การพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษากลุ่มชน ไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษากลุ่มชน ไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
Recommended by
Abstract
การวิจัยครังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นเอกลักษณ์ดังเดิม ประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของกลุ่มชนไทยทรงดำ (2) ศึกษาศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ (3) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัย และพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การวิจัย (R1) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน ชุมชน ผู้ประกอบการในท้องถิ่น บุคลากรของหน่วยงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว (2) การพัฒนา (D1) พัฒนารูปแบบกิจกรรม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (3) การวิจัย (R2) กลุ่มนักท่องเที่ยวทดลองปฏิบัติกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้น (4) การพัฒนา (D2) ประเมินผลกิจกรรมด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยว จำนวน 30 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กลุ่มชนไทยทรงดำที่อาศัยอยู่ในตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีการสืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมมาจากบรรพบุรุษ โดยสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ดั้งเดิม ประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของกลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ การแต่งกาย ลายผ้า ภาษา อาหาร บ้านเรือน ประเพณี และอาชีพ 2. ศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน ศึกษาใน 3 ประเด็น คือ 2.1 กิจกรรมที่จะพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การย้อมผ้า การเรียนภาษาไทดำ และการเย็บลายดอก 2.2 ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ประกอบด้วย (1) สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวภายในพื้นที่ ได้แก่ โฮมสเตย์ ร้านอาหาร ป้ายบอกสถานที่ สินค้าที่ระลึก และสถานที่จอดรถ ส่วนสิ่งที่ควรมีการปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์และบริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว บริการห้องน้ำสาธารณะ (2) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวมีจำนวน 3 หมู่บ้านจากทั้งหมด 8 หมู่บ้านที่เป็นชาวไทยทรงดำ ที่เป็นกลุ่มผู้นำการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมไทดำบ้านดอน (3) มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบของงบประมาณ การพัฒนาบุคลากร แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์และสร้างศูนย์วัฒนธรรม เป็นต้น 2.3 การวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า กลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ขึ้นในพื้นที่ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การพัฒนารูปแบบกิจกรรม การจัดกิจกรรม และการประเมินผลกิจกรรม 3. นักท่องเที่ยวมีทัศนคติโดยรวมและรายด้านต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ ด้านพื้นที่ ด้านความยั่งยืนในพื้นที่ และด้านปฏิสัมพันธ์ 4. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอนในระดับมาก และผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่าการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 5. แนวทางการพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน มี 4 แนวทาง ประกอบด้วย ด้านผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรม ด้านรูปแบบกิจกรรม ด้านสื่อการนำเสนอ และด้านสภาพแวดล้อม
Description
Citation
View online resources
Collections