Browse
Recent Submissions
Item Toward Integration of Museum-Tourism Destination Management in Thailand: A Qualitative Analysis of Employee Perspectives(สำนักพิมพ์รัชตภาคย์, 2024-04-06) Aunkrisa Sangchumnong; Manop Saengchamnong; Juthaporn Boonkheereerut; Nipont Raviyan; Jutamas ChaopipattanaThis research aims to understand the satisfaction, needs, expectations, and concerns of the main stakeholders in the organization and to suggest management guidelines to improve the satisfaction, needs, expectations, and concerns of the main stakeholders in the organization. The findings of the workshop study, which involved 44 key informants chosen through a methodical sampling process as stakeholders in science and tourism museum organizations, may provide insight into how staff members relate to the operation in terms of their needs, expectations, and expressions of satisfaction, safety, occupational hygiene, and working conditions. The study found that there were differing opinions among the staff members regarding the organization's vision and mission. It also identified important problems regarding the museum's role in advancing scientific knowledge, disseminating scientific knowledge, promoting educational equity, and presenting museum tourism. The outcome suggested a set of management guidelines, such as 1) creating an inspiring environment that might satisfy the stakeholders and fulfill the intended goals; 2) work-life balance; 3) satisfaction improvement; 4) diverse skills promotion and development; 5) transparent leadership; and 6) effective communication channels.Item Lessons Learned from Community-Based Tourism: An Analysis of a Case Study(FMDB Transactions on Sustainable Management Letter, 2023-02-01) Aunkrisa Sangchumnong; Saowatarn Samanit; Sarat Ritronasak; Jutamas Chaopipattanna; Tipvimon PrasertsriCommunity-based tourism is becoming popular, and the better-improved community and tourism convince many communities. This research focuses on Ban Sam Kha's experience; however, a lack of tourist development and promotion expertise will make them fail quickly. Knowing other communities' experiences will help. This qualitative participatory action research project used planning, acting, observing, and reflecting on the findings with target group action review (AAR) questions. The data gathering methods were conducted with 10 participants using in-depth interviews, 50 villagers in a knowledge exchange, and three rounds of a focus group discussion with 25 participants. From the results, Ban Sam Kha Community is an experience tourism destination with learning from community knowledge based on the creativity of the research process leading to tourism activities and tourist routes that connect the wisdom of various communities and their community ways that have been applied to the successful solving of development problems, which can be defined as “experience tourism and community learning”. This research includes policy recommendations and a model for others to use. Thus, all relevant parties in all sectors should cooperate in policy formation to decide policies and devise directions and strategies for their practical deployment.Item การเปรียบเทียบความแตกต่างของศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยประชาการศาสตร์(วารสาร พุทธนวัตกรรมปริทรรศน์, 2025-01-01) รุ่งโรจน์ เย็นชัยพฤกษ์; พราวธีมา ศรีระทุ; พรภัทร อินทรวรพัฒน์; มงคล เทียมถนอมบทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี และ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรในจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต นักศึกษา ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรและแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 2) ด้านการกำหนดแผนบริหารจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ 3) ด้านการจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว 4) ด้านการจัดการของเสียในแหล่งท่องเที่ยว 5) ด้านการยอมรับและความร่วมมือกับชุมชนโดยรอบ 6) ด้านการสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว 7) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8) ด้านการบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคและทรัพยากรการท่องเที่ยว 9) ด้านการส่งเสริมการขาย เพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ 10) ด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของแหล่งท่องเที่ยว โดยภาพรวมทุกด้านค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x = 3.94, S.D.= 0.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากอันดับที่ 1 คือ ด้านการจัดการของเสียในแหล่งท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (x = 4.04, S.D.= 0.79) รองลงมา คือ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม (x = 4.03, S.D.= 0.81) และ ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรและแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (x = 3.97, S.D.= 0.80) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการส่งเสริมการขาย เพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (x = 3.86, S.D.= 0.83) นอกจากนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดสุพรรณบุรีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ยกเว้น ตัวแปรด้านรายได้ ที่ไม่พบความแตกต่างItem การประเมินโครงการศิลปะจัดวางร่วมสมัย เพื่อการฟื้นฟูย่านปากคลองตลาด: กรณีศึกษา นิทรรศการ “form of feeling @ flower market”(เจดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่, 2022-09-30) สุพิชชา โตวิวิชญ์; ปาริฉัตร พรหมสวัสดิ์หลังจากย่านปากคลองตลาดได้ถูกจัดระเบียบ ตามนโยบายการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย เมื่อ พ.ศ.2559 ทำให้ “ความเป็นถิ่นที่ (sense of place)” ของย่านถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมด้วยนักออกแบบ HUI Team Design และ Saturate Designs จัดนิทรรศการศิลปะดอกไม้ “Form of feeling @ flower market” ณ ย่านปากคลองตลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้การออกแบบเป็นเครื่องมือในการสร้างภาพจำ และกระตุ้นความเป็นถิ่นที่อย่าง ร่วมสมัยของย่านปากคลองตลาด บทความนี้เป็นการประเมินนิทรรศการจากมุมมองของผู้เข้าชมงานและผู้ค้าในย่านปากคลองตลาด เพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม รวมถึงการประมาณรายได้ที่เกิดขึ้นจากนิทรรศการ และรับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมในอนาคต จากจำนวนผู้เข้าชมนิทรรศการทั้งหมด 4,305 คน ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 2,525 ชุด พบว่า ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 71.57) เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุ 18-34 ปี นอกจากนี้ ร้อยละ 21.82 ของจำนวนผู้ที่ตอบแบบสอบถาม ให้ข้อมูลว่าไม่เคยมาปากคลองตลาดมาก่อน และจากการกำหนดให้ผู้เข้าชมซื้อดอกไม้เป็นบัตรเข้างาน พบว่า ค่าเฉลี่ยของเงินที่ใช้ซื้อดอกไม้เพื่อเข้างาน คือ คนละ 68.59 บาท เมื่อคิดค่าประมาณโดยเทียบสัดส่วนของแบบสอบถามกับจำนวนผู้เข้าชมนิทรรศการ อาจกล่าวได้ว่านิทรรศการทำให้มีรายได้เข้าสู่ปากคลองตลาดประมาณ 295,280 บาท จากผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด นอกจากนี้ บทความยังกล่าวถึงข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมในอนาคต เนื่องจากการกระจายรายได้ที่เกิดขึ้นจากการจัดนิทรรศการนั้นยังไม่ทั่วถึงทั้งย่าน เพราะมีจุดจัดกิจกรรมเพียงจุดเดียว ดังนั้น หากมีการจัดกิจกรรมในอนาคต ควรปรับปรุงให้มีจำนวนจุดสำหรับจัดกิจกรรมเพิ่มเติมและกระจายตัวอยู่อย่างทั่วถึงให้มากขึ้นItem การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (BCG)(2024-10-30) พิมพ์เนตร มากทรัพย์; สรร รัตนสัญญาThis article explores the integration of Information and Communication Technology (ICT) in tourism to promote the Bio-Circular-Green (BCG) economy through online learning platforms, virtual and augmented reality, gamification, big data, and mobile learning. ICT can enhance tourism to become sustainable tourism. This article reviews current practices, presents strategies and case studies at both global and local levels, and identifies challenges and opportunities. Strategic recommendations for policies and the best practices focusing on supporting the adoption of ICT for sustainable tourism development through constructive learning methods are presented as well. The review highlights the transformative potential of ICT in aligning tourism with BCG principles to achieve sustainable tourism. Keywords: ICT in Tourism, Bio-Circular-Green (BCG) Economy, Sustainable Tourism Development, Virtual and Augmented Reality, GamificationItem แนวทางการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงวัฒนธรรม และกฎระเบียบทางสังคมในบริบทของอารยธรรมล้านนาให้แก่นักท่องเที่ยวจีน : กรณีศึกษาเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา(วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2022-12-26) รัตน์นรินฑิราก์ นิภาวรรณ; ดุจตะวัน กันไทยราษฎร์Item การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย "ข้าวไร่กะเหรี่ยง" อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี(วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), 2023-10-20) รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์; ถิรพร แสงพิรุณ; นพเวช บุญมี; วรเวชช์ อ่อนน้อม; ภัทร์อาภรณ์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์; นภาพร จันทร์ฉายบทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและวัฒนธรรมข้าวไร่กะเหรี่ยง 2) เพื่อพัฒนากิจกรรม Abstract This research is concerned with three main objectives as 1) to study the content and the culture of Ka-Reang Rice, 2) to develop the tourism activities by creating the participatory approach and 3) to develop a sustainable tourism model by using Ka-Reang Rice and use the study method as conceptual documents and Grounded Theory and collect the data by Participant Observation, In-depth Interview, Participation Action Meeting, and Focus Group with associated network partners to verify the information by using Trianglulation Technique and Content Analysis Method and presented by Descriptive Approach. The research result indicated that Ka-Reang people from Ta Pheng Ki Village have the way of life, belief and rituals about “Rice” a symbol of abundance of livelihood to create and participate to the wisdom process of rice cultivation which is Ka-Reang culture to cultivate rice with non-chemical and safe. For the important rituals about rice is called as “Kwan Khow” New Marit Making and attend worship at Chulamanee Relics, etc. These two cultures will encourage the tourism to participate according to the 12 months Farm Rice calendar. This strategy can help to develop a sustainable tourism by using these three elements as 1) the participation and job distribution to Ka-Reang people for their responsible, 2) Tourism Management such as accommodation, food, tourism activities and transportation including welcoming reception and selling souvenir products and, 3) Traditional rice conservation. การท่องเที่ยวโดยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย ข้าวไร่กะเหรี่ยง ใช้วิธีการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ร่วมด้วยการใช้ทฤษฎีเชิงพื้นที่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่มกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าและการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอโดยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ชาวกะเหรี่ยงแห่งหมู่บ้านตะเพินคี่ มีวิถีชีวิตความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับ “ข้าว" สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ในการทำมาหากิน นำมาสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมด้วยภูมิปัญญาการปลูกข้าวเป็นวัฒนธรรมมข้าวไร่กะเหรี่ยงที่ปลอดภัยปราศจากสารเคมี สำหรับพิธีกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเรียกขวัญข้าว ทำบุญข้าวใหม่ ไหว้พระธาตุจุฬามณี เป็นต้น นำไปสู่การท่องเที่ยวตามปฏิทินกิจกรรมข้าวไร่ 12 เดือน จึงเป็นรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วยข้าวไร่กะเหรี่ยง ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมและกระจายงานแบ่งความรับผิดชอบของชาวกะเหรี่ยง 2) การบริหารจัดการท่องเที่ยว ด้าน ที่พัก ด้านอาหาร ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว ด้านการคมนาคมขนส่งรวมถึงการต้อนรับและจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก และ 3) การอนุรักษ์ข้าวแบบดั้งเดิมItem การศึกษากลยุทธ์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี(วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2024-07-01) ดุจตะวัน กันไทยราษฎร์; เธียรรัตน์ ฉัตรภัทรพล; เตชิตา ภัทรศร; ศริญา ประเสริฐสุด; พิมพ์มาดา วิชาศิลป์Item The Platform Development for Creative Tourism Route Design to Tourists in Suphan Buri Province.(Journal of ASEAN PLUS Studies, 2024-01-01) Chatphattaraphon T.; Phattharasorn T.; Prasertsut S.; Wichasin P.Item ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์อาชีพช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์(วารสารศิลปการจัดการ, 2024-06-28) จตุรดา โภชนจันทร์; ธนิดา จอมยิ้มItem นวัตกรรม การ จัดการ ความ รู้ การ บริหาร จัดการ โรงแรม ขนาด เล็ก เพื่อ กระตุ้น เศรษฐกิจ การ ท่องเที่ยว ท้องถิ่น ใน เขต พัฒนาการ ท่องเที่ยว วิถี ชีวิต ลุ่มน้ำ โขง(วารสาร วิชาการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ ศรีสะเกษ, 2023-10-21) เพ็ญพักร์ศิณา วิเชียรวรรณ; วิภาดา มุกดาThe purposes of theresearch were1. to studyfor the process of creating a knowledge management innovation plan management of small hotels in the area2. togeneratea knowledge management innovation plan for small hotel management to boost local tourism economy in the greater Mekongsub region tourism development area. This study was conducted using qualitative data, were collected by in-depth interviews, focus group and using content analysis. The key informantsare 54 from hotel executives or representatives, and 50 from tourists, tour guides or tour operators, representative from the provincial office of tourism and sports, expert’squalified and research users.The research results showed that: 1. The process of creating an innovation plan includes goal setting, operation, evaluation, summary of performance2.Innovation plans: 1) The newness of small hotel management, the goal or scope is something new that is developed based on research results which may look like a product, service or process which can be improved from the original or developed a new one.2) The management of small hotels to provide economic benefits, the goal or scope is to create additional value by developing new things which the potential benefits can be measured directly in monetary terms or not directly in cash or the ability or the ability to create value for the business to create value that surpasses competitors effectively, the competitiveness of the business is even more high or the value that customers receive from the consumption of goods and services that exist in the current hotel business. 3) To use knowledge and creativity in the management of small hotels, the goal or scope is the result of using knowledge and creativity as thebasis for new development which is not due to imitation, duplication in terms of management/cost/marketing/customer loyalty or using creative ideas to create services between service providers and service recipients, this results in the novelty of niche or individual services. The evaluation is to comply with relevant standards in normal circumstances, including: ASEAN mutual recognition arrangement, accommodation standards for tourism standard type of 2-star hotel, community-based tourist attraction management standard.While the evaluation of various plans in accordance with the relevant standards after the COVID-19 crisis are Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) and SHA Plus.Item การศึกษากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 2022-04-12) ถิรพร แสงพิรุณ/รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์/อังค์ริสา แสงจำนงค์บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชน คลองรางจระเข้ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ เป็นงานวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การทดลองกิจกรรมการท่องเที่ยว การประเมินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ชุมชนมีทุนทางวัฒนธรรมและธรรมชาติเหมาะสมต่อการท่องเที่ยว มีอาหารของท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2 วัน 1 คืนร่วมกับคณะนักวิจัย ในการประเมินกิจกรรมท่องเที่ยวจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ควรปรับปรุงด้านความพร้อมของชุมชน ด้านความสะอาดความเป็นระเบียบของบ้านพักแบบโฮมสเตย์ โดยกิจกรรมท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่ดีมีเอกลักษณ์ท้องถิ่น ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.66 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 66.67 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 53.33 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 40.00 มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 45,001 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 33.33 นักท่องเที่ยวให้ความสนใจการล่องเรือชมวิถีชีวิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.33 นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นด้านความต้องการต่อองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 5 ด้าน คือ การต้อนรับของคนในชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.51) รองลงมา คือ การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืน และสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.07) การเรียนรู้และมีส่วนร่วมในศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.00) และความผูกพันของนักท่องเที่ยวกับเจ้าของบ้านจากกิจกรรมการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.89)Item ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาธุรกิจโรงแรม ในเขตพื้นที่อำเภอหัวหิน เพื่อยกระดับสู่การเป็นโรงแรมเชิงสุขภาพ(วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2025-03-01) ณัฐปรียา โพธิ์พันธุ์/ พิมพ์รวี ทหารแกล้ว/ชุติมา จักรจรัส/วรรณพรรธน์ ริมผดี/ ธัญญลักษณ์ เวชชศาสตร์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาศักยภาพและสร้างแนวทางการพัฒนาธุรกิจโรงแรม ในเขตพื้นที่อาเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อยกระดับสู่การเป็นโรงแรมเชิงสุขภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม บุคลากรในธุรกิจโรงแรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเขตอาเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จานวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน พบว่า ร้อยละ 59 รับรู้แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก (The Royal Coast หรือ Thailand Riviera) ร้อยละ 56 รับทราบนโยบายการพัฒนาของ อาเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้เป็นจุดหมายปลายทางการพักผ่อนเพื่อสุขภาพ (Wellness Destination) และมีความคิดเห็นว่านักท่องเที่ยวให้ความสนใจในสถานที่ท่องเที่ยว ที่พักเชิงสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ และกิจกรรมสุขภาพ (ร้อยละ 56, 50, 42 และร้อยละ 31 ตามลาดับ) รวมถึงต้องการพัฒนาความรู้เพื่อรองรับการให้บริการกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ร้อยละ 99 และการเพิ่มทักษะด้านโรงแรมเชิงสุขภาพจะสามารถให้บริการนักท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้น ร้อยละ 98 และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการ ผู้บริหารหัวหน้างาน และพนักงานโรงแรม จานวน 25 คน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จานวน 5 คน และการประชุมกลุ่มย่อยแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาธุรกิจบนฐานการพัฒนาศักยภาพที่พักตามความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนาแนวทางที่ได้จากการสังเคราะห์ไปให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการวิพากษ์Item แนวทางการบริหารความเสี่ยงในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดสุพรรณบุรี(วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2066-01-01) รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์การวิจัยนี้มุ่งศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา จังหวัดสุพรรณบุรี โดยอาศัยหลักการจัดการความเสี่ยงของ COSO(COSO, 2020) เป็นฐานแนวคิดในกระบวนการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มย่อย โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้เกี่ยวข้องทางการท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนหน่วยงานภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการจัดการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับ การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คนและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับ การเสวนา กลุ่มย่อย จำนวน 20 คนผลจากการศึกษา พบว่า จังหวัดสุพรรณบุรีมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการเป็นเมืองแห่งกีฬา ประกอบด้วย(1) ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการกีฬาและการท่องเที่ยวอย่างจริงจังจากผู้นำที่มีอิทธิพลในจังหวัด (2) ขาดการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย (3) ขาดประสิทธิภาพด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ และ(4) สถานการณ์โรคระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้น แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงจึงเลือกดำเนินการด้วย 2 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์การควบคุมความเสี่ยงและกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) จัดทำแผนความร่วมมือและกำหนดบทบาทด้านการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในระยะยาว(2) จัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อรับผิดชอบจัดกิจกรรมเชิงกีฬาที่สนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยง สร้างความร่วมมือในการพัฒนา การท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมเชิงกีฬาสากล (3) นำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (4) สร้างความหลากหลายของกิจกรรมเชิงกีฬา ทั้งในระดับชุมชน องค์กร และระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง และ (5) การพัฒนาระบบความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมเหตุการณ์การแพร่กระจายของโรคระบาดและภัยทางธรรมชาติการศึกษานี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดด้านการกำหนดนโยบายเชิงกีฬาและการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ภาคีเครือข่ายสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดจากผลงานวิจัยนี้เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมและออกแบบแนวทางการจัดการความสัมพันธ์การท่องเที่ยวและกีฬาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าแข่งขันและผู้เข้าร่วมงานกีฬา ตลอดจนนักท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมภายใต้จุดเด่นที่มีของจังหวัดItem แนวทางการจัดนิทรรศการ ฟาร์มสุข ปลูกได้(2023-01-01) ศรัฐ สิมศิริ, รตนนภดล สมิตินันทน์, นรินทร สรวิทย์ศิรกุล, มานะ เอี่ยมบัว และปณิตา เทพสถิตแนวทางการจัดนิทรรศการ ฟาร์มสุข ปลูกได้เป็นการศึกษาเพื่อการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมในภาคกลาง สนับสนุนการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบฟาร์มสเตย์ โดยมีจังหวัดในภาคกลางที่เป็นเมืองรอง ได้แก่ สุโขทัย อุทัยธานี สุพรรณบุรี ลพบุรี และเพชรบูรณ์ โดยการนําเรื่องราวข้อมูลของเกษตรกรรม ฟาร์มสเตย์ วิถีเกษตรกรรมแต่ละท้องถิ่น การดํารงชีวิตในรูปแบบเรียบง่าย และการนําเอาวิถีเกษตรมาเผยแพร่ให้คนรู้จักและเข้าถึงมากขึ้นด้วยกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงโซนให้ความรู้ที่เป็นธรรมชาติ และของดีแต่ละจังหวัดเมืองรองภาคกลางมาไว้ในงานโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเรียนรู้วิถีชีวิตเกษตรกรรมแต่ละท้องถิ่นในภาคกลาง 2) เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 5 จังหวัดเมืองรองภาคกลาง และ 3) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในวิถีชีวิตแบบใหม่ วิธี การ ดําเนินโครงแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเกษตรกรรม ฟาร์มสเตย์ แหล่งท่องเที่ยวในภาคกลาง แนวคิดในการจัดงานออกแบบนิทรรศการและการจัดแสดง ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสถานที่ในการจัดงาน เพื่อทราบขนาดพื้นที่สําหรับสร้างรูปแบบการจัดงานและกิจกรรมที่มีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน ขั้นตอนที่ 3 เขียนแบบภาพ 2 มิติกําหนดพื้นที่ทั้งหมดของงาน สร้างแบบงานเป็นภาพ 3 มิติ และผลิตแบบจําลอง และขั้นตอนที่ 4 ประเมินความคิดเห็นของนิทรรศการและการจัดแสดง เพื่อทราบถึงความคิดเห็นที่มีต่อการออกแบบ ความเป็นไปได้ของงาน ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความพึงพอใจในรูปแบบการจัดงานผลการประเมินพบว่าคะแนนความพึงพอใจในเรื่อง 1) แนวคิดมีความน่าสนใจ 2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม 5 จังหวัดเมืองรองภาคกลางสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมและเศรษฐกิจได้ 3) การจัดนิทรรศการและกิจกรรมน่าสนใจและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 4) การออกแบบ Logoและ Poster ประชาสัมพันธ์ของงาน5) สามารถสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม 6) สามารถถ่ายทอดเรื่องราวสื่อสารได้อย่างครบถ้วน ชัดเจน เข้าใจง่าย และ 7) มีความสวยงามมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดItem Innovative Value Added to Aquatic Weed for use as Packaging to Promote Identity and Increase Good Agricultural Practice Products Value of Homkhajorn Farm in Accordance with the Green Economy Guidelines(2024-06-27) Sarath Simsiri, Mana Eiambua, Narintorn Sorrawitsirakul, Ratananaphadol Smitinand, Waniga Kerdbang, Suttida Supasopon, Satanawat PrakobpolInnovative value added to Aquatic Weed as Packaging to promote identity and increase the value of Good Agricultural Practice Products of Homkhajorn Farm in accordance with the Green Economy guidelines is a study of the facts and knowledge by specifying some variations for the rational results with related variations, including the independent variation that affects the dependent variation. The purpose of this study was to understand the value-added m ethod for aquatic weeds as a packaging to promotes identity and adding values to Good Agricultural Practice Products of Homkhajorn Farm in accordance with green economy, to create packaging prototypes that promotes identity and adding values to Homkhajorn Farm’s Good Agricultural Practice Products with green economy and to suggest guidelines for increasing the values of aquatic weeds as a packaging that promotes the identity and adding values to Homkhajorn Farm’s Good Agricultural Practice Products with green economy. The research is therefore based on the question as following: (1) Is there a way to increase the value of aquatic weeds as a packaging that promotes the identity and value adding to Homkhajorn Farm’s Good Agricultural Practice Products with the green economy?, (2) What kind of Packaging that promotes identity and adding values to Homkhajorn Farm 's Good Agricultural Practice Products with the green economy and (3) How to use aquatic weed packaging to promote identity and add values to Homkhajorn Farm’s Good Agricultural Practice Products? by collecting data of 81 samples for the Preliminary study and 188 samples for the main study. The research tools were testified by Cronbach's alpha coefficient to find the credibility of the research tools, Data analysis using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test independent, and Regression analysis to study the relationship between Independent variation and Dependent variation, which will show the results of relational levels between the tested variations.Most of the sample groups agreed that the outside packaging should initially focus on covering, protecting, and indicating product information. In terms of inside packaging or shockproof it should be emphasized on preventing products, convenience to reuse, aesthetic and attractive appearance, the product’s uniqueness as well as increasing the values of the product. The regression analysis results of outer packaging utilization indicate that the variation of product’s covering, protection, extension, reuse, appearance and identity tend be the factors that can increase the values of Homkhajorn Farm’s melon products. Also, the regression analysis of shockproof packaging utilization showed that the variations of packaging convenience, aesthetics, attractiveness and product identity are all factors that can also increase product values.Item แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนประเทศไทย(วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2021-12-01) ไพริน เวชธัญญะกุล/ ธัญชนก บุญเจือการศึกษาวิจัยแผนงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยในการศึกษา (1) ค่านิยมและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวบริเวณในเขื่อนประเทศไทย (2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเขื่อนบริเวณในเขื่อนประเทศไทย (3) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนบริเวณในเขื่อนประเทศไทย และนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์มาพัฒนารูปแบบของการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณในเขื่อนประเทศไทยเพื่อหาข้อเสนอแนะการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณรอบเขื่อนประเทศไทย ซึ่งจากผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยทั้ง 3 เรื่องสามารถนำพัฒนารูปแบบของการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนได้ดังนี้ ในการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณในเขื่อนประเทศไทยจะประกอบไปด้วยกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5 กลุ่มพันธมิตรการท่องเที่ยว (GBTCA) ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ (Government) หน่วยงานภาคเอกชน (Business) นักท่องเที่ยว (Tourist) ประชาชนท้องถิ่น (Community) และแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) ซึ่งกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเหล่านี้จะต้องมีการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนร่วมกันโดยเริ่มตั้งแต่การวางแผน การร่วมมือและการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพItem สนามบินอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-12-17) ธันยพัฒน์ อินทรทัพพ์ / ภาคภูมิ พันปี / วินิตา หงส์วรพิพัพัฒน์ /ชนาภา นิโครธานนท์Item ภาพลักษณ์หญิงไทยที่ปรากฏในเพลง “One Night in Bangkok” และ “Thailand”(วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2023-12-18) รินทร์ฤดี ภัทรเดช/ นนทพร ชอบตะคุ /ธนภรณ์ พัฒนวิโรจน์บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอภิปรายมิติของภาพลักษณ์หญิงไทยและความเป็นไทยผ่านเพลงสากลภาษาอังกฤษ 2 เพลง คือ เพลง One Night in Bangkok และเพลง Thailand คณะผู้เขียนทําการศึกษาผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ยูทูบโดยใช้แนวคิดบูรพาคดีศึกษาของซาอิด ร่วมกับแนวคิดความเป็นผู้หญิงในอุษาคเนย์ และแนวคิดภาพลักษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แก่นสาระของตัวบทร่วมการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าเนื้อหาของทั้ง 2 เพลงมีการนําเสนอภาพลักษณ์และภาพเหมารวมของประเทศไทยเป็น 6 ลักษณะด้วยกันคือ (1) เมืองไทย-มาจากดาวดวงไหน ซึ่งเสมือนอยู่กันคนละโลกกับชาวตะวันตก (2) เธอคือความฝัน เป็นการจินตนาการถึงเมืองไทย (3) การแฝงและแผลงฤทธิ์ สื่อถึงชาวตะวันตกมีอํานาจกว่า (4) มิสคุณโส เป็นการกําหนดตําแหน่งให้กับเมืองไทย (5) ไทยแลนด์บังอร สื่อถึงเมืองไทยเป็นเพศหญิง และ (6) เมืองไทยเมืองบูด หมายถึง เป็นแหล่งเสื่อมโทรม นอกจากนี้เนื้อเพลงยังมุ่งเน้นภาพลักษณ์ความเป็นเพศหญิงที่สื่อความหมายถึงการซื้อขายประเวณีในไทย รวมถึงชาวตะวันตกเหมารวมภาพลักษณ์ให้ประเทศไทยเป็นดั่งดินแดนสําหรับระบายอารมรณ์ทางเพศและต้องได้รับการช่วยเหลือItem Cooperation in health and wellness tourism connectivity between Thailand and Malaysia(International Journal of Tourism Sciences, 2019-05-19) Timothy J.Lee/ Chiranuch Sopha/Chompunuch JittithavornThailand and Malaysia are in a Southeast Asia Region that builds cooperative tourism promotion under the ASEAN Tourism Connectivity framework. The two countries must utilize their unique identities to build differentiation in their sales and promotion schemes but keep their coherence and co-promotion. While Thailand has paid attention to Thai herbs for physical and mind therapy, Malaysia has put its emphasis on the spa industry. Moreover, the two have introduced integration between Phuket and Langkawi to provide effective health and wellness connectivity destinations. Such cooperation will help to boost tourism connectivity within Southeast Asian countries. This paper aims to reach a clear understanding of how each country uses health and wellness tourism to attract tourists both domestically and internationally so that such cooperation and connectivity will help to promote the industry.