การฟื้นฟูกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนเกาะเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การฟื้นฟูกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนเกาะเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Authors
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้เพื่อ 1) ศึกษาการฟื้นฟูกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน 2) ศึกษาประสบการณ์และบทเรียนที่นักศึกษาได้จากเรียนและการทํากิจกรรมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์แบบลงชุมชนในรายวิชานี้ 3) ศึกษาความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น อันเป็นการบูรณาการวิจัยกับการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นชุมชนเป็นฐาน ราก ประชากร คือ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษสะท้อนคิด ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จํานวน 40 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2562-กรกฎาคม 2563 สถานที่ศึกษาชุมชนเกาะเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เครื่องมือในการวิจัยที่สําคัญ คือ ตัวนักศึกษา การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการใช้นักศึกษาสัมผัสกับชุมชนโดยตรง นอกจากนี้ยังใช้ 1) บันทึกภาคสนามของนักศึกษาที่ได้รับรู้ระหว่างการสังเกตชุมชน 2) การสังเกต ได้แก่ กิจกรรมการท่องเที่ยว พฤติกรรมและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น เวลา บุคคล สภาพแวดล้อม 3) การสัมภาษณ์พูดคุยร่วมกันระหว่าง นักศึกษากับชุมชน โดยการคิดและเรียนรู้ร่วมกัน การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ (Pre-testing of Instrument) ข้อมูลสําหรับการวิจัยขั้นตอนนี้ เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพนั้นมีการตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูล และการตีความของนักศึกษา 40 คน เกี่ยวกับความคิดของผู้ให้ข้อมูล การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์และสิ่งแวดล้อมของชุมชนเป็นปัญหาของชุมชนชาวบ้าน ทีมวิจัยระหว่างชาวบ้าน อาจารย์และนักศึกษา เชื่อว่าความรู้ด้านวัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์จะสูญหายไปสักวันหนึ่ง ดังนั้น ทีมวิจัยจึงรวมตัวกันหาแนวทางฟื้นฟูชุมชนด้วยการจัด กิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ขึ้น สถิติที่ใช้ในงานวิจัยค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัยมีดังนี้ การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์เป็นการท่องเที่ยวแนวใหม่ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นระหว่างชาวบ้าน ครูอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านตระหนักในคุณค่าของชุมชน และยังช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง ประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้สามารถนําไปใช้ในชีวิตได้ส่วนชาวบ้าน มีอาชีพเสริมจุนเจือครอบครัวและเป็นการสร้างเพื่อนใหม่