School of Tourism and Hospitality Management
Permanent URI for this community
Browse
Browsing School of Tourism and Hospitality Management by Issue Date
Now showing 1 - 20 of 166
Results Per Page
Sort Options
Item Gastronomic Tourism in Ayutthaya, Thailand(Proceedings of the International Conference on Tourism, Transport, and Logistics, 2013-02-02) Ladapha Pullphothong, Chiranut SophaThai gastronomic tourism involves culinary heritage resources basis and theirs amazing tourist destinations which can be generated the squander of the long history of Thai culinary heritage resources. This article addresses this by drawing together knowledge of gastronomy involving with tourism aspect in order to develop a better understanding of the meaning, role, and the importance of gastronomy and culinary heritage in Thailand tourism. Particular attention is paid to the relationship between the forces of localization and the potential for being the gastronomic destination of Ayutthaya. The aim of this paper is to present the gastronomic tourism in Ayutthaya, Thailand. The study was using qualitative method. Data were gathered from documentaries, interviewing, observation and exploring geographic of the tourism area. The result of the culinary aspect discovered that there are the most popular menus of Thai dishes and desserts among those Thai and foreign tourists which included kouy tiew rue, Thai styled rice noodle soup with vegetable and meat: kung-mae-naam-pao, charcoal grilled river prawn, and the dessert is the candy floss wrapped with roti flour.Item การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย “ข้าวไร่กะเหรี่ยง” อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี”(2018-09-28) รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์; ถิรพร แสงพิรุณ; นพเวช บุญมี; วรเวชช์ อ่อนน้อม; ภัทร์อาภรณ์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์; นภาพร จันทร์ฉายการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและวัฒนธรรมข้าวไร่กะเหรี่ยง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวโดยการสร้างกระบวนมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วยข้าวไร่กะเหรี่ยงอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้วิธีการศึกษาเอกสารแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ร่วมด้วยการใช้ทฤษฎีเชิงพื้นที่ (Grounded Theory) การสังเกต แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Meeting) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอโดยการเขียนบรรยาย เชิงพรรณนา (Descriptive Approach) ผลการวิจัยพบว่า ชาวกะเหรี่ยงแห่งหมู่บ้านตะเพินคี่ มีวิถีชีวิตความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับ “ข้าว" สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ในการทำมาหากิน นำมาสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมด้วย ภูมิปัญญาการปลูกข้าวเป็นวัฒนธรรมมข้าวไร่กะเหรี่ยงที่ปลอดภัยปราศจากสารเคมี สำหรับพิธีกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเรียกขวัญข้าว ทำบุญข้าวใหม่ ไหว้พระธาตุจุฬามณี เป็นต้น นำไปสู่การท่องเที่ยวตามปฏิทินกิจกรรมข้าวไร่ 12 เดือน จึงเป็นรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย ข้าวไร่กะเหรี่ยง ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมและกระจายงานแบ่งความรับผิดชอบของชาวกะเหรี่ยง 2) การบริหารจัดการท่องเที่ยว ด้านที่พัก ด้านอาหาร ด้านกิจกรรมท่องเที่ยวด้านการคมนาคมขนส่งรวมถึงการต้อนรับและจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกและ 3) การอนุรักษ์ข้าวแบบดั้งเดิม Abstract This research is concerned with Qualitative Research Methodology with three main objectives as 1) to study the content and the culture of Ka-Reang Rice, Dan Chang District, Suphanburi Province, 2) To develop the tourism activities by creating the participatory approach and 3) To develop a sustainable tourism model by using Ka-Reang Rice, Dan Chang District, Suphanburi Province and use the study method as conceptual documents and Grounded Theory and collect the data by Participant Observation, In-depth Interview, Participation Action Meeting, and Focus Group with associated network partners to verify the information by using Trianglulation Technique and Content Analysis Method and presented by Descriptive Approach The research result indicated that Ka-Reang people from Ta Pheng Ki Village have the way of life, belief and rituals about “Rice” a symbol of abundance of livelihood to create