v/v) ตามลาดับ รองลงมาคือ ไฮโดรเจนเปอรออกไซด์ (Hydrogen peroxide) มีค่า MFC เทากบรอยละ 2, 3 และ 3 (v/v) ตามลำดับ ส่วนกรดอะซิติก (Acetic acid) พบว่า มีคุณสมบัติต่ําที่สุดในการกำจัดเชื้อรา โดยมีค่า MFC เท่ากับร้อยละ 7.5, 2 และ 7.5 (v/v) ตามลำดับ
Description
Citation
View online resources
Collections