การจัดการประสบการณ์ร่วมสมัยเพื่อการพัฒนาตนเองของนักท่องเที่ยวผ่านการเรียนรู้จากธรรมชาติ วัฒนธรรม และกิจกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การจัดการประสบการณ์ร่วมสมัยเพื่อการพัฒนาตนเองของนักท่องเที่ยวผ่านการเรียนรู้จากธรรมชาติ วัฒนธรรม และกิจกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย
Recommended by
Abstract
งานวิจัยเรื่องการจัดการประสบการณ์ร่วมสมัยเพื่อการพัฒนาตนเองของนักท่องเที่ยวผ่านการเรียนรู้จากจากธรรมชาติ วัฒนธรรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาและวิเคราะห์บริบททางการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่สามารถก่อให้เกิดการค้นหาตัวตน และแรงจูงใจเพื่อพัฒนาตนเองของนักท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา 2) ศึกษาพฤติกรรมด้านการค้นหา ตัวตน และแรงจูงใจเพื่อพัฒนาตนเองของนักท่องเที่ยวผ่านการเรียนรู้จากธรรมชาติ วัฒนธรรม และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต 3) เสนอแนวทางและการสร้างรูปแบบการจัดการประสบการณ์ร่วมสมัยเพื่อการพัฒนาตนเองของนักท่องเที่ยวผ่านการเรียนรู้จากธรรมชาติ วัฒนธรรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) ผลการวิจัยจากบริบททางการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่สามารถก่อให้เกิดการค้นหาตัวตน และแรงจูงใจเพื่อพัฒนาตนเองของนักท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีศักยภาพและสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตท้องถิ่น ความเป็นมิตรของคนท้องถิ่น และกิจกรรม การท่องเที่ยวที่หลากหลายก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างประสบการณ์ใหม่ และสร้างความทรงจำที่ดีกับนักท่องเที่ยวจากการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21 - 35 ปี การศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท มีที่พำนักในภาคกลาง เคยมาท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 1 - 3 ครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวประมาณ 1 - 3 วัน ค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวต่ำกว่า หรือเท่ากับ 5,000 บาท เดินทางมาท่องเที่ยวกับครอบครัว/ญาติ พี่น้อง ที่พักที่เลือกใช้บริการ คือ รีสอร์ท ฤดูใดที่ชอบเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุดคือ ฤดูหนาว (กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์) อีกทั้งมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านสิ่งที่ดึงดูดใจให้ท่านท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเรียนรู้ของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า แรงจูงใจในการเรียนรู้และประสบการณ์จากการท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินระดับความคาดหวัง/ความต้องการ และระดับการพัฒนาตนเองจากการท่องเที่ยวในประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ด้านทักษะการพัฒนาตนเอง และด้านการยอมรับตนเองในการพัฒนาตนเองของนักท่องเที่ยวให้สนใจต่อประเด็นนี้ในระดับสูงกว่าด้านสุขภาพ และความสุขในการพัฒนาตนเอง และด้านความสำเร็จในการพัฒนาตนเอง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1. ปัจจัยด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และปัจจัยด้านประสบการณ์จากการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ส่งผลต่อปัจจัยด้าน แรงจูงใจในการเรียนรู้ของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ 1) ประสบการณ์ ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว 2) ด้านสิ่งที่ดึงดูดใจให้ท่านท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) ประสบการณ์ ด้านศิลปวัฒนธรรม 4) ประสบการณ์ด้านธรรมชาติ 5) ด้านการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จากสื่อต่าง ๆ ตามลำดับ 2. ปัจจัยด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และปัจจัยด้านประสบการณ์จากการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ส่งผลต่อปัจจัย ด้านความต้องการในการพัฒนาตนเองจากการท่องเที่ยวในประจวบคีรีขันธ์ คือ 1) ประสบการณ์ ด้านธรรมชาติ 2) ด้านสิ่งที่ดึงดูดใจให้ท่านท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) ด้านการรับรู้ข้อมูล เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จากสื่อต่างๆ 4) ประสบการณ์ด้านศิลปวัฒนธรรม 5) ประสบการณ์ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว ตามลำดับ 3. ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเรียนรู้ของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์และปัจจัยด้านความต้องการในการพัฒนาตนเองจากการท่องเที่ยวในประจวบคีรีขันธ์ ส่งผลปัจจัยด้านแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาตนเองของนักท่องเที่ยวผ่านการเรียนรู้จากธรรมชาติ วัฒนธรรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย คือ 1) ด้านทักษะการพัฒนาตนเอง 2) ด้านธรรมชาติ 3) ด้านการยอมรับตนเองในการพัฒนาตนเอง 4) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติม 5) ด้านความสำเร็จในการพัฒนาตนเอง 6) ด้านวัฒนธรรม 7) ด้านสุขภาพและความสุขในการพัฒนาตนเอง ตามลำดับ