การพัฒนาความรู้การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองด้าน การจัดการและทักษะการวิจัยแบบมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาความรู้การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองด้าน การจัดการและทักษะการวิจัยแบบมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย
Authors
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่เรียนรายวิชา 1044402 การวิจัยทางการศึกษา ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 209 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 51 คน ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การเตรียมวางแผน เริ่มด้วยการชี้แจงเกี่ยวกับโครงการวิจัย วัตถุประสงค์แก่นักศึกษา รวมถึงประสานงานกับโรงเรียนเครือข่ายสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ ประถมศึกษาที่เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดโคกโคเฒ่า มีจำนวน นักเรียนระดับชั้นอนุบาลจำนวน 32 คน และโรงเรียนวัดหน่อสุวรรณ จำนวน 23 คน ระยะที่ 2 ดำเนินการจัดกิจกรรมฐานความรู้พัฒนาทักษะสมองด้านการจัดการ นักศึกษา ครู ผู้ปกครอง เข้าร่วมกิจกรรมฐานความรู้และประเมินผล จำนวน 1 ครั้ง กิจกรรมฐานความรู้มุ่งพัฒนาทักษะสมองด้านการจัดการแบบบูรณาการทั้ง 3 ด้านแก่เด็กปฐมวัย ได้แก่ ด้านการจำเพื่อการใช้งานด้านการคิดยับยั้ง ไตร่ตรอง และด้านการคิดยืดหยุ่น จำนวน 6 ฐาน โดยแบ่งการจัดกิจกรรมฐานความรู้ ณ โรงเรียนวัด โคกโคเฒ่า จำนวน 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 กิจกรรมร่มพยุงไข่ ฐานที่ 2 พลิกแผ่นป้ายภาพสัตว์ ฐานที่ 3 กิจกรรมอะไรนะ ใช่หรือเปล่า และโรงเรียนวัดหน่อสุวรรณ จำนวน 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 กิจกรรมแม่ไก่ขนไข่หนีน้ำ ฐานที่ 2 เรียงให้หน่อยฉันอยู่ตรงไหน ฐานที่ 3 ผจญภัยหรรษา จากนั้นประเมินผลหลังกิจกรรม ระยะที่ 3 การติดตามประเมินผลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 ประเมินความรู้การเลี้ยงดูเด็กตามแนวคิดทักษะสมองด้านการจัดการก่อนและหลังการจัดกิจกรรมฐานความรู้ ครั้งที่ 2 - 4 ติดตามประเมินผลหลังกิจกรรมฐานความรู้ จำนวน 3 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิจัย 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบทดสอบ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองด้านการจัดการและทักษะการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ก่อนและหลังกิจกรรมฐานความรู้กับนักศึกษา และชุดที่ 2 แบบประเมินพัฒนาการทักษะสมองด้านการจัดการของเด็กปฐมวัย จำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งเว้นช่วงระยะเวลาห่าง 1 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และความโด่งแบน สถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีค่าเฉลี่ย คะแนนร้อยละ ความรู้การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองด้านการจัดการก่อนและหลังจัดกิจกรรม เท่ากับ 50.05 และ 78.9 ตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ย คะแนนร้อยละ ด้านทักษะการวิจัยแบบมีส่วนร่วมก่อนและหลังจัดกิจกรรม เท่ากับ 28.3 และ 60.5 ตามลำดับ นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการจัดกิจกรรมทั้ง 2 ด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนพัฒนาการทักษะสมองของเด็กปฐมวัย พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการด้านการจำเพื่อการใช้งาน การคิดยับยั้งไตร่ตรอง และการคิดยืดหยุ่น เพิ่มขึ้นในช่วงระยะที่ 2 อย่างชัดเจน และเริ่มลดลงและคงที่ในช่วงระยะที่ 3 และ 4