LP-Specific Areas

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 19 of 19
  • Item
    สำรับอาหารรองรับการท่องเที่ยวชุมชนบ้านผาด่าน
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2024-12-01) ศูนย์การศึกษา ลำปาง
    ชุมชนบ้านผาด่าน ตั้งอยู่ที่ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีลักษณะทางกายภาพของชุมชนตั้งอยู่ในพื้นราบหุบเขา เป็นภูเขาแบบสลับซับซ้อน พื้นที่โดยรอบหมู่บ้านมีภูเขาและลำธารล้อมรอบ ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นชนเผ่าปกาเกอะญอที่มีความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ความเชื่อถูกนำมาพูกพันกับวิถีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการหาของป่าเพื่อนำมาประกอบอาหาร เช่น ผักหวาน เห็ด หน่อไม้ สัตว์ป่า สนุนไพรและยารักษาโรค เช่น ว่าน ไพร รากไม้ เชื้อเพลิง ที่อยู่อาศัย เป็นต้น จะเห็นได้ว่าวิถีชีวิตของชนเผ่าปกาเกอะญอใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ผูกพันและพึ่งพิงธรรมชาติโดยตลอด ดังนั้นยังคงเลือกใช้วัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติในผืนป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ เพื่อนำมาปรุงประกอบอาหารด้วยวิธีการที่เรียบง่ายจากการเรียบรู้ผ่านการ ถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ตามแบบวิถีการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่า
  • Item
    คู่มือสำรับอาหารชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2024-12-01) ศูนย์การศึกษา ลำปาง
    สำรับอาหาร สำหรับใครที่มาท่องเที่ยวชุมชน "บ้านป้าเหมี่ยง" นอกจากจะได้สัมผัสกับบรรยากาศที่น่าสนใจของชุมชนแล้ว ยังได้สัมผัสกับสำรับอาหารที่พัฒนาอย่างสร้างสรรค์ด้วยวัตถุดิบเอกลักษณ์ของพื้นที่ คือ เหมี้ยง กาแฟ และพืชผัก สมุนไพรปลอดสารพิษของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเมนูไก่หลงป่า ทอดมันหัวปลีใบเหมี้ยง ข้าวยำน้ำเหมี้ยง และขนมหวานสไตล์ญี่ปุ่นอย่างโมจิกาแฟ และ โมจิชาเขียว ราดด้วยน้ำผึ้งผึ้งป่า ทานคู่กับเจลลี่ชาอัสสัม(ชาป่า) ยิ่งได้ลิ้มรสยิ่งสดชื่น ชวนให้กลับมาท่องเที่ยว มาเยือนยังชุมชนที่น่าหลงไหลแห่งนี้อีกครั้ง
  • Item
    5 ภูมิวัฒนธรรม ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2024-12-01) ศูนย์การศึกษา ลำปาง
    เที่ยวบ้านป่าเหมี้ยงทั้งที ก็ต้องเที่ยวกันแบบมีภูมิ เริ่มกันที่ภูมิหลัง ว่ากันว่า บ้านป่าเหมี้ยงแห่งนี้มีเรื่องราวเล่าขานจากคนในชุมชน เกี่ยวกับประวัติที่มาของหมู่บ้าน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 – 300 ปีมาแล้ว ว่า มีฤๅษี 2 ตน มาปฏิบัติธรรม บนเขา ขณะนั่งปฏิบัติธรรม แต่มีตนหนึ่งรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน จึงถามฤาษีอีกตนหนึ่งที่สามารถนั่งปฏิบัติธรรมได้อย่างปกติ ว่า “ท่านไปฉันอะไรมา จึงไม่ง่วงนอน” ฤๅษีอีกตนจึงได้ตอบไปว่า “ฉันใบไม้” นั่นก็คือ “ใบเหมี้ยง” อันเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ นั่นเอง จากภูมิหลัง มาต่อกันด้วย ภูมิวงศ์ หรือต้นตระกูลของบุคคลสาคัญที่มีบทบาทต่อชุมชน นั่นคือ “ตระกูลข้อมือเหล็ก” โดยในยุคเริ่มแรกของการปกครองบ้านป่าเหมี้ยงใต้การนาของ “พ่อหลวงหวัน ข้อมือเหล็ก” ผู้นาคนแรกของชุมชน และมี “หลวงธิกับหลวงเครื่อง” ซึ่งเป็นคนกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือน กระทั่งมีการสืบทอดเชื้อสายผ่านระบบเครือญาติมาอย่างยาวนานกระทั่งปัจจุบัน โดยสายตระกูลสาคัญ อาทิ ตระกูลจันทร์งาม (มีมากที่สุด) รองลงมา ตระกูลข้อมือเหล็ก ตระกูลมักได้ และตระกูลเทพสิงห์ ตามลำดับ การตั้งบ้านเรือนในยุคนั้นเริ่มต้นมีประมาณ 25 หลังคาเรือน กลุ่มคนที่ทยอยอพยพเข้ามา มีจาก หลากหลายพื้นที่ ทั้งคนเมือง ซึ่งเป็นคนพื้นถิ่นลำปางดั้งเดิม คนขมุ (จากฝั่งลาว) คนม่าน หรือชาวเงี้ยว เป็นต้นต่อกันด้วยภูมิเมือง ว่าด้วยเรื่องการประกอบอาชีพ หรือ การทำมาหากินของคนบ้านป่าเหมี้ยงซึ่งจากชื่อและที่มาของชุมชน ก็อาจเดาได้ไม่ยากว่า อาชีพหลักของคนในชุมชนแห่งนี้ คือ การทำเหมี้ยง ตั้งแต่การปลูก เก็บ หมัก รวมถึงการทำชาจากใบเหมี้ยง การแปรรูปหมอนใบชา และการปลูกกาแฟแซมสวนเหมี้ยง จึงทำให้หมู่บ้านป่าเหมี้ยงนี้ มีความโดดเด่นมาก ในการเป็นแหล่งชาและกาแฟที่สำคัญของจังหวัดลำปางและภาคเหนือของประเทศไทย เมื่อ การทำเหมี้ยง คือ อาชีพหลักของคนในชุมชน เพราะฉะนั้นหนึ่งใน ภูมิปัญญา ที่สำคัญของก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวที่เกี่ยวกับเหมี้ยง ตั้งแต่การปลูก เก็บ หมัก และวัฒนธรรมการกินเหมี้ยง กระทั่งสื่อผ่านออกมาเพื่อถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ให้แก่คนรุ่นหลัง ในรูปแบบของศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เรียกว่า ฟ้อนเก็บเหมี้ยง ปิดท้ายกันด้วย ภูมิธรรม กลไกแห่งศรัทธาที่ช่วยยึดโยงคนในชุมชนให้สามารถสร้างพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันได้ ภายใต้หลักการจัดการชุมชนแบบ “บวร” หรือ บ้าน วัด โรงเรียน กับพื้นที่ศูนย์กลางความเชื่อ อย่าง ศาลเจ้านาย หรือ ศาลเจ้าพ่อข้อมือเหล็ก อันเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ และ วัดป่าเหมี้ยง หรือ วัดศรีบุญชุม วัดประจาหมู่บ้าน สถานที่ประกอบพิธีกรรม กิจกรรมประเพณีทางศาสนาที่สำคัญต่างๆ ของชุมชน