and participate to the wisdom process of rice cultivation which is Ka-Reang culture to cultivate rice with non-chemical and safe. For the important rituals about rice is called as “Kwan Khow” New Marit Making and attend worship at Chulamanee Relics, etc. These two cultures will encourage the tourism to participate according to the 12 months Farm Rice calendar. This strategy can help to develop a sustainable tourism by using these three elements as 1) the participation and job distribution to Ka-Reang people for their responsible, 2) Tourism Management such as accommodation, food, tourism activities and transportation including welcoming reception and selling souvenir products and, 3) Traditional rice conservation.Item Cooperation in health and wellness tourism connectivity between Thailand and Malaysia(International Journal of Tourism Sciences, 2019-05-19) Timothy J.Lee/ Chiranuch Sopha/Chompunuch JittithavornThailand and Malaysia are in a Southeast Asia Region that builds cooperative tourism promotion under the ASEAN Tourism Connectivity framework. The two countries must utilize their unique identities to build differentiation in their sales and promotion schemes but keep their coherence and co-promotion. While Thailand has paid attention to Thai herbs for physical and mind therapy, Malaysia has put its emphasis on the spa industry. Moreover, the two have introduced integration between Phuket and Langkawi to provide effective health and wellness connectivity destinations. Such cooperation will help to boost tourism connectivity within Southeast Asian countries. This paper aims to reach a clear understanding of how each country uses health and wellness tourism to attract tourists both domestically and internationally so that such cooperation and connectivity will help to promote the industry.Item การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2020-09-29) ถิรพร แสงพิรุณ; รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์; อังค์ริสา แสงจำนงค์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชน คลองรางจระเข้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนคลองรางจระเข้ และ 3) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ เป็นงานวิจัยและพัฒนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และเสริมด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การทดลองปฏิบัติการนำเที่ยวร่วมกับชุมชน และการประเมินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อรายการนำเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นชาวบ้านในชุมชน กลุ่มเครือข่าย โฮมสเตย์คลองรางจระเข้ ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเชิงปริมาณในการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาจากภาคเอกชน เจ้าของบริษัทนำเที่ยว มัคคุเทศก์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนคลองรางจระเข้ ประกอบด้วยฐานกิจกรรม 7 ฐาน ได้แก่ ฐานที่ 1 นำชมวัดรางจระเข้ ถวายสังฆทาน และให้อาหารปลาที่วังมัจฉา ฐานที่ 2 การฝึกลวกเส้นทำก๋วยเตี๋ยวเรือ ฐานที่ 3 การล่องเรือชมวิถีชีวิต กิจกรรมพับดอกบัว และฟังประวัติเรือเทพนรสิงห์ที่วัดเกาะ ฐานที่ 4 หัดทอดแห หัดพายเรือ ฐานที่ 5 การสาธิตทำขนมดอกโสน และสาธิตการยำผักแพงพวย ฐานที่ 6 สาธิตการทำไข่เค็มใบเตย และฐานที่ 7 สาธิตการสกัดใบเตยเป็นเครื่องดื่มชาที่ได้จากงานวิจัย สำหรับข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ชุมชนควรบรรยายแหล่งท่องเที่ยวขณะล่องเรือและเตรียมความพร้อมกิจกรรมการท่องเที่ยวให้มากขึ้นItem แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนประเทศไทย(วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2021-12-01) ไพริน เวชธัญญะกุล/ ธัญชนก บุญเจือการศึกษาวิจัยแผนงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยในการศึกษา (1) ค่านิยมและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวบริเวณในเขื่อนประเทศไทย (2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเขื่อนบริเวณในเขื่อนประเทศไทย (3) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนบริเวณในเขื่อนประเทศไทย และนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์มาพัฒนารูปแบบของการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณในเขื่อนประเทศไทยเพื่อหาข้อเสนอแนะการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณรอบเขื่อนประเทศไทย ซึ่งจากผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยทั้ง 3 เรื่องสามารถนำพัฒนารูปแบบของการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนได้ดังนี้ ในการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณในเขื่อนประเทศไทยจะประกอบไปด้วยกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5 กลุ่มพันธมิตรการท่องเที่ยว (GBTCA) ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ (Government) หน่วยงานภาคเอกชน (Business) นักท่องเที่ยว (Tourist) ประชาชนท้องถิ่น (Community) และแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) ซึ่งกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเหล่านี้จะต้องมีการจัดการการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนร่วมกันโดยเริ่มตั้งแต่การวางแผน การร่วมมือและการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพItem การศึกษากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 2022-04-12) ถิรพร แสงพิรุณ/รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์/อังค์ริสา แสงจำนงค์บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชน คลองรางจระเข้ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ เป็นงานวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การทดลองกิจกรรมการท่องเที่ยว การประเมินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ชุมชนมีทุนทางวัฒนธรรมและธรรมชาติเหมาะสมต่อการท่องเที่ยว มีอาหารของท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2 วัน 1 คืนร่วมกับคณะนักวิจัย ในการประเมินกิจกรรมท่องเที่ยวจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ควรปรับปรุงด้านความพร้อมของชุมชน ด้านความสะอาดความเป็นระเบียบของบ้านพักแบบโฮมสเตย์ โดยกิจกรรมท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่ดีมีเอกลักษณ์ท้องถิ่น ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.66 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 66.67 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 53.33 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 40.00 มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 45,001 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 33.33 นักท่องเที่ยวให้ความสนใจการล่องเรือชมวิถีชีวิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.33 นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นด้านความต้องการต่อองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 5 ด้าน คือ การต้อนรับของคนในชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.51) รองลงมา คือ การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืน และสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.07) การเรียนรู้และมีส่วนร่วมในศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.00) และความผูกพันของนักท่องเที่ยวกับเจ้าของบ้านจากกิจกรรมการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.89)Item การประเมินโครงการศิลปะจัดวางร่วมสมัย เพื่อการฟื้นฟูย่านปากคลองตลาด: กรณีศึกษา นิทรรศการ “form of feeling @ flower market”(เจดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่, 2022-09-30) สุพิชชา โตวิวิชญ์; ปาริฉัตร พรหมสวัสดิ์หลังจากย่านปากคลองตลาดได้ถูกจัดระเบียบ ตามนโยบายการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย เมื่อ พ.ศ.2559 ทำให้ “ความเป็นถิ่นที่ (sense of place)” ของย่านถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมด้วยนักออกแบบ HUI Team Design และ Saturate Designs จัดนิทรรศการศิลปะดอกไม้ “Form of feeling @ flower market” ณ ย่านปากคลองตลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้การออกแบบเป็นเครื่องมือในการสร้างภาพจำ และกระตุ้นความเป็นถิ่นที่อย่าง ร่วมสมัยของย่านปากคลองตลาด บทความนี้เป็นการประเมินนิทรรศการจากมุมมองของผู้เข้าชมงานและผู้ค้าในย่านปากคลองตลาด เพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม รวมถึงการประมาณรายได้ที่เกิดขึ้นจากนิทรรศการ และรับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมในอนาคต จากจำนวนผู้เข้าชมนิทรรศการทั้งหมด 4,305 คน ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 2,525 ชุด พบว่า ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 71.57) เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุ 18-34 ปี นอกจากนี้ ร้อยละ 21.82 ของจำนวนผู้ที่ตอบแบบสอบถาม ให้ข้อมูลว่าไม่เคยมาปากคลองตลาดมาก่อน และจากการกำหนดให้ผู้เข้าชมซื้อดอกไม้เป็นบัตรเข้างาน พบว่า ค่าเฉลี่ยของเงินที่ใช้ซื้อดอกไม้เพื่อเข้างาน คือ คนละ 68.59 บาท เมื่อคิดค่าประมาณโดยเทียบสัดส่วนของแบบสอบถามกับจำนวนผู้เข้าชมนิทรรศการ อาจกล่าวได้ว่านิทรรศการทำให้มีรายได้เข้าสู่ปากคลองตลาดประมาณ 295,280 บาท จากผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด นอกจากนี้ บทความยังกล่าวถึงข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมในอนาคต เนื่องจากการกระจายรายได้ที่เกิดขึ้นจากการจัดนิทรรศการนั้นยังไม่ทั่วถึงทั้งย่าน