Power of SDU Talk
Permanent URI for this community
Browse
Browsing Power of SDU Talk by Title
Now showing 1 - 20 of 43
Results Per Page
Sort Options
Item Data 2 Play(2023) พิทักษ์ จันทร์เจริญความสําคัญของข้อมูล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้ข้อมูลมีทั้งข้อเท็จจริงขึ้นอยู่กับการเลือกรับและเลือกใช้ข้อมูลที่สําคัญประกอบด้วย ผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล และสามารถนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากมาย สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีบริการหลากหลาย เช่น ระบบ Microsoft Team ใน การแชร์ข้อมูลผ่าน One Drive บริการยืม-คืนออนไลน์ การจองห้องออนไลน์ (E-booking) Help desk ให้คําปรึกษา สนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือเทคโนโลยีสําหรับการเรียน การสอนและบริการฐานข้อมูลออนไลน์ โดยเป็นหน่วยงานในการรวบรวม จัดเก็บ และสร้างเครื่องมือในการจัดการข้อมูลเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว ทําให้ทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ แห่งการเรียนรู้ (One World Library) เปรียบเสมือนจิ๊กซอร์ (Jigsaw) เชื่อมโยงข้อมูล สารสนเทศ เครื่องมือ และการนําไปใช้Item Happy Dorm Happy Life(2023) พิทักษ์ จันทร์เจริญศูนย์วิทยาศาสตร์สิรินธร เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการให้บริการอาคารเรียน ห้องสมุด ครัวสวนดุสิต อาคารที่พัก (มีสิ่งอํานวยความสะดวกและการดูแลความปลอดภัย) มีเจ้าหน้าที่และ บุคลากรดูแลอํานวยความสะดวก และความปลอดภัยให้กับอาจารย์ นักศึกษา ตลอดเวลา อีกทั้งเป็นสถานที่ให้บริการด้านการจัดประชุมและอบรมสําหรับหน่วยงานภายนอกItem Law คนสวนดุสิต [ตอบ](2023) พิทักษ์ จันทร์เจริญความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันและการปฏิบัติงานในหน้าที่มีความสําคัญอย่างมาก เพื่อลดข้อผิดพลาดและการกระทําผิดหรือ การเสียโอกาสในด้านต่าง ๆ สถานการณ์ปัจจุบันการต่อสัญญาของบุคลากรสวนดุสิตมีสิ่งที่ต้องศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบItem Mindset กับการพัฒนาตนเอง(2023) พิทักษ์ จันทร์เจริญสถานการณ์สังคมปัจจุบัน Mind set และ Growth mind set ของบุคลากรสวนดุสิตเป็นสิ่งสําคัญทุกคนต้องรู้จักตนเอง และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง ให้สอดคล้องกับทิศทางมหาวิทยาลัยItem Money is in the air(2023) พิทักษ์ จันทร์เจริญการมองเห็นโอกาสในการสร้างรายได้ และสร้างประโยชน์ (Money is in the air) ให้กับมหาวิทยาลัย เกิดจากกระบวนการคิด วิธีคิด และการลงมือทํา บุคลากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในวิสัยทัศน์ เป้าหมายของมหาวิทยาลัยในทิศทางเดียวกัน และร่วมมือกันเชื่อมโยงการทํางาน มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีจุดเด่นและจุดแข็งมากมายจึงเป็น “โอกาส” ได้ง่ายมาก หากความคิดที่ว่า “เงิน” หรือ “โอกาส” ลอยอยู่ในอากาศ คนสวนดุสิต ต้องรู้จักวิธีที่จะหา สร้าง “โอกาส” หยิบ “เงิน” มาสร้างประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยให้ได้Item Nice PR.สื่อสารได้ สื่อสารดี(2023) พิทักษ์ จันทร์เจริญการเป็นผู้สื่อสารที่ดี การทํางานอย่างมีความสุข เริ่มจากการมี “การคิดบวก” รวมกับ “ความรักในงานที่ทํา (รักหน่วยงาน และองค์กร) ทุกคนเป็นภาพลักษณ์ของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย จากประสบการณ์การทําหน้าที่ PR ผู้ใช้บริการภายนอกที่เข้ามาใช้สถานที่ให้ความชื่นชม สถานที่ และห้องสุขา รับผิดชอบโดยกองอาคารและสถานที่ เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยItem Poll Talk by Suan Dusit Poll 1(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินฉบับนี้ได้มีความคิดเห็นเพิ่มเติมในสาระของข้อมูลจากนักวิชาการภายนอก เพื่อให้ได้สาระเพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะเป็นความคิดเห็นคล้อยตามกัน หรืออีกมุมมองหนึ่งก็ได้ ทำให้ผู้ได้รับข้อมูลได้แนวคิดที่หลากหลายใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้มากขึ้น การพัฒนานี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอPoll ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น โดย Poll Talk ฉบับนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นและการวิพากษ์ของนักวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ เด็กไทยในสายตาประชาชน,ดัชนีครูไทยในยุคโควิด, ความสุขในยุคโควิด-19, คนไทยกับวัคซีนโควิด-19 , คนไทยคิดอย่างไรกับการเปิด "บ่อนพนัน" , แรงงานเถื่อนกับโควิด-19 , ความคิดเห็นของประชาชนกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ, มาตรการเยียวยาโควิด-19 ระลอกใหม่ของรัฐบาล, จุดกึ่งกลางระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาล, ครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 , ตกงาน ปัญหาใหญ่! ของคนไทย ณ วันนี้, ประชาชนคิดอย่างไรต่อกรณีแรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทยItem Poll Talk by Suan Dusit Poll 2(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินการปรับปรุงในการให้ความคิดเห็นเชิงวิชาการ ของนักวิชาการในการเจาะประเด็นเชิงลึกจากผลการ สำรวจของ Suan Dusit Poll ทำให้มีมุมมองทางวิชาการ ที่นอกเหนือไปจากตัวเลขที่ดีขึ้นประกอบกับการวิพากษ์ ผล Poll โดยนักวิชาการภายนอกเพิ่มเติม ทำให้มีมุมมอง ที่หลากหลายมากขึ้น สำหรับการนำไปใช้เชิงวิชาการ เป็นการพัฒนาที่ดีของ Poll Talk ฉบับนี้ โดย Poll Talk ฉบับนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นและการวิพากษ์ของนักวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การกระตุ้นเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) ในยุคโควิด-19, สงกรานต์ในยุคโควิด-19, วันหยุดของคนไทย, โควิด-19 ระลอก 3, อาหารไทยยุคโควิด-19, คนไทยกับการเอาชนะโควิด-19, พฤติกรรมของคนไทยกับการทำงานที่บ้าน (Work From Home) การฉีดวัคชีนโควิด-19, สภาพจิตใจของคนไทยในยุคโควิด-19, ข้อมูลข่าวสารในยุคโควิด-19, ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19, หัวอกครู ผู้ปกครอง นักเรียนกับการเรียนออนไลน์, เปิดประเทศใน 120 วันItem Poll Talk by Suan Dusit Poll 2563(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินPoll Talk by Suan Dusit Poll 2563 ฉบับนี้ เป็นฉบับแรกก่อนที่จะมีฉบับที่ 1 (Poll Talk 1) โดยโพลการนำเสนอผลสำรวจจากความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อเรื่องหนึ่งเรื่องใด (Poll) ในปัจจุบันนี้ คงจะไม่ใช่การนำเสนอข้อมูลเชิงตัวเลขสถิติอย่างเดียว น่าจะมีการวิเคราะห์เพิ่มเติม โดยนักวิชาการด้านนั้นๆ โดยตรง เพื่อเพิ่มองค์ความรู้จากการสำรวจให้กับผู้ใช้ข้อมูลด้วย นั่นเป็นที่มาของแนวทางการทำ Suan Dusit Poll (Talk) Poll Talk by Suan Dusit Poll 2563 ฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ครูอนุบาล ครูพี่เลี้ยง/ครูผู้ดูแลเด็ก ในสายตาประชาชน, มาช่วยแก้เสียงบ่นของคนไทย, ความเอื้ออาทร ของคนไทย ณ วันนี้, ความคิดเห็นของประชาชนต่อการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ, อยู่อย่างไร? ให้มีความสุขในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง, ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้ง อบจ.ครั้งแรกในรอบ 6 ปี, ความคิดเห็นของคนไทยที่มีต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สิ่งที่คนไทยอยากเรียนรู้ในปี 2020, อาหารการกินของคนไทยในปี 2020, คนไทยกับการท่องเที่ยวส่งท้ายปี 2020, การดูแลสุขภาพของคนไทยในปี 2020, สิ่งที่ประชาชนได้รับจากการเลือกตั้ง อบจ. ปี 2563, ที่สุดแห่งปี 2563Item Poll Talk by Suan Dusit Poll 3(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินPoll Talk 3 ฉบับที่ 3 นี้ได้มีการปรับปรุงเพิ่มขึ้นโดยมีการเพิ่มเติมบทความที่เกี่ยวพันกับสาระสำคัญของ ผลการสำรวจของ Suan Dusit Poll นอกเหนือไปจาก บทวิพากษ์ เพื่อเพิ่มสาระเชิงวิชาการอันจะเป็นประโยชน์ ต่อการใช้ข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจของ Poll ทำให้เกิด คุณค่าและเป็นประโยชน์ในการนำผลไปใช้ได้ พัฒนาการ ในลักษณะนี้จะยังคงมีต่อไปเรื่อยๆ โดย Poll Talk ฉบับนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นและการวิพากษ์ของนักวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ทำอย่างไรจึงจะชนะโควิด-19, บทเรียนจากเหตุระเบิดโรงงาน กิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ, คนไทยในยุควิกฤติโควิด-19, ข่าวสารในช่วงวิกฤติ โควิด-19, การแสดงความคิดเห็นของประชาชนในยามวิกฤติโควิด-19, กู้วิกฤติท่องเที่ยวไทย, คนไทยกับตัวเลข/สถิติเกี่ยวกับโควิด-19, การใช้จ่ายของคนไทยในยุคโควิด-19, ความต้องการของคนไทยในยุคโควิด-19, พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนไทยในยุคโควิด-19, คนไทยได้อะไร?จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ, สมุนไพรไทยในสายตาคนไทย, ภัยสังคมในยุคโควิด-19Item Poll Talk by Suan Dusit Poll 4(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินPoll Talk 4 ฉบับนี้ เป็นฉบับประจำไตรมาสที่ 4 ของ ปี พ.ศ. 2564 ซึ่งได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาสาระเชิงวิชาการ ประกอบผล Poll จากนักวิชาการต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้สะท้อน แนวคิดจำกผลสำรวจได้หลากหลายมุมมองมากขึ้น บทควำม มีคุณค่ำขึ้น หวังว่ำคงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน โดย Poll Talk ฉบับนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นและการวิพากษ์ของนักวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การฉีดวัคซีนให้กับเยาวชนอายุ 12-17 ปี, คนไทยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปี 2564, เปิดประเทศ 1 พ.ย.2564, มาตรการช่วงเหลือของรัฐช่วงโควิด-19, ความเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองไทย, ขนมไทยกับคนไทย, คนไทยกับเทศกาลลอยกระทง, การเลี้ยงดูเด็กในยุคโควิด-19, ภาวะหนี้สินของคนไทย, การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต, คนไทยกับการท่องเที่ยวส่งท้ายปี 2021 การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในสายตาคนกรุงเทพฯ, คนไทยกับปีใหม่ยุคโควิด-19, ที่สุดแห่งปี 2564Item Poll Talk by Suan Dusit Poll 5(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินPoll Talk 5 ฉบับนี้ เป็นฉบับประจำปี 2565 มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นและข่าวผลการสำรวจความคิดเห็นในสื่อที่เป็นภาษาอังฤษ โดยนำเสนอเนื้อหาสาระในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ เด็กไทย 2022 ในสายตาประชาชน, ดัชนีครูไทยในยุคโควิด-19, การใช้ชีวิตของคนไทยในยุคข้าวของแพง, ควันหลงเลือกตั้งซ่อมกับการเมืองไทย, หัวอกผู้ปกครองในยุคโควิด-19, คนไทยกับพิษเศรษฐกิจ, มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ภัยสังคม ณ วันนี้, คนไทยคิดอย่างไรกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน, การเมืองไทยวุ่นวายจริงหรือ, ความหนักใจของคนไทย ณ วันนี้, คนไทยกับหวย, การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในสายตาคนกรุงเทพฯ, คนไทยกับกัญชาเสรี, ประชาชนคิดอย่างไรกับการจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ, คนคิดอย่างไรกับโรคฝีดาษลิง, ของแพงกับคนจน, คนไทยกับเทศกาลลอยกระทง, ที่สุดแห่งปี 2565Item Poll Talk by Suan Dusit Poll 6(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) สวนดุสิตโพลหนังสือ “POLL TALK 6” เล่มนี้นำเสนอผลโพลในปี 2566 ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมไปถึงประเด็นร้อนอื่นๆ ที่สังคมให้ความสนใจ เช่น ดัชนีครูไทย เยาวชนไทย ฝุ่น PM 2.5 ความหลากหลายทางเพศ เด็กอาชีวศึกษา และวันสำคัญต่างๆ นอกจากการนำเสนอผลโพลแล้ว ยังมีบทวิเคราะห์จากนักวิจัยสวนดุสิตโพลและนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชนItem Poll Talk by Suan Dusit Poll Ep.1-52(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) Sirote PholpuntinPoll Talk by Suan Dusit Poll Ep.1-52 ฉบับนี้ เป็นการรวบรวมผลการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลที่นำเสนอผ่านรายการ Poll Talk by Suan Dusit Poll ตั้งแต่ Ep.1-52 ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ โดยนำเสนอเกี่ยวกับคณะกรรมการของสวนดุสิตโพล ประวัติสวนดุสิตโพล ผลการสำรวจของสวนดุสิตโพล และบทความวิชาการของสวนดุสิตโพลItem Poll Talk Exclusive Ep 1. การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19(2022) ศุภศิริ บุญประเวศ. การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เรื่องการสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ผู้เข้าร่วม 10 คน และการสัมภาษณ์จำนวน 30 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง พบว่า ความสำคัญของการสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เน้นการสร้างความเข้าใจกันในครอบครัว โดยในช่วงโควิด-19 การสื่อสารของครอบครัวมีมากขึ้นเนื่องจากต้องอยู่บ้านมากขึ้น และเป็นการพูดคุยเรื่องสุขภาพ การเรียน การทำงาน ฯลฯ ช่วงเวลาส่วนใหญ่ที่พูดคุยกัน คือ ช่วงกินข้าว ไปเที่ยวและทำกิจกรรมร่วมกัน อุปสรรคในการสื่อสาร ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีมากเกินไป ช่องว่างระหว่างวัย ภาษา ความคิดและทัศนคติ แนวทางแก้ปัญหาควรเริ่มจากการเรียนรู้คนในครอบครัว ผลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า โควิด-19 ทำให้คนหันมาสนใจและใส่ใจคนในครอบครัวมากขึ้น ด้วยความห่วงใยนี้จึงทำให้การสื่อสารมีมากขึ้น แต่ก็มีอุปสรรคในการสื่อสาร เช่น การมุ่งแต่จะให้อีกฝ่ายฟังหรือมุ่งแต่จะเสนอความคิดของตนเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ได้ทำให้คนในครอบครัวไม่ค่อยอยากพูดคุยกันมากนัก จึงควรอาศัยช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ให้เป็นโอกาสด้วยการสื่อสารกัน เปิดใจรับฟังกัน เน้นการสื่อสารเชิงบวกทั้งคำพูดและการกระทำจะช่วยทำให้บ้านเป็นบ้านที่ใคร ๆ ก็อยากอยู่อย่างแท้จริง 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,143 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 4-12 เมษายน 2565 พบว่า ในยุคโควิด-19 คนไทยพูดคุยกับคนในครอบครัวเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 63.25 รองลงมาคือ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ร้อยละ 18.37 เวลาที่มีปัญหาคนที่อยากพูดคุยด้วยมากที่สุด คือ สามี/ ภรรยา ร้อยละ 32.31 รองลงมาคือ เพื่อน/แฟน ร้อยละ 21.51 เรื่องที่มักจะพูดคุยคือเรื่องทั่วไป สารทุกข์สุขดิบ ร้อยละ 70.71 ในช่วงโควิด-19 การพูดคุยกับคนในครอบครัวทำให้รู้สึกสบายใจมาก ร้อยละ 47.18 ทำให้เกิดความห่วงใยผูกพันกัน มากขึ้น ร้อยละ 67.28 โดยมองว่าการที่คนในครอบครัวไม่ค่อยได้พูดคุยกันเป็นเพราะไม่มีเวลา เวลาไม่ตรงกัน ร้อยละ 56.36 วิธีการที่จะทำให้คนในครอบครัวพูดคุยสื่อสารเข้าใจกันได้มากขึ้น คือ ต้องเปิดใจ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ร้อยละ 65.21 รองลงมาคือ ทำบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยและสบายใจที่จะพูดคุยกัน ร้อยละ 56.27 ฉบับเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จัดทําในหัวข้อ “การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19” ซึ่ง เป็นช่วงระยะเวลาที่บุคคลมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นเป็นการใช้สถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้กําลังใจกัน อันจะมีส่วนทําให้ครอบครัวมีความเข้มแข็งขึ้นItem Poll Talk Exclusive Ep 10. เยาวชนไทย กับอนาคตการพัฒนาประเทศ(2022) นพพร แพทย์รัตน์เยาวชนไทย กับอนาคตการพัฒนาประเทศ เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเยาวชนไทยกับการพัฒนาประเทศ ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการจัดสนทนากลุ่มเรื่องหัวข้อ "เยาวชนไทยกับอนาคตการพัฒนาประเทศ " วันที่ 12 มกราคม 2566 พบว่า เยาวชนเป็น รากฐานและอนาคตของประเทศ ความท้าทายคือ การพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นผู้นำในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตและครอบครัว ทั้งนี้ครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลสูงสุด ทางด้านความคิด ทัศนคติ ค่านิยมและแนวคิดของเยาวชน ดังนั้น การทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น การส่งต่อความรัก การรับฟังความคิดเห็นและการเป็นแบบอย่างที่ดีจึงเป็นแนวทางการพัฒนาเยาวชนที่สำคัญที่สุด นอกจากนั้น สถาบันการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เยาวชนค้นพบศักยภาพของตนเอง มีทักษะชีวิต ทักษะการทำความดีจนสามารถค้นพบอาชีพที่ดีในอนาคต รวมถึงสร้างกระแสสังคมผ่านโลกออนไลน์เพื่อให้เยาวชนใช้เป็นแบบอย่างและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นในกลุ่มผู้หญ่และกลุ่มเยาวชน จำนวนทั้งสิ้น 1,014 คน ระหว่างวันที่ 22-26 มกราคม 2566 พบว่า "เยาวชนไทยคนรุ่นใหม่" ณ วันนี้ มีความเป็นตัวเองสูง มั่นใจ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ร้อยละ 70.86 จุดเด่นของเยาวชนไทย คือ เก่งทคโนโลยี การใช้สื่อโซเชียลต่าง ๆ ร้อยละ 74.31 สิ่งที่เป็นห่วง/กังวลเกี่ยวกับเยาวชนไทย คือ การใช้สื่อในทางที่ไม่เหมาะสม ใช้ในทางที่ผิด ร้อยละ 71.70 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเยาวชนไทย คือ การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครอบครัว ร้อยละ 76.16 สิ่งที่อยากบอกกับเยาวชนไทย คือ เป็นคนดี ทำในสิ่งที่รักและเป็นสิ่งที่ดี ร้อยละ 47.97 สุดท้ายประชาชนเชื่อมั่นว่าเยาวชนไทย ณ วันนี้จะเป็นอนาคตของชาติ ในการพัฒนาประเทศ ร้อยละ 84.22Item Poll Talk Exclusive Ep 11. มุมมองความรัก ของคนไทย ณ วันนี้(2022) พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์มุมมองความรัก ของคนไทย ณ วันนี้ เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความรัก ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการจัดสนทนากลุ่มเรื่องหัวข้อ All About Love : ครบเครื่องเรื่องความรัก พบว่า ความรักไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดย่อมมี คุณค่าในตัวเองเสมอ ความรักอย่างมีสติจะทำให้ความรักนั้นมีคุณภาพ ความรักควรเป็นความปรารถนาดีที่อยากให้คนที่เรารักมีความสุขโดยไม่คาดหวังสิ่งใด สำหรับวิธีดูแลความรักเริ่มจากความเข้าใจ การยอมรับในตัวตนที่แท้จริง ความเอื้ออาทรความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกันก็จะทำให้ความรักนั้นยั่งยืน และเมื่อความรักไม่เป็นไปตามความคาดหวังในเบื้องต้นควรปลดปล่อยอารมณ์ความเสียใจหรืออารมณ์โกรธนั้นออกมา เช่น การร้องไห้ การเขียนระบายความรู้สึก การออกกำลังกายหรือการมีเพื่อนพูดคุยให้คำปรึกษาระบายความทุกข์ เพื่อผ่อนคลายความอัดอั้นใจ และไม่ควรซ้ำเติมความเศร้าของตนเอง เช่น การไปยังสถานที่แห่งความทรงจำ หรือ การเสพสื่อที่มีเนื้อหากระตุ้นอารมณ์เศร้าให้มีมากยิ่งขึ้น สุดท้ายความรักและการเห็นคุณค่าในตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งทางใจที่จะสามารถผ่านภาวะวิกฤตทางอารมณ์ไปได้ด้วยดี 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่และกลุ่มวัยรุ่น จำนวนทั้งสิ้น 1,095 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ 2566 พบว่า ปัจจุบันคนไทยมีทัศนคติ มุมมองต่อความรักแตกต่างจากสมัยก่อน ร้อยละ 72.48 โดยมองว่าการมี“ความรักแบบคนรัก” เป็นสิ่งจำเป็นมาก ร้อยละ 36.89 ทั้งนี้เคยมีประสบการณ์หรือเคยเจอความสัมพันธ์แบบแย่ ๆ (Toxic relationship) ร้อยละ 67.58 ส่วนการแสดงความรัก ปกติแล้วมักแสดงความรักด้วยการใช้เวลาและทำกิจกรรม ร่วมกัน ร้อยละ 66.64 วิธีการรักษา/ถนอมความรัก คือ เข้าใจกัน รับฟังอย่างมีเหตุผล ร้อยละ 82.77 ในวันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรักที่จะถึงนี้คาดว่าจะใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 1,528.95 บาท/ต่อคน ของขวัญที่อยากได้ในวันวาเลนไทน์อันดับ 1 คือ ดอกไม้ ช่อดอกไม้ ร้อยละ 48.07 รองลงมาคือ รับประทานอาหารด้วยกัน ร้อยละ 31.93 และเงิน ร้อยละ 23.86Item Poll Talk Exclusive Ep 12. พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้(2022) สรศักดิ์ มั่นศิลป์พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้ เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการจัดสนทนากลุ่มเรื่อง "พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้" เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 ผลจากการเสวนา พบว่า ประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องพฤติกรรมประชาธิปตยมากขึ้น เกิดจากการใช้โซเชียลมีเดียต่าง 1 รวมทั้งการจัดให้มีเวที ดีเบตของสื่อมวลชนหลายสำนัก แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัยและอุปสรรคในด้านกฎหมาย จึงควรเพิ่มการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประชาธิปไตย เปิดพื้นที่เสรีภาพทางวิชาการและการแสดงออกโดยผลจากวงเสวนาสอดคล้องกับผลสำรวจของสวนดุสิตโพลที่เห็นว่าควรส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การตรวจสอบการทำงานของผู้แทน ดังนั้น "พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้" จึงแตกต่างจากในอดีตอย่างมาก โดยเฉพาะโขเชียลมีเดียที่มีผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการตัดสินใจของประชาชน 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี "พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้” จำนวนทั้งสิ้น 1,026 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2566 พบว่า ประชาชนคิดว่าตนเองมีพฤติกรรมประชาธิปไตยระดับมาก ร้อยละ 50.78 โดยมองว่าประเทศไทย ณ วันนี้ มีความเป็นประชาธิปไตยระดับปานกลาง ร้อยละ 48.54 ทั้งนี้เห็นว่าพฤติกรรมประชาธิปไตยแสดงออกได้โดยการเคารในสิทธิ หน้าที่และความเห็นของผู้อื่น ร้อยล ะ 92.69 ความสำคัญของพฤติกรรมประชาธิปไตยทำให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความเห็นมุมมอง และยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน ร้อยละ 75.29 อุปสรรคของการมีพฤติกรรมประชาธิปไตย คือ การถูก แทรกแชง ควบคุมอำนาจ ละเมิตสิทธิเสรีภาพ ร้อยละ 70.57 ส่วนการส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยควรเปิดโอกาสให้ ประชาชนมีส่วนร่วม ตรวจสอบการทำงานของนักการเมือง ร้อยละ 72.27Item Poll Talk Exclusive Ep 2. คนไทยกับโลกดิจิทัล(2022) เอื้ออารี จันทรคนไทยกับโลกดิจิทัล เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ คนไทยกับโลกดิจิทัล ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการอภิปรายกลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน พบว่า องค์ประกอบที่สำคัญของการเป็น “คนไทยในโลกดิจิทัล” มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านข้อมูล มุมมองผู้เสพ ต้องเสพอย่างมีสติ กลั่นกรอง เลือกใช้ข้อมูล จัดลำดับความสำคัญ มุมมองของการเป็นผู้สร้าง ต้องสร้างไมโครคอนเทนต์ ข้อมูลสั้น กระชับ เป็นปัจจุบันและตรงเป้าหมาย 2) ด้านเครื่องมือ เทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญทำให้เกิดการพลิก โฉมการทำงาน การเรียนรู้ และการใช้ชีวิต 3) ด้านคน หลัง COVID-19 จะยิ่งมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แม้กระทั่งกลุ่มคนที่เคยปฏิเสธการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาคนจึงต้องจัดระดับตามช่วงวัยและพัฒนาการ ปฐมวัยควรใช้น้อยแต่เน้นเตรียมทักษะชีวิต มัธยมค้นหาและปรับพื้นฐานให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง อุดมศึกษาพัฒนาวิธีคิด พื้นฐานการออกแบบใช้ข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวข้องกับอาชีพ เน้นทักษะและทัศนคติ วัยทำงานเน้นการพัฒนาตนเองตามความสอดคล้องกับงานและความสนใจ รองรับแนวโน้มการทำงานแบบ 1 คน มากกว่า 1 งาน และวัยสูงอายุเน้นใช้ในการสื่อสารและการเข้าถึงสวัสดิการของภาครัฐ 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,051 คน (ทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 13-18 พฤษภาคม 2565 เรื่อง “คนไทยกับโลกดิจิทัล” พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยี ในชีวิตประจำวันในการติดต่อสื่อสาร พูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ โซเชียลมีเดียมากที่สุด ร้อยละ 79.96 รองลงมาคือชำระ เงินแบบดิจิทัล ฝาก ถอน โอน จ่าย ร้อยละ 78.44 เปรียบเทียบก่อนและเมื่อมีโควิด-19 ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมาก ขึ้น ร้อยละ 76.97 โดยมองว่า “โลกดิจิทัล” ไม่ได้สร้างความลำบากและวุ่นวาย ร้อยละ 53.28 ในโลกออนไลน์เคยพบปัญหาการส่งต่อเฟคนิวส์ คลิปหรือข้อมูลความเชื่อผิด ๆ มากที่สุด ร้อยละ 82.40 รองลงมาคือมิจฉาชีพออนไลน์ หลอกให้โอนเงิน ร้อยละ 63.84 วิธีการปรับตัวให้เข้ากับโลกดิจิทัล คือ ต้องมีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ร้อยละ 71.81 สิ่งที่คาดหวังโลกดิจิทัลสำหรับคนไทย คือ ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ระบบไม่ล่ม ไม่ติดขัด ร้อยละ 70.00 รองลงมาคือ คนไทยเข้าถึงโลกดิจิทัลอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ร้อยละ 61.52 ในภาพรวมประชาชนพร้อมแล้วกับการเป็นคนไทยในโลกดิจิทัล ร้อยละ 89.30Item Poll Talk Exclusive Ep 3. คนไทยกับโอกาสจาก Soft Power(2022) พรชณิตว์ แก้วเนตรคนไทยกับโอกาสจาก Soft Power เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ Soft Power ไทย ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) การเสวนากลุ่มย่อย หัวข้อ “คนไทยกับโอกาสจาก Soft Power” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 เก็บข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและมีความเชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและการทูต บุคคลในวงการสื่อ วงการบันเทิง การศึกษา จำนวน 10 คน ผู้ร่วมเสวนามีความเห็นตรงกันว่า Soft Power มีความหมายที่กว้างไกลกว่าคำว่าวัฒนธรรมหรืออาหารไทย แต่เป็นปฏิบัติการที่ช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในการวางแผนและขับเคลื่อน Soft Power อย่างเป็นระบบ มีความจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านนี้โดยเฉพาะขณะที่บุคคลทั่วไปก็สามารถร่วมสร้าง Soft Power ภาคประชาชนได้ เริ่มจากการยอมรับและเห็นคุณค่าของ Soft power ไทย แล้วทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอหรือผู้บอกต่อที่ดี ผ่านการสื่อสารที่ซื่อสัตย์และจริงใจ 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,066 คน ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายน 2565 พบว่า ประชาชนมองว่าการผลักดันนโยบาย Soft Power ของไทยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 78.36 Soft Power ที่ควรส่งเสริม คือ ท่องเที่ยวไทย เทศกาล ประเพณี ไทย ร้อยละ 93.79 รองลงมา คือ อาหารไทย ขนมไทย ร้อยละ 82.58 ทั้งนี้คาดว่า Soft Power น่าจะช่วยขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นได้ร้อยละ 94.56 จุดเด่นของ Soft Power ไทย คือ หลากหลาย โดดเด่น มีเอกลักษณ์ของตนเอง ร้อยละ 68.23 ปัญหาและอุปสรรค คือ รัฐบาลผลักดันไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมในระยะยาว ร้อยละ 86.09 โดยอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญ วางแผนระยะยาว ทำอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 68.14
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »