การศึกษาอัตราการสะสมของเชื้อรา และประสิทธิภาพของนายาฆ่าเชื้อ ในการกำจัดเชื้อราในอากาศภายในอาคาร

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การศึกษาอัตราการสะสมของเชื้อรา และประสิทธิภาพของนายาฆ่าเชื้อ ในการกำจัดเชื้อราในอากาศภายในอาคาร
Recommended by
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดมงหมายเพื่อศึกษาชนิด ปริมาณ และอัตราการสะสมของเชื้อราในอากาศ และเครื่องปรบอากาศ พื้นที่ศึกษา คือ ห้อง E-Learning center ของอาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระหว่างวันแรกที่ทําการทดลอง (Day 0) และวันที่ 2 ของการศึกษา (Day 2) โดยงดกิจกรรมการทำความสะอาดภายในห้อง พบว่า มีปริมาณเชื้อราในอากาศ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.73 x 102 และ 4.19 x 102 CFU/m3 ตามลำดับ โดยยังอยู่ในเกณฑ์ค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ (5.00 x 102 CFU/m3) และมีปริมาณเชื้อราในเครื่องปรับอากาศ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 x 102 และ 4.87 x 102 CFU/m3 ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการสะสมของเชื้อราในอากาศและเครื่องปรับอากาศ เท่ากับ 73.0 และ 53.5 CFU/day ทั้งนี้ พบความหลากหลายของชนิดเชื้อราในการศึกษา จํานวน 3 ชนิด ได้แก่ Aspergillus aculeatus (CBS 172.66T), Pestalotiopsis theae (CMU ELA1) และ Aspergillus flavus (CBS 100927T) ซึ่งเชื้อราที่พบมากที่สุด คือ Aspergillus spp. รองลงมาคือ Pestalotiopsis spp. ทั้งนี้ ผลการทดสอบฤทธิ์การต้านและประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในอากาศและเครื่องปรับอากาศของน้ำยาฆ่าเชื้อ จํานวน 4 ชนิด ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 1, 2, 3, 5, 7.5 และ 10 (v/v) เป็นเวลา 5 วัน โดยพิจารณาความเข้มข้นต่ำที่สุดที่แสดงประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ทั้งหมด เท่ากับร้อยละ 100.00 พบว่า กรดอะซิติก (Acetic acid) มีประสิทธิภาพ การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา จํานวน 3 ชนิด ได้แก่ Aspergillus aculeatus, Pestalotiopsis theae และ Aspergillus flavus สูงที่สุด ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 3, 2 และ 2 (v/v) ตามลำดับ โดยมีฤทธิ์การต้านเชื้อราคิดเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 3.40, 4.84 และ 1.60 มิลลเมตร ตามลำดับ รองลงมาคือ ไฮโดรเจนเปอรออกไซด์ (Hydrogen peroxide) ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 5, 3 และ 3 (v/v) ตามลำดับ มีฤทธิ์การต้านเชื้อราคิดเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 4.70, 13.31 และ 1.13 มิลลเมตร ตามลำดับ และโพวโดน - ไอโอดีน (Povidone - Iodine) ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 5, 3 และ 5 (v/v) ตามลำดับ มีฤทธิ์การต้านเชื้อราคิดเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 5.57, 3.41 และ 2.09 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนผลการทดสอบน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดไอโซโพรพานอล (ISO - Propanol) พบว่า ไม่มีฤทธิ์การต้านและประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในอากาศและเครื่องปรับอากาศ ทั้ง 3 ชนิด ทุกระดับความเข้มข้น ส่วนผลการทดสอบฤทธิ์ของน้ำยาฆ่าเชื้อในการกำจัดเชื้อราในอากาศและเครื่องปรับอากาศของน้ํายาฆาเชื้อ จํานวน 3 ชนิด ได้แก่ โพวโดน - ไอโอดีน (Povidone - Iodine), ไฮโดรเจนเปอรออกไซด์ (Hydrogen peroxide) และกรดอะซิติก (Acetic acid) ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 1, 2, 3, 4, 5, 7.5 และ 10 (v/v) เป็นเวลา 5 วัน ต่อเชื้อรา 3 ชนิด ได้แก่ Aspergillus aculeatus, Pestalotiopsis theae และ Aspergillus flavus พบว่า ไฮโดรเจนเปอรออกไซด์ (Hydrogen peroxide) และกรดอะซิติก (Acetic acid) มีคุณสมบัติดีเท่ากัน โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดของน้ำยาฆ่าเชื้อที่เชื้อราทั้ง 3 ชนิดไม่สามารถเจริญได้ (Minimum Inhibitory Concentration, MIC) เทากบรอยละ 2 (v/v) ทั้งหมด ส่วนโพวโดน - ไอโอดีน (Povidone - Iodine) พบว่า ค่า MIC มีค่าเท่ากับร้อยละ 2, 2 และ 3 (v/v) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณา ค่า MFC (Minimum fungicidal concentration) ซึ่งเป็นค่าความเข้มข้นต่ำสุดของน้ำยาฆาเชื้อ ในการกำจัดเชื้อรา พบว่า โพวโดน - ไอโอดีน (Povidone - Iodine) มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อราทั้ง 3 ชนิด ดีที่สุด โดยมีค่า MFC เท่ากับร้อยละ 2, 2 และ 3 (v/v) ตามลาดับ รองลงมาคือ ไฮโดรเจนเปอรออกไซด์ (Hydrogen peroxide) มีค่า MFC เทากบรอยละ 2, 3 และ 3 (v/v) ตามลำดับ ส่วนกรดอะซิติก (Acetic acid) พบว่า มีคุณสมบัติต่ําที่สุดในการกำจัดเชื้อรา โดยมีค่า MFC เท่ากับร้อยละ 7.5, 2 และ 7.5 (v/v) ตามลำดับ