Power of SDU Talk
Permanent URI for this community
Browse
Browsing Power of SDU Talk by Author "ศิโรจน์ ผลพันธิน"
Now showing 1 - 12 of 12
Results Per Page
Sort Options
Item Poll Talk by Suan Dusit Poll 1(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินฉบับนี้ได้มีความคิดเห็นเพิ่มเติมในสาระของข้อมูลจากนักวิชาการภายนอก เพื่อให้ได้สาระเพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะเป็นความคิดเห็นคล้อยตามกัน หรืออีกมุมมองหนึ่งก็ได้ ทำให้ผู้ได้รับข้อมูลได้แนวคิดที่หลากหลายใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้มากขึ้น การพัฒนานี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอPoll ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น โดย Poll Talk ฉบับนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นและการวิพากษ์ของนักวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ เด็กไทยในสายตาประชาชน,ดัชนีครูไทยในยุคโควิด, ความสุขในยุคโควิด-19, คนไทยกับวัคซีนโควิด-19 , คนไทยคิดอย่างไรกับการเปิด "บ่อนพนัน" , แรงงานเถื่อนกับโควิด-19 , ความคิดเห็นของประชาชนกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ, มาตรการเยียวยาโควิด-19 ระลอกใหม่ของรัฐบาล, จุดกึ่งกลางระหว่างการชุมนุมกับรัฐบาล, ครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 , ตกงาน ปัญหาใหญ่! ของคนไทย ณ วันนี้, ประชาชนคิดอย่างไรต่อกรณีแรงงานข้ามชาติอพยพเข้าประเทศไทยItem Poll Talk by Suan Dusit Poll 2(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินการปรับปรุงในการให้ความคิดเห็นเชิงวิชาการ ของนักวิชาการในการเจาะประเด็นเชิงลึกจากผลการ สำรวจของ Suan Dusit Poll ทำให้มีมุมมองทางวิชาการ ที่นอกเหนือไปจากตัวเลขที่ดีขึ้นประกอบกับการวิพากษ์ ผล Poll โดยนักวิชาการภายนอกเพิ่มเติม ทำให้มีมุมมอง ที่หลากหลายมากขึ้น สำหรับการนำไปใช้เชิงวิชาการ เป็นการพัฒนาที่ดีของ Poll Talk ฉบับนี้ โดย Poll Talk ฉบับนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นและการวิพากษ์ของนักวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การกระตุ้นเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) ในยุคโควิด-19, สงกรานต์ในยุคโควิด-19, วันหยุดของคนไทย, โควิด-19 ระลอก 3, อาหารไทยยุคโควิด-19, คนไทยกับการเอาชนะโควิด-19, พฤติกรรมของคนไทยกับการทำงานที่บ้าน (Work From Home) การฉีดวัคชีนโควิด-19, สภาพจิตใจของคนไทยในยุคโควิด-19, ข้อมูลข่าวสารในยุคโควิด-19, ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19, หัวอกครู ผู้ปกครอง นักเรียนกับการเรียนออนไลน์, เปิดประเทศใน 120 วันItem Poll Talk by Suan Dusit Poll 2563(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินPoll Talk by Suan Dusit Poll 2563 ฉบับนี้ เป็นฉบับแรกก่อนที่จะมีฉบับที่ 1 (Poll Talk 1) โดยโพลการนำเสนอผลสำรวจจากความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อเรื่องหนึ่งเรื่องใด (Poll) ในปัจจุบันนี้ คงจะไม่ใช่การนำเสนอข้อมูลเชิงตัวเลขสถิติอย่างเดียว น่าจะมีการวิเคราะห์เพิ่มเติม โดยนักวิชาการด้านนั้นๆ โดยตรง เพื่อเพิ่มองค์ความรู้จากการสำรวจให้กับผู้ใช้ข้อมูลด้วย นั่นเป็นที่มาของแนวทางการทำ Suan Dusit Poll (Talk) Poll Talk by Suan Dusit Poll 2563 ฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ครูอนุบาล ครูพี่เลี้ยง/ครูผู้ดูแลเด็ก ในสายตาประชาชน, มาช่วยแก้เสียงบ่นของคนไทย, ความเอื้ออาทร ของคนไทย ณ วันนี้, ความคิดเห็นของประชาชนต่อการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ, อยู่อย่างไร? ให้มีความสุขในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง, ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้ง อบจ.ครั้งแรกในรอบ 6 ปี, ความคิดเห็นของคนไทยที่มีต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สิ่งที่คนไทยอยากเรียนรู้ในปี 2020, อาหารการกินของคนไทยในปี 2020, คนไทยกับการท่องเที่ยวส่งท้ายปี 2020, การดูแลสุขภาพของคนไทยในปี 2020, สิ่งที่ประชาชนได้รับจากการเลือกตั้ง อบจ. ปี 2563, ที่สุดแห่งปี 2563Item Poll Talk by Suan Dusit Poll 3(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินPoll Talk 3 ฉบับที่ 3 นี้ได้มีการปรับปรุงเพิ่มขึ้นโดยมีการเพิ่มเติมบทความที่เกี่ยวพันกับสาระสำคัญของ ผลการสำรวจของ Suan Dusit Poll นอกเหนือไปจาก บทวิพากษ์ เพื่อเพิ่มสาระเชิงวิชาการอันจะเป็นประโยชน์ ต่อการใช้ข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจของ Poll ทำให้เกิด คุณค่าและเป็นประโยชน์ในการนำผลไปใช้ได้ พัฒนาการ ในลักษณะนี้จะยังคