Poll Talk Exclusive Ep 1. การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
Abstract
. การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เรื่องการสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ผู้เข้าร่วม 10 คน และการสัมภาษณ์จำนวน 30 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง พบว่า ความสำคัญของการสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เน้นการสร้างความเข้าใจกันในครอบครัว โดยในช่วงโควิด-19 การสื่อสารของครอบครัวมีมากขึ้นเนื่องจากต้องอยู่บ้านมากขึ้น และเป็นการพูดคุยเรื่องสุขภาพ การเรียน การทำงาน ฯลฯ ช่วงเวลาส่วนใหญ่ที่พูดคุยกัน คือ ช่วงกินข้าว ไปเที่ยวและทำกิจกรรมร่วมกัน อุปสรรคในการสื่อสาร ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีมากเกินไป ช่องว่างระหว่างวัย ภาษา ความคิดและทัศนคติ แนวทางแก้ปัญหาควรเริ่มจากการเรียนรู้คนในครอบครัว ผลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า โควิด-19 ทำให้คนหันมาสนใจและใส่ใจคนในครอบครัวมากขึ้น ด้วยความห่วงใยนี้จึงทำให้การสื่อสารมีมากขึ้น แต่ก็มีอุปสรรคในการสื่อสาร เช่น การมุ่งแต่จะให้อีกฝ่ายฟังหรือมุ่งแต่จะเสนอความคิดของตนเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ได้ทำให้คนในครอบครัวไม่ค่อยอยากพูดคุยกันมากนัก จึงควรอาศัยช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ให้เป็นโอกาสด้วยการสื่อสารกัน เปิดใจรับฟังกัน เน้นการสื่อสารเชิงบวกทั้งคำพูดและการกระทำจะช่วยทำให้บ้านเป็นบ้านที่ใคร ๆ ก็อยากอยู่อย่างแท้จริง 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,143 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 4-12 เมษายน 2565 พบว่า ในยุคโควิด-19 คนไทยพูดคุยกับคนในครอบครัวเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 63.25 รองลงมาคือ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ร้อยละ 18.37 เวลาที่มีปัญหาคนที่อยากพูดคุยด้วยมากที่สุด คือ สามี/ ภรรยา ร้อยละ 32.31 รองลงมาคือ เพื่อน/แฟน ร้อยละ 21.51 เรื่องที่มักจะพูดคุยคือเรื่องทั่วไป สารทุกข์สุขดิบ ร้อยละ 70.71 ในช่วงโควิด-19 การพูดคุยกับคนในครอบครัวทำให้รู้สึกสบายใจมาก ร้อยละ 47.18 ทำให้เกิดความห่วงใยผูกพันกัน มากขึ้น ร้อยละ 67.28 โดยมองว่าการที่คนในครอบครัวไม่ค่อยได้พูดคุยกันเป็นเพราะไม่มีเวลา เวลาไม่ตรงกัน ร้อยละ 56.36 วิธีการที่จะทำให้คนในครอบครัวพูดคุยสื่อสารเข้าใจกันได้มากขึ้น คือ ต้องเปิดใจ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ร้อยละ 65.21 รองลงมาคือ ทำบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยและสบายใจที่จะพูดคุยกัน ร้อยละ 56.27 ฉบับเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จัดทําในหัวข้อ “การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19” ซึ่ง เป็นช่วงระยะเวลาที่บุคคลมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นเป็นการใช้สถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้กําลังใจกัน อันจะมีส่วนทําให้ครอบครัวมีความเข้มแข็งขึ้น
Description
Citation
View online Resources