เขาทำอะไรในช่องเล็ก ๆ' 'เขาโบกไม้โบกมือทำไม' 'ท่าทางเหล่านั้นคืออะไร'
Loading...
Date
2022-02-22
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Article
Publisher
สยามรัฐ
Journal Title
เขาทำอะไรในช่องเล็ก ๆ' 'เขาโบกไม้โบกมือทำไม' 'ท่าทางเหล่านั้นคืออะไร'
Authors
Recommended by
Abstract
จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 71 ฉบับที่ 24750 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เนื้อหาหลักกล่าวถึง"ล่ามภาษามือ" คือผู้แปลคำพูดเป็นภาษามือ เพื่อสื่อสารกับผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผ่านท่าทาง สีหน้า และตำแหน่งมือ โดยมักปรากฏในช่องเล็ก ๆ บนหน้าจอโทรทัศน์ โดยเฉพาะรายการข่าว ภาษามือมีลักษณะเฉพาะ เช่น ท่ามือ ตำแหน่งมือ ทิศทาง การเคลื่อนไหว และการแสดงสีหน้า ที่สื่อถึงอารมณ์และความหมายในประโยค ซึ่งต่างจากโครงสร้างของภาษาไทย เช่น ประโยค “แมวกินปลา” จะเรียงเป็น “ปลา แมว กิน” ในภาษามือ ล่ามภาษามือต้องมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาไทยและภาษามือไทย (TSL) ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้เป็นภาษาประจำชาติของคนหูหนวกตั้งแต่ปี 2542 การจะเป็นล่ามภาษามือต้องผ่านการเรียนหลักสูตรเฉพาะ เช่น หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และต้องได้รับการรับรองจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) รวมถึงผ่านการอบรมล่ามในกิจการโทรทัศน์โดยสำนักงาน กสทช. ถือเป็นอาชีพที่เงียบสำหรับคนทั่วไป แต่มีความหมายยิ่งใหญ่สำหรับคนหูหนวก