  • Item
    ท่องเที่ยวชุมชน
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2024-12-01) ศูนย์การศึกษา ลำปาง
    ท่องเที่ยวชุมชน ภายใต้โครงการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยว 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยภายในเล่มมี QR Code สำหรับชมวิดีทัศน์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และมีแผนที่ท่องเที่ยวภายในชุมชน
  • Item
    คู่มือสำรับอาหารตามหลักโภชนาการปลอดภัย สมวัยอิ่มสุข สำหรับเด็ก 3 - 6 ปี
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2024-12-01) ศูนย์การศึกษา ลำปาง
    การพัฒนาเด็กปฐมวัย (อายุ 0-6 ปี) นับเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางรากฐาน ด้านสุขภาพ กาย จิต และสมอง โดยเฉพาะด้านโภชนาการ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกด้าน โภชนาการที่เหมาะสมจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และด้านสมองที่มีการเรียนรู้และจดจำที่ดี ในทางกลับกัน โภชนาการที่ขาดสมดุลอาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหาร โรคอ้วน และปัญหาด้านสุขภาพเรื้อรังต่าง ๆ โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาและอารมณ์ การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอในปริมาณที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยเสริมสร้างระบบประสาทและสมองให้แข็งแรง ทำให้เด็กมีสมรรถภาพในการเรียนรู้และพัฒนาการคิดวิเคราะห์ที่ดี การบริโภคอาหาร ที่หลากหลายทั้งในด้านชนิดและปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง ทั้งนี้ อาหารที่เหมาะสมจะประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างการเจริญเติบโต จากการศึกษาวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับการดูแลเรื่องโภชนาการอย่างถูกต้องมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพ ที่แข็งแรง และมีพัฒนาการทางสมองที่ดีกว่าเด็กที่ขาดสารอาหาร (UNICEF, 2021; WHO, 2020) นอกจากนี้ การส่งเสริมพฤติกรรมการกินอาหารที่ดีตั้งแต่เด็กยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพในอนาคต เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน การสร้างพื้นฐานการบริโภคที่ดีในวัยเด็กจึงเป็นการลงทุนที่สำคัญ ในการส่งเสริมสุขภาพระยะยาว คู่มือสำรับอาหารตามหลักโภชนาการปลอดภัย สมวัยอิ่มสุข (สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี) ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสามารถนำความรู้ด้านโภชนาการมาใช้ในการดูแลเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากคุณศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย และคุณสงวนศรี สุทธิพงษ์ชัย มีเนื้อหาครอบคลุม บทที่ 1 โภชนาการกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ความสำคัญของโภชนาการต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย โภชนาการกับการพัฒนาทางสมองและการเรียนรู้ บทที่ 2 ความรู้พื้นฐานด้านโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยความสำคัญของโภชนาการในวัยเด็ก อาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหาร สารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียน (ธงโภชนาการ) และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็ก บทที่ 3 แนวทางการออกแบบสำรับอาหารตามมาตรฐานสำหรับเด็กปฐมวัยอายุอายุ 3 - 6 ปีประกอบด้วย มาตรฐานการจัดอาหารกลางวันและอาหารเสริมระหว่างมื้อสำหรับเด็ก ปริมาณสารอาหารตามความต้องการประจำวันของเด็กแต่ละช่วงอายุ การกำหนดมาตรฐานปริมาณวัตถุดิบอาหาร ตัวอย่างสำรับอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย และการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารและโภชนาการ บทที่ 4 พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย การประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย หลักการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย บทบาทของครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย และเทคนิคการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย คณะผู้จัดทำหวังว่าคู่มือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของการสร้างโภชนาการทางด้านอาหารที่มีคุณภาพแก่เด็กปฐมวัย เพื่อประโยชน์ต่อเนื่องในการเสริมเติมศักยภาพทางร่างกายและจิตใจของเด็กปฐมวัยอย่างเต็มที่ เป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีและ ช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง สนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก ช่วยให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลมีแนวทางในการจัดเมนูอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ช่วยให้เด็กได้รับพลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย ลดความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารและโรคอ้วน โดยรายละเอียดของคู่มือได้ให้ข้อมูลเพื่อแนะนำปริมาณอาหารที่เหมาะสมในแต่ละมื้อและประเภทอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ให้แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่ดี เช่น การเลือกอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ การกินอาหารหลากหลาย ซึ่งช่วยให้เด็กซึมซับพฤติกรรมที่ดีและมีทัศนคติที่ดีต่อการกินอาหาร ให้ความรู้และแนวทางในการเลือกอาหารปลอดภัย ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกวัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัย และวิธีการปรุงอาหารที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงของการได้รับสารพิษหรือสารตกค้างในอาหารเสริมสร้างความเข้าใจและทักษะในการจัดเตรียมอาหาร อันจะช่วยให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลมีทักษะในการวางแผนและจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก ส่งผลให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัย ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวผ่านการรับประทานอาหารร่วมกัน สนับสนุนการสร้างบรรยากาศการรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว ทำให้เกิดการสื่อสารที่ดี เพราะโภชนการที่ดีเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของสถานศึกษาและครอบครัว
  • Item
    คู่มือสำรับอาหารตามหลักโภชนาการปลอดภัย สมวัยอิ่มสุข สำหรับเด็ก 1 - 3 ปี
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2024-12-01) ศูนย์การศึกษา ลำปาง
    การพัฒนาเด็กปฐมวัย (อายุ 0-6 ปี) นับเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางรากฐาน ด้านสุขภาพ กาย จิต และสมอง โดยเฉพาะด้านโภชนาการ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกด้าน โภชนาการที่เหมาะสมจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และด้านสมองที่มีการเรียนรู้และจดจำที่ดี ในทางกลับกัน โภชนาการที่ขาดสมดุลอาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหาร โรคอ้วน และปัญหาด้านสุขภาพเรื้อรังต่าง ๆ โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาและอารมณ์ การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอในปริมาณที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยเสริมสร้างระบบประสาทและสมองให้แข็งแรง ทำให้เด็กมีสมรรถภาพในการเรียนรู้และพัฒนาการคิดวิเคราะห์ที่ดี การบริโภคอาหาร ที่หลากหลายทั้งในด้านชนิดและปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง ทั้งนี้ อาหารที่เหมาะสมจะประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างการเจริญเติบโต จากการศึกษาวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับการดูแลเรื่องโภชนาการอย่างถูกต้องมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพ ที่แข็งแรง และมีพัฒนาการทางสมองที่ดีกว่าเด็กที่ขาดสารอาหาร (UNICEF, 2021; WHO, 2020) นอกจากนี้ การส่งเสริมพฤติกรรมการกินอาหารที่ดีตั้งแต่เด็กยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพในอนาคต เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน การสร้างพื้นฐานการบริโภคที่ดีในวัยเด็กจึงเป็นการลงทุนที่สำคัญ ในการส่งเสริมสุขภาพระยะยาว คู่มือสำรับอาหารตามหลักโภชนาการปลอดภัย สมวัยอิ่มสุข (สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี) ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสามารถนำความรู้ด้านโภชนาการมาใช้ในการดูแลเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากคุณศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย และคุณสงวนศรี สุทธิพงษ์ชัย มีเนื้อหาครอบคลุม บทที่ 1 โภชนาการกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ความสำคัญของโภชนาการต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย โภชนาการกับการพัฒนาทางสมองและการเรียนรู้ บทที่ 2 ความรู้พื้นฐานด้านโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยความสำคัญของโภชนาการในวัยเด็ก อาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหาร สารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียน (ธงโภชนาการ) และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็ก บทที่ 3 แนวทางการออกแบบสำรับอาหารตามมาตรฐานสำหรับเด็กปฐมวัยอายุอายุ 3 - 6 ปีประกอบด้วย มาตรฐานการจัดอาหารกลางวันและอาหารเสริมระหว่างมื้อสำหรับเด็ก ปริมาณสารอาหารตามความต้องการประจำวันของเด็กแต่ละช่วงอายุ การกำหนดมาตรฐานปริมาณวัตถุดิบอาหาร ตัวอย่างสำรับอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย และการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารและโภชนาการ บทที่ 4 พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย การประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย หลักการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย บทบาทของครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย และเทคนิคการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย คณะผู้จัดทำหวังว่าคู่มือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของการสร้างโภชนาการทางด้านอาหารที่มีคุณภาพแก่เด็กปฐมวัย เพื่อประโยชน์ต่อเนื่องในการเสริมเติมศักยภาพทางร่างกายและจิตใจของเด็กปฐมวัยอย่างเต็มที่ เป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีและ ช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง สนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก ช่วยให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลมีแนวทางในการจัดเมนูอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ช่วยให้เด็กได้รับพลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย ลดความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารและโรคอ้วน โดยรายละเอียดของคู่มือได้ให้ข้อมูลเพื่อแนะนำปริมาณอาหารที่เหมาะสมในแต่ละมื้อและประเภทอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ให้แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่ดี เช่น การเลือกอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ การกินอาหารหลากหลาย ซึ่งช่วยให้เด็กซึมซับพฤติกรรมที่ดีและมีทัศนคติที่ดีต่อการกินอาหาร ให้ความรู้และแนวทางในการเลือกอาหารปลอดภัย ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกวัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัย และวิธีการปรุงอาหารที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงของการได้รับสารพิษหรือสารตกค้างในอาหารเสริมสร้างความเข้าใจและทักษะในการจัดเตรียมอาหาร อันจะช่วยให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลมีทักษะในการวางแผนและจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก ส่งผลให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัย ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวผ่านการรับประทานอาหารร่วมกัน สนับสนุนการสร้างบรรยากาศการรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว ทำให้เกิดการสื่อสารที่ดี เพราะโภชนการที่ดีเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของสถานศึกษาและครอบครัว
  • Item
    ภูมิวงศ์ ลำปาง
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    ภูมิวงศ์ Local Intellectuals ภายใต้โครงการวิจัย "ลำปางศึกษา Lampang Study" "ผู้คน" กับบทบาทและความสำคัญต่อพัฒนาการของนครลำปางในมิติที่หลากหลาย โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มประเภท ประกอบด้วย บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ พระอริยสงฆ์ ตระกูลที่มีบทบาทในลำปาง และ บุคคลทรงคุณค่าและมีบทบาท
  • Item
    ภูมิธรรม ลำปาง
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    ภูมิธรรม Religious and Traditional Beliefs ภายใต้โครงการวิจัย "ลำปางศึกษา Lampang Study" ศาสนาและความเชื่อ คณะสงฆ์กับการปกครอง ประเพณี พิธีกรรม ปราชญ์ กวี (คติธรรม) ศาสนสถาน
  • Item
    ภูมิปัญญา ลำปาง
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    ภูมิปัญญา Local Wisdom ภายใต้โครงการวิจัย "ลำปางศึกษา Lampang Study" นำเสนอวิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้จากท้องถิ่นในสาขาด้านต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยประชาชนในเมืองลำปางตามยุคสมัยต่าง ๆ
  • Item
    ภูมิเมือง ลำปาง
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    ภูมิเมือง Dynamic Town ภายใต้โครงการวิจัย "ลำปางศึกษา Lampang Study" พัฒนาการและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดลำปางในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นำไปสู่บทวิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมของจังหวัดลำปาง เพื่อการพัฒนาขึดความสามารถและการพัฒนาแบบยั่งยืน
