การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
Authors
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผ้าทอหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 3. เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของการจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอ นาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง การวิจัยเชิงผสมผสาน ซึ่งประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ในการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยวิเคราะห์ผลผลเป็นค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนช่วงต้น (36-45 ปี) สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท ประกอบอาชีพรับราชการ/พนักงานของรัฐ/พนักงาน 2. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ซื้อผ้าทอนาหมื่นศรีเพื่อใช้เอง ซื้อสินค้าที่ศูนย์จำหน่ายผ้าทอ นาหมื่นศรี ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง เลือกซื้อผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาจากลวดลายของผ้า ได้รับข่าวสารขอผลิตภัณฑ์จากการบอกต่อของบุคคลอื่น ค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์ต่อครั้งอยู่ที่ ต่ำกว่า 1,000 บาท 3. ในภาพรวมผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อกลยุทธ์ทางการตลาดของผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73 คิดเป็นร้อยละของระดับความพึงพอใจเท่ากับ 74.91 4. ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง พบว่า จุดแข็ง คือ ผู้นำกลุ่มมีความเข้มแข็ง ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและหลากหลายรวมถึงมีเอกลักษณ์ มีเครือข่ายกับชุมชนใกล้เคียง จุดอ่อน คือ ขาดการวางแผนด้านการตลาด ขาดความรู้ด้านระบบการเงิน ช่องทางการจัดจำหน่ายน้อย โอกาส คือ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนนโยบายให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐใส่ผ้าพื้นเมือง พื้นที่ในตำบลนาหมื่นศรี มีแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยม อุปสรรค คือ ความรุนแรงทางการเมืองและความผันผวนทางเศรษฐกิจ เยาวชนรุ่นใหม่ไม่มีความสนใจเกี่ยวกับการทอผ้า 5. ส่วนด้านแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเป็นรายด้าน พบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ควรร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่นลวดลายการทอ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด Modern Trade ให้มากขึ้น 2) ด้านราคา ควรตั้งราคาแบบเจาะตลาดเพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขาย 3) ด้านการจัดจำหน่าย ควรเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้หลากหลายผู้บริโภคสามารถเข้าถึงง่าย โดยเน้น Social Media, Digital Marketing ให้มากขึ้น และ4) ด้านการส่งเสริมการตลาด ควรมีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อออนไลน์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง