การใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธ 2) พัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธ และ 3) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งตามวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน และผู้สูงอายุที่อายุยืน จำนวน 5 คน ในการสัมภาษณ์ 2) ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 7 คน และผู้เชี่ยวชาญในการประชุมกลุ่มจำนวน 7 คน 3) ผู้สูงอายุเข้าร่วมการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพตามหลักวิถีพุทธ จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามสภาพการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธ 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับสภาพการรักษาสุขภาพตามหลักวิถีพุทธ 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพตามหลักวิถีพุทธ 4) คู่มือโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธ และ 5) แบบประเมินผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพตามหลักวิถีพุทธ การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธโดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (x= 4.24, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาด้านแนวคิดหลักวิถีพุทธเพื่อการส่งเสริมสุขภาพตามหลักอิทธิบาท 4 ภาพรวมระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x = 4.20, S.D. = 0.56) เมื่อแยกองค์ประกอบแนวคิดหลักอิทธิบาท 4 สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ วิมังสา (x = 4.32, S.D. = 0.89) วิริยะ (เวสารัชชกรณธรรม 5) (x = 4.24, S.D. = 0.59) ฉันทะ (พรหมวิหาร 4) (x = 4.21, S.D. = 0.60) และสุดท้าย จิตตะ (x = 3.99, S.D. = 0.70) 2. คู่มือโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 เป็นตัวขับเคลื่อนในแต่ละด้านคือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านปัญญา ใช้อิทธิบาทอธิบาย หาเหตุผลให้ครอบคลุมในแต่ละด้าน ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ง่ายโดยใช้อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาตามหลักวิถีพุทธเชื่อมโยงในแต่ละกิจกรรมของแต่ละด้าน มีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเป็นตัวเลือกให้ผู้สูงอายุและครบทุกด้าน 3. การใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธ พบว่า ภาพรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x = 4.06, S.D. = 0.55) กิจกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ การสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เจริญสติ และเดินจงกรม ตามคู่มือการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธทำให้มีจิตใจที่สบายสงบ จิตใจมั่นคงเข้มแข็งและไม่เครียดโดยมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.23, S.D. = 0.76)
Description
Citation
View online resources
Collections