  • Item
    ภูมิหลัง ลำปาง
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    ภูมิหลัง Local History ภายใต้โครงการวิจัย "ลำปางศึกษา Lampang Study" ภูมิหลังเมืองลำปางในห้วงตำนานและห้วงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ยุคที่ 1 ลำปางยุคสร้างบ้านแบ่งเมือง ยุคที่ 2 ลำปางยุคร่วมประวัติศาสตร์ล้านนา ยุคที่ 3 ลำปางภายใต้การปกครองของพม่าและการร่วมกอบกู้เอกราชภายใต้ร่มธงไทย ยุคที่ 4 ลำปางในยุคเจ้าผู้ครองนครและยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็ยข้าใส่เมือง
  • Item
    รถม้า
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    รถม้าลือลั่น บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตระหว่างคนกับม้าจังหวัดลำปาง อัตลักษณ์บนฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม งานวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ด้วยทุน "หน่วยบริหาร และจัดการทุนวิจัย และนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)"
  • Item
    การจัดเตรียมอาหารและอาหารว่างรับรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะนักดนตรี ทีมงานและผู้เข้าร่วมงานดนตรีเล่าเรื่อง “วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า”
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021-11-11) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    การจัดเตรียมอาหารและอาหารว่างรับรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะนักดนตรี ทีมงานและผู้เข้าร่วมงานดนตรีเล่าเรื่อง “วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า” โดย รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข พร้อมคณะ 11 พฤศจิกายน 2564 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง นำโดยดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อานวยการศูนย์ฯ ได้รับความไว้วางใจจากมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุขในการจัดเตรียมอาหารและอาหารว่างรับรองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรี นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ ดร. สุกรี เจริญสุขประธานมูลนิธิฯ ผู้อำนวยการโครงการ ดร. สุชาติ วงษ์ทอง ศิลปิน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส คณะนักดนตรีวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้าและทีมงาน ในการจัดงานดนตรีเล่าเรื่อง จังหวัดลำปาง เพื่อถ่ายทอดเสียงเพลงพื้นบ้านผ่านการแสดงวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า โดยมหาวิทยาลัยฯ ร่วมบูรณาการกับสาขาอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยได้แก่ สาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการดูแลในส่วนของการจัดเตรียมอาหารและอาหารว่างรับรองคณะ สาขาธุรกิจการบินดูแลในส่วนต้อนรับ การจัดเลี้ยงและการบริการ และสาขาการศึกษาปฐมวัยด้านการประสานงานและรับลงทะเบียน
  • Item
    ดุสิตาอาลัมภางค์
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021-10-21) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    การจัดเตรียมอาหารว่างรับรองนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีพร้อมด้วยคณะผู้เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ และเครื่องประกอบสมณศักดิ์ ถวายพระพรหมมงคลวัชโรดม ณ วัดจองคำ จังหวัดลำปาง วันที่ 21 ตุลาคม 2564 ณ ห้องรับรอง ท่าอากาศยานลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นผู้เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ และเครื่องประกอบสมณศักดิ์ ไปถวายพระพรหมมงคลวัชโรดม เจ้าอาวาสวัดจองคำ พระอารามหลวง ณ วัดจองคำ พระอารามหลวง อำเภองาว ด้วยเป็นพระเถระที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลีที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จนทำให้วัดจองคำได้รับยกย่องจากมหาเถระสมาคมให้เป็น "สำนักศาสนศึกษาประจำจังหวัด" โดยมี นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนคณะศิษยานุศิษย์ผู้เคารพรักและศรัทธา เข้าร่วมพิธีฯ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง นำโดย ดร.ขวัญนภา สุขคร พร้อมด้วยบุคลากรและนักศึกษา ได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานจังหวัดลำปางในการจัดเตรียมอาหารว่างรับรององคมนตรีพร้อมด้วยคณะ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2564 ณ ห้องรับรอง ท่าอากาศยานลำปาง จำนวน 2 ชุด ได้แก่อาหารว่างเช้าและอาหารว่างบ่าย ภายใต้แนวคิด “ดุสิตาอาลัมภางค์” ชุดอาหารว่างที่แสดงถึงความเป็นมาตรฐานสากลบนพื้นฐานความเป็นไทยที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในพื้นที่จังหวัดลำปาง
  • Item
    การประลองสะล้อซอซึง ล้านนา ณ ไร่ผดุงธรรม
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2022-06-11) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
              องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯลำปาง สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนามูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข และภาคเอกชนในจังหวัด จัดการประกวดดนตรีล้านนา “วงสะล้อซอซึงและวงซอพื้นบ้าน” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาศรมศิลปินลำปาง ไร่ผดุงธรรม ตำบลบ้านค่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ 9 - 11 มิถุนายน 2565 โดยมีนางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน           การจัดประลองวงสะล้อซอซึงและวงซอพื้นบ้านภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 9-11 มิถุนายน 2565 ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข และภาคเอกชนในจังหวัด จัดขึ้น ณ ไร่ผดุงธรรม บ้านค่าหลวง ตำบลบ้านค่า เมืองลำปาง           โดยการประลองดนตรีครั้งนี้ ได้รับการตอบรับจากวงดนตรีพื้นบ้านล้านนาจังหวัดภาคเหนือตอนบนร่วมประกวด จำนวน 17 วง และได้รับเกียรติจากศิลปินระดับชาติ ได้แก่ ผศ.ชูวิทย์ ยุระยง อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ผศ.ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และดร.สุชาติ วงษ์ทอง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินการประกวด ซึ่งมีวงที่ผ่านเข้ารอบประชันจำนวน 10 วง
  • Item
    รายงานสรุปการจัดเตรียมงานรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2022-01-25) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    รายงานสรุปการจัดเตรียมงานรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคาร "เฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558" ของโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการทหารพันธุ์ดี ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง
  • Item
    "ครั่งรักลำปาง"
    (2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    "ครั่งรักลำปาง" ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม ภูมิปัญญา "ครั่ง" สู่ฐานการผลิตอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
  • Item
    ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ เปิดพื้นที่การเรียนรู้ "บ้านหลุยส์"
    (2021-12) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ เปิดพื้นที่การเรียนรู้ "บ้านหลุยส์" (Lampang Learning City) กระบวนการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม (Lampang Learning City) และโครงการวิจัย ลำปางศึกษา (Lampang Study) งานวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ด้วยทุน หน่วยบริการและการจัดการทุนวิจัย และนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวง อว.
  • Item
    "เพลงเล่าเรื่อง" วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (THAI SYMPHONY ORCHESTRA)
    (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021-11-11) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร
    "เพลงเล่าเรื่อง" วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (THAI SYMPHONY ORCHESTRA) "ดนตรีเล่าร่องรอยประวัติศาสตร์" โครงการขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้าน เพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกของชาติ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง ลำปาง ภายใต้การชักชวน จาก “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข หัวหน้าโครงการวิจัย “ขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกของชาติ” ในการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีเล่าร่องรอยประวัติศาสตร์จังหวัดลำปาง ถ่ายทอดเสียงเพลงพื้นบ้าน ผ่านการแสดงของวงดนตรีไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า จากการค้นหาเพลงเก่าของชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ พร้อมเล่นผ่านวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพื่อรักษาเพลงเก่า นำมาเสนอในรูปแบบใหม่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเสริมสร้างสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า เพื่อรักษาเสถียรภาพและอัตลักษณ์ของสังคมไทยให้สืบทอดและคงอยู่ต่อไป อันเป็นโครงการวิจัยพื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอย วิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน โดยโครงการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)