เพราะมีจุดจัดกิจกรรมเพียงจุดเดียว ดังนั้น หากมีการจัดกิจกรรมในอนาคต ควรปรับปรุงให้มีจำนวนจุดสำหรับจัดกิจกรรมเพิ่มเติมและกระจายตัวอยู่อย่างทั่วถึงให้มากขึ้นItem แนวทางการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงวัฒนธรรม และกฎระเบียบทางสังคมในบริบทของอารยธรรมล้านนาให้แก่นักท่องเที่ยวจีน : กรณีศึกษาเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา(วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2022-12-26) รัตน์นรินฑิราก์ นิภาวรรณ; ดุจตะวัน กันไทยราษฎร์Item รทบ. ร่วมเป็นเจ้าภาพและฟัง“เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก”กัณฑ์ที่ 13 กัณฑ์นครกัณฑ์(โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการเมื่อวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ คณบดีโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมเป็นเจ้าภาพ และฟัง “เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก” กัณฑ์ที่ 13 กัณฑ์นครกัณฑ์ แสดงโดย พระราชธรรมวาที วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร ณ หอประชุมรักตะกนิษฐ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่พุทธศักราช 2566 ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2565 และสมทบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์Item แนวทางการจัดนิทรรศการ ฟาร์มสุข ปลูกได้(2023-01-01) ศรัฐ สิมศิริ, รตนนภดล สมิตินันทน์, นรินทร สรวิทย์ศิรกุล, มานะ เอี่ยมบัว และปณิตา เทพสถิตแนวทางการจัดนิทรรศการ ฟาร์มสุข ปลูกได้เป็นการศึกษาเพื่อการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมในภาคกลาง สนับสนุนการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบฟาร์มสเตย์ โดยมีจังหวัดในภาคกลางที่เป็นเมืองรอง ได้แก่ สุโขทัย อุทัยธานี สุพรรณบุรี ลพบุรี และเพชรบูรณ์ โดยการนําเรื่องราวข้อมูลของเกษตรกรรม ฟาร์มสเตย์ วิถีเกษตรกรรมแต่ละท้องถิ่น การดํารงชีวิตในรูปแบบเรียบง่าย และการนําเอาวิถีเกษตรมาเผยแพร่ให้คนรู้จักและเข้าถึงมากขึ้นด้วยกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงโซนให้ความรู้ที่เป็นธรรมชาติ และของดีแต่ละจังหวัดเมืองรองภาคกลางมาไว้ในงานโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเรียนรู้วิถีชีวิตเกษตรกรรมแต่ละท้องถิ่นในภาคกลาง 2) เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 5 จังหวัดเมืองรองภาคกลาง และ 3) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในวิถีชีวิตแบบใหม่ วิธี การ ดําเนินโครงแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเกษตรกรรม ฟาร์มสเตย์ แหล่งท่องเที่ยวในภาคกลาง แนวคิดในการจัดงานออกแบบนิทรรศการและการจัดแสดง ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสถานที่ในการจัดงาน เพื่อทราบขนาดพื้นที่สําหรับสร้างรูปแบบการจัดงานและกิจกรรมที่มีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน ขั้นตอนที่ 3 เขียนแบบภาพ 2 มิติกําหนดพื้นที่ทั้งหมดของงาน สร้างแบบงานเป็นภาพ 3 มิติ และผลิตแบบจําลอง และขั้นตอนที่ 4 ประเมินความคิดเห็นของนิทรรศการและการจัดแสดง เพื่อทราบถึงความคิดเห็นที่มีต่อการออกแบบ ความเป็นไปได้ของงาน ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความพึงพอใจในรูปแบบการจัดงานผลการประเมินพบว่าคะแนนความพึงพอใจในเรื่อง 1) แนวคิดมีความน่าสนใจ 2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม 5 จังหวัดเมืองรองภาคกลางสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมและเศรษฐกิจได้ 3) การจัดนิทรรศการและกิจกรรมน่าสนใจและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 4) การออกแบบ Logoและ Poster ประชาสัมพันธ์ของงาน5) สามารถสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม 6) สามารถถ่ายทอดเรื่องราวสื่อสารได้อย่างครบถ้วน ชัดเจน เข้าใจง่าย และ 7) มีความสวยงามมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดItem THM Open House 2023(โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-01-17) ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดกิจกรรม THM Open House 2023 เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรที่เปิดรับนักศึกษาในระบบ TCAS 66 ภายในงานมีกิจกรรมบูธแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตร ได้แก่ สาขาวิชาสหวิทยาการการท่องเที่ยว สาขาวิชาผู้ประกอบการธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว สาขาวิชาธุรกิจการบิน สาขาวิชาธุรกิจการโรงแรม พร้อมนำครูแนะแนวและนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมงาน กว่า 100 คน หมุนเวียนเยี่ยมชม Excellent Center ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการไม่ว่าจะเป็นด้านการผสมและบริการธุรกิจเครื่องดื่ม Dusit Bistro & Co-working Space ด้านธุรกิจการโรงแรม โรงแรมสวนดุสิต เพลส ด้านธุรกิจการบิน ห้องปฏิบัติการการบินจำลอง (Mock-Up) ด้านการจัดการเรียนในสอนแบบ Hybrid เป็นต้น และได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ คณบดีโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวต้อนรับ ณ โถงด้านหน้าห้องประชุม อาคารรักตะกนิษฐ ชั้น 1 และผ่านระบบออนไลน์ ผ่าน Facebook Live page “โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ ม.สวนดุสิต”Item รทบ. ร่วมเป็นเจ้าภาพและฟัง “เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก”กัณฑ์ที่ 10 กัณฑ์สักกบรรพ(โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-01-20) ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการเมื่อวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ คณบดีโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมเป็นเจ้าภาพ และฟัง “เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก” กัณฑ์ที่ 10 กัณฑ์สักกบรรพ แสดงธรรมโดย พระมหาสมชาย ปภสฺสโร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ณ หอประชุมรักตะกนิษฐ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่พุทธศักราช 2566 ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2565 และสมทบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์Item กิจกรรม Get together Service mind Style THM(โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-01-27) ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ ได้จัดกิจกรรม "Get together " Service mind Style THM ภายใต้รายวิชาจิตวิทยาบริการข้ามวัฒนธรรมซึ่งเป็นรายวิชาที่คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วยคณบดี รองคณบดี และผู้รับผิดชอบหลักสูตร พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ด้านการสร้างจิตบริการอันเป็นคุณลักษณะร่วมที่สำคัญของนักศึกษา มีการออกแบบให้นักศึกษาจากทุกสาขาวิชาได้เรียน และทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและได้รับความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์ผู้สอนจากทุกสาขาวิชา ประกอบด้วย สาขาวิชาธุรกิจการโรงแรม สหวิทยาการการท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน และ ผู้ประกอบการธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ คณบดีโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ เป็นประธานเปิดกิจกรรม ณ ห้อง Activity Space 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิตItem สาขาวิชาธุรกิจการบินต้อนรับนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลรักวิทย์(โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-01-31) ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการเมื่อวันอังคารที่ 31 มกราคม 2566 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบิน โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ นำโดยอาจารย์จิระพงศ์ ป้อมน้อย ประธานหลักสูตรฯ อาจารย์นิพนธ์ ระวียัน ที่ปรึกษาหลักสูตรฯ คุณณฐาพัทธ์ พิชญปฐมสิทธิ์ ผู้ช่วยสอน ร่วมต้อนรับคณะครู และนักเรียนชั้นอนุบาล 3 จากโรงเรียนอนุบาลรักวิทย์ เข้าเยี่ยมชมและทำกิจกรรม เพื่อศึกษาและสืบค้นนอกสถานที่ ซึ่งเป็นรูปแบบ การเรียนการสอนแบบ Project Approach ระยะที่ 2 เรื่อง Luck with Airline เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ทำงานบนเครื่องบิน ณ ห้อง ปฏิบัติการการบินจำลอง Mock-up RoomItem สาขาวิชาธุรกิจการบินต้อนรับผู้บริหารจาก บริษัท พัทยา เอวิเอชั่น จำกัด(โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-01-31) ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการเมื่อวันอังคารที่ 31 มกราคม 2566 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบิน โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ นำโดยอาจารย์จิระพงศ์ ป้อมน้อย ประธานหลักสูตรฯ อาจารย์นิพนธ์ ระวียัน ที่ปรึกษาหลักสูตรฯ ร่วมต้อนรับคณะผู้บริหารจาก บริษัท พัทยา เอวิเอชั่น จำกัด โดยทางหลักสูตรได้พาเข้าเยี่ยมชมศูนย์ฝึกปฏิบัติการอาหารนานาชาติ ในหลักสูตรอบรมการทำอาหารระยะสั้น และห้อง Dusit Bistro & Co-working Space ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตItem Lessons Learned from Community-Based Tourism: An Analysis of a Case Study(FMDB Transactions on Sustainable Management Letter, 2023-02-01) Aunkrisa Sangchumnong; Saowatarn Samanit; Sarat Ritronasak; Jutamas Chaopipattanna; Tipvimon PrasertsriCommunity-based tourism is becoming popular, and the better-improved community and tourism convince many communities. This research focuses on Ban Sam Kha's experience; however, a lack of tourist development and promotion expertise will make them fail quickly. Knowing other communities' experiences will help. This qualitative participatory action research project used planning, acting, observing, and reflecting on the findings with target group action review (AAR) questions. The data gathering methods were conducted with 10 participants using in-depth interviews, 50 villagers in a knowledge exchange, and three rounds of a focus group discussion with 25 participants. From the results, Ban Sam Kha Community is an experience tourism destination with learning from community knowledge based on the creativity of the research process leading to tourism activities and tourist routes that connect the wisdom of various communities and their community ways that have been applied to the successful solving of development problems, which can be defined as “experience tourism and community learning”. This research includes policy recommendations and a model for others to use. Thus, all relevant parties in all sectors should cooperate in policy formation to decide policies and devise directions and strategies for their practical deployment.Item กิจกรรมบูรณาการ “Green Trip_1 day Tour in Bangkok”(โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-02-01) ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการเมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานบริการ (หลักสูตรนานาชาติ) ได้จัดกิจกรรมบูรณาการรายวิชา“Value of Happiness”, CSR in Tourism and Hospitality, Event Managementและ Leadership in Globolization ขอหลักสูตร โดยได้นำนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 ออกไป ทัศนศึกษานอกสถานที่ภายใต้แนวคิด “Green Trip_1 day Tour in Bangkok” ให้นักศึกษาได้ลองนำแนวคิด Social Responsibility มาใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบการท่องเที่ยวที่สามารถแสวงหาคุณค่าของความสุขอย่างง่ายๆใกล้ตัว และรับผิดชอบต่อสังคมในเวลาเดียวกัน โดยเริ่มต้นจากการเดินทางด้วยรถขนส่งสาธารณะ และการเดินเท้า แทนการใช้รถตู้ การเลือกใช้อุปกรณ์ที่ทำจากวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลาสติก เช่น กระเป๋าผ้า และ กระติกน้ำส่วนตัว การเลือกอุดหนุนร้านค้าของชุมชน แทนการซื้ออาหารและเครื่องดื่มจาก บริษัทยักษ์ใหญ่ และนักศึกษายังมีโอกาสใช้เวลาร่วมกันกับอาจารย์และเพื่อนนักศึกษา ในหลักสูตรเพื่อสำรวจศักยภาพของสถานที่ในการจัดงานอีเวนท์ ภายใต้แนวคิดเพื่อสังคม ภายในกรุงเทพมหานคร ได้แก่สวนสาธารณะใจกลางกรุงสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) การเที่ยวชมและถ่ายรูปตามจุด check-in ในสถานีรถไฟฟ้า MRT สถานีสนามไชย และเที่ยวชมอุโมงค์ทางเดินใต้ดินเปิดใหม่บริเวณหน้าวัดพระแก้ว ตามการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร และร่วมกันสักการะศาลหลักเมืองItem ธุรกิจการโรงแรม จัดการบรรยายหัวข้อ มาตรฐาน Global Healthcare Accreditation (GHA) WellHotel(โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-02-04) ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการโรงแรม ได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานธุรกิจที่พักเชิงสุขภาพระดับประเทศ นายแพทย์สมพร คำผง กรรมการบริหาร GHA Asia Pacific ในการบรรยายหัวข้อ มาตรฐาน Global Healthcare Accreditation (GHA) WellHotel ภายใต้หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรธุรกิจที่พักเพื่อรองรับการบริการเชิงสุขภาพ ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาค การผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ณ ห้องลิขิต 1 โรงแรมสวนดุสิตเพลสItem ธุรกิจการโรงแรม จัดการบรรยายหัวข้อ การออกแบบบูติคโฮเต็ล เพื่อรองรับการเป็น Wellness Hotel(โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-02-05) ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการโรงแรม ได้รับเกียรติจากคุณวรพันธ์ คล้ามไพบูลย์ ผู้ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นกูรูด้านบูติคโฮเต็ลคนเดียวของประเทศไทยที่มีบทบาทในการเผยแพร่แนวความคิดในการทำธุรกิจที่เน้นความสร้างสรรค์และความยั่งยืนกับชุมชน สมญานาม "Boutique King" รวมทั้งเขียนหนังสือเกี่ยวกับการทำบูติคโฮเต็ล และเป็นผู้ก่อตั้ง Application สำหรับบริหารจัดการโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่ชื่อว่า Homemade Stay มาบรรยายหัวข้อ การออกแบบบูติคโฮเต็ลเพื่อรองรับการเป็น Wellness HotelItem ธุรกิจการโรงแรม จัดการบรรยายหัวข้อ การลงทุนธุรกิจที่พักขนาดเล็กเพื่อรองรับการเป็น Wellness Hotel(โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-02-05) ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการโรงแรม ได้รับเกียรติจากคุณจิตติพันธ์ ศรีกสิกรณ์ Founder "Kid Truek Trong" Hospitality Consultant, Managing Director of Prince Theatre Heritage Stay และ Founder member of Lub D Hostel บรรยายหัวข้อ การลงทุนธุรกิจที่พักขนาดเล็กเพื่อรองรับการเป็น Wellness Hotel ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยณ ห้องลิขิต 1 โรงแรมสวนดุสิตเพลส