Big Talk
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Big Talk by Author "ศิโรจน์ ผลพันธิน"
Now showing 1 - 6 of 6
Results Per Page
Sort Options
Item SDU DIRECTIONS: ลมหายใจของคนสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2566) ศิโรจน์ ผลพันธิน"Breathe. Let Go. And Remind Yourself That This Very Moment Is The Only One You Know You Have For Sure.” 1 การหายใจ (Breathing) เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายหรือยาก อย่างที่คิด ในขณะที่การหายใจเป็นเรื่องง่าย แต่ทว่าการหายใจอย่างถูกต้องตามหลักวิธีนั้นกลับ เป็นเรื่องยากและซับซ้อน นอกจากนี้การหายใจยังเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่สามารถเรียนรู้และ ใช้ประโยชน์จากการฝึกฝนที่ถูกต้อง เมื่อมนุษย์หายใจช้า ๆ และหายใจลึก ๆ อวัยวะภายในร่างกาย จะได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ หัวใจจะเต้นช้าลง และความดันโลหิตจะคงที่ มนุษย์จะรู้สึก สงบ ผ่อนคลาย และมีความเครียดน้อยลงในทันที แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น มนุษย์จะมีสมาธิที่ เฉียบคมขึ้นและมีความชัดเจนในจิตใจมากขึ้น สามารถกระตุ้นสมองและปรับปรุงการทํางานของ ร่างกายให้สมดุล เมื่อการหายใจอย่างถูกต้องมาผนวกกับลมหายใจ (Breath) ที่ลึกซึ้งจากสติ สมาธิ และปัญญา การหายใจต่อไป (Keep Breathing) จะช่วยพัฒนาผู้บริหารให้มีความเป็นผู้นําที่สุขุม มีสมาธิ พร้อมที่จะเรียนรู้และปรับตัวอยู่เสมอ มีความรู้สึกที่จะต่อสู้กับการอยู่รอด เพื่อทําให้เกิด การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนเป็นนิรันดร์Item จิบกาแฟ: กับเรื่องเล่าจากอธิการบดี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-11-22) ศิโรจน์ ผลพันธินการพูดถึงนโยบายกับแนวคิดเชิงวิชาการในการบริหาร มหาวิทยาลัยให้กับผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเข้าใจถึงทิศทาง ที่กําหนดไว้เป็นสิ่งที่ยากที่จะไม่ทําให้เกิดความเครียดของมุมมอง ทางความคิด ต้องขอขอบคุณท่านประธานที่ปรึกษาอธิการบดี (รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์) ที่ให้ความคิดเห็นเอาไว้ว่า ในเมื่อสวนดุสิต มีร้านกาแฟเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ในการทํางานร่วมกันแล้ว ทําไมอธิการบดีไม่ใช้เวลาจิบกาแฟและเล่าเรื่องแนวคิดใหม่ ๆ ให้กับบุคลากรได้รับรู้ มีทีมงานที่สรุปข้อมูลจัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้องได้ จะทําให้เนื้อหาที่คุยกันมีความสนุกมากกว่าจึงเป็นที่มาของ “จิบกาแฟกับเรื่องเล่าจากอธิการบดี” โดยมีการกําหนดหัวข้อให้เล่า รวมทั้งมีเงินบริจาคส่วนหนึ่งเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาด้วย ใช้เวลาเล่าประมาณหนึ่งชั่วโมง การเล่านี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในการทําความเข้าใจแนวคิดและเป้าหมายของการกําหนดนโยบายชัดเจนขึ้น สิ่งใดก็ตามที่คนเราได้คุยกันก็จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกันมากขึ้น ทําให้การบริหารงานประสบความสําเร็จได้Item ทำไม? "สวนดุสิต" ต้อง "คิดต่าง"(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน"... สวนดุสิตมีวิธีคิดที่ไม่เหมือนคนอื่น ในการสร้างงาน จากความเชี่ยวชาญและภูมิปัญญาของตนเอง พัฒนาเป็นนวัตกรรม นําไปสู่การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ จากนั้นจึงเผยแพร่สู่ชุมชน ..." รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัย ได้ดําเนินการพูดคุยเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต Chapter Chat #3 ในหัวข้อ “ทําไม ? สวนดุสิตต้องคิดต่าง” กับวิทยากรพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารสํานักงานมหาวิทยาลัยItem วันพรุ่งนี้ยังต้องมี "สวนดุสิต"(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน“สิ่งที่ค้ําจุนพวกเราทุกคนอยู่คือองค์กร” มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ในการเติบโตขึ้นมาพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนพลังความสามารถในช่วงเวลา ของพวกเราให้เป็นพลังแห่งการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ หากพวกเราทุกคนมีหน้าตา เสียง และภูมิหลังที่ เหมือนกัน ทุกคนจะทําสิ่งเดิม ๆ ต่อไป และไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่ทุกคนมองไม่เห็น หากวันพรุ่งนี้ ยังต้องมีสวนดุสิต สวนดุสิตต้องเป็นนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงบนรากฐานที่เข้ม แข็ง ทุกคนจะต้องรับฟังและพิจารณาแนวคิดและมุมมองใหม่ ๆ ต้องเติมเต็มความเข้าใจให้ชัดเจน ประสบการณ์ มุมมอง การบริหาร และรูปแบบความเป็นผู้นําของรองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เสริมสร้างแนวคิดและพลังการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงให้กับ คุณภาพทางวิชาการที่หรูหรา ประณีตใส่ใจอย่างไม่ต้องสงสัย และนําไปสู่นโยบายและแนวปฏิบัติ ทีชัดเจน รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัย สวนดุสิต ได้ดําเนินการพูดคุยเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต Chapter Chat #4 ในหัวข้อ “วันพรุ่งนี้” ยังต้องมี “สวนดุสิต” กับวิทยากรพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารสํานักงานมหาวิทยาลัยItem สวนดุสิตกับธุรกิจวิชาการ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2566) ศิโรจน์ ผลพันธินผู้นําต้องมีวิธีการคิดและวิธีการทํางานอันชาญฉลาด ที่เรียกว่า “Cunning” ถึงแม้ว่าใน ภาษาไทยคํานี้มีหมายความว่า “เจ้าเล่ห์” แต่ Cunning สําหรับผู้นําแล้ว คือ ผู้มีกลอุบาย พลิกแพลง เปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากแบบปรกติธรรมดา รวมถึงความสามารถในการได้มาซึ่งสิ่งที่ ต้องการโดยใช้พลัง นอกจากนี้ผู้นํายังต้องมี “Astute” คือ ความฉลาดหลักแหลม ความรู้ที่ ปราดเปรื่อง และความรวดเร็วในสิ่งที่ต้องทําในสถานการณ์หนึ่ง ๆ การทํางานอันชาญฉลาด ยังรวมถึง “Tactics” คือ กลยุทธ์ที่มีรายละเอียดในการดําเนินงาน และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามสถานการณ์ และเป็นกลยุทธ์เชิงรุกในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ไม่ใช่การแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้น” เฉกเช่น กระบวนการพัฒนามหาวิทยาลัยสวนดุสิตกับธุรกิจวิชาการที่ส่งผลต่อ การอยู่รอดอย่างมั่นคง และนําไปสู่คําว่า “Beyond Survival” เหนือความอยู่รอด รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัย สวนดุสิต ดําเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต Chapter Chat #๑ ในหัวข้อ “สวนดุสิต กับ ธุรกิจวิชาการ” กับวิทยากรพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมชั้น ๕ อาคารสํานักงานมหาวิทยาลัยItem หัวอกคนเป็น "อธิการบดี"(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-10-18) ศิโรจน์ ผลพันธินหนังสือ “หัวอกคนเป็นอธิการบดี” ฉบับนี้เป็นการสรุปสาระสำคัญจากกิจกรรม “จิบกาแฟนัดพิเศษ...กับท่านอธิการบดี” โดยมีสาระเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นอธิการบดีด้วยการฝึกฝน เตรียมใจ (ฝึกใจ) เรียนรู้งาน การให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลิกภาพ การให้ความสำคัญกับเวลา ความรอบรู้ อำนาจและบารมี รวมไปถึงการดูแลตัวเอง และประเด็นที่กังวล เช่น ความคิดเชิงแย้ง ความไม่เท่าเทียมกันของความคิด การไม่ลงมือทำงาน เป็นต้น