ศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและการประเมินคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเปลือกส้มโอโดยใชพื้นที่ผิวตอบสนองสามมิติเพื่อพัฒนาเป็นวัตถุดิบในเครื่องสําอาง

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
ศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและการประเมินคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเปลือกส้มโอโดยใชพื้นที่ผิวตอบสนองสามมิติเพื่อพัฒนาเป็นวัตถุดิบในเครื่องสําอาง
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดและความเข้มข้นของสารละลายเอทานอล (70%, 80%, 90% และ 95% (w/v)) และอุณหภูมิการบ่มแตกต่างกัน (50 °C, 60 °C, 70 °C และ 80 °C) สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ กิจกรรมการต้านออกซิเดชันเพื่อหาภาวะที่เหมาะสม และองค์ประกอบของสารระเหยหลักของสารสกัดเปลือกส้มโอพันธุ์ข้าวน้ำผึ้ง โดยศึกษาสารต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH assay และ FRAP assay พบว่า อุณหภูมิการบ่มส่งผลโดยตรงต่อค่า EC50 และค่า FRAP value เมื่ออุณหภูมิการบ่มเพิ่มขึ้นทําให้กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระมีค่าลดลง ซึ่งเกิดจากความร้อนทําให้พันธะโคเวนเลนต์ถูกทําลายส่งผลตอการเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์ของพืชทําให้เกิดโมเลกุลอิสระถูกปลดปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระออกมาอาจเป็นสาเหตุให้ความสามารถของการต้านอนุมูลอิสระมีค่าลดลง นอกจากนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะเพิ่มความสามารถในการละลายของตัวทําละลายและเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดเช่นกัน นั่นหมายความว่าค่า EC50 ที่ต่ำจะบ่งบอกถึงค่าการต้านอนุมูลอิสระที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณฟลาโวนอยด์รวมโดยอุณหภูมิการบ่มส่งผลต่อปริมาณฟลาโวนอยด์รวมทําให้มีค่าที่ลดลงเมื่ออุณหภูมิการบ่มสูงขึ้น ส่วนปริมาณฟีนอลิกรวมความเข้มข้นของสารละลายเอทานอลกับอุณหภูมิการบ่มส่งผลต่อปริมาณฟีนอลิก โดยพบว่า ความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารละลายเอทานอล อยู่ในช่วง 72% - 85% โดยปริมาตร เช่นเดียวกับอุณหภูมิการบ่มเนื่องจากความร้อนจะทําให้เกิดการสลายตัวของโมเลกุลอิสระ รวมถึงสาร Folin ที่ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกอาจเป็นตัวการที่รบกวนองค์ประกอบของฟีนอลิกที่มีอยูในเปลือกส้มโอทําให้ปริมาณฟีนอลิกมีค่าที่สูงขึ้น เนื่องจากในตัวอย่างเปลือกส้มโอประกอบด้วย วงแหวนเบนซินซึ่งหมู่ไฮดรอกซี (OH) และวงแหวนหมู่เอมีนทําให้สาร Folin ทําปฏิกิริยากับองค์ประกอบเหล่านั้นจึงส่งผลต่อปริมาณฟีนอลิก จากการทดลองความเข้มข้นของสารละลายเอทานอลและอุณหภูมิการบ่มที่แตกต่างกันพบว่า ความเข้มข้น 90% (w/v) อุณหภูมิการบ่ม 80 °C ให้ระดับความเข้มข้นของสารละลายเอทานอลและอุณหภูมิการบ่มที่เหมาะสม และพบองค์ประกอบสารระเหยหลัก คือ D-Limonene ซึ่งมีคุณภาพของพีกอยู่ที่ 99% ขององค์ประกอบสารระเหยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของสารละลายเอทานอลและอุณหภูมิการบ่มนั้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทําให้เกิดเป็นองค์ประกอบสารระเหยสําคัญที่สามารถนําไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสําอางได้
Description
Citation
View online resources
Collections