ยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย

Date
2009
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Journal Title
ยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย
Authors
Recommended by
Abstract
ในการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาการดําเนินการ ผลการดําเนินงาน อุปสรรค และปัญหา ในการจัดการศึกษาสําหรับ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในสถานศึกษา และองค์กรที่เกี่ยวข้อง และเพื่อกําหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) เชิงวิเคราะห์พรรณนา (Descriptive Analysis) โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) สร้างกระบวนการและวางแผนในการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยใช้ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสร้าง แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการวิจัยและอาศัยการตีความข้อมูลเอกสาร (Documentary Study) ที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วส่วนผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In- Depth Interview) ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ เลขาธิการมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ผู้อํานวยการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการศึกษาสําหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ผู้อํานวยการส่วนวิชาการและมาตรฐาน การศึกษาท้องถิ่นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะทางโรงเรียนที่จัดการศึกษาสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา นักวิชาการ คณาจารย์ด้านการศึกษาพิเศษ ครูผู้สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ตัวแทนผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จํานวน 10 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาสรุปสังเคราะห์นําไปดําเนินการสนทนากลุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Focus Group) กับกลุ่มนักวิชาการ ผู้ที่มีหน้าที่ หรือมีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการสอนกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่ง ประกอบด้วย ประธานหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ผู้อํานวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ และอาจารย์หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนปัญญาวุฒิกร หัวหน้าฝ่าย การศึกษาพิเศษ โรงเรียนวัดหนัง ผู้อํานวยการโรงเรียนประชาบดี หัวหน้าฝ่ายการศึกษาพิเศษ โรงเรียนวัดรวก สังกัดกรุงเทพมหานคร นักวิชาการการศึกษาพิเศษโรงเรียนราชานุกูล (สถาบัน ราชานุกูล) กรมสุขภาพจิต รองผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล ผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเขาคันธมาทย์ เทศบาลตําบลสัตหีบ ครูการศึกษาพิเศษ โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส จํานวน 12 คน นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นระบบ) โดยการสร้างแบบสอบถาม (Questionnaire) สอบถามความคิดเห็นผู้บริหารที่จัดการศึกษาสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทยเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และปัญหาการจัดการศึกษาสําหรับเด็กสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในปัจจุบัน จํานวน 40 คน 40 โรง นําผลที่ได้จากทั้งสองส่วนมารวมกันก่อนนําไปกําหนดยุทธศาสตร์และรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย มีการตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของยุทธศาสตร์และ รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาด้วยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จากนั้นนําเสนอยุทธศาสตร์ และรูปแบบที่ได้รับการตรวจสอบและแก้ไขแล้วต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นขั้นตอนสุดท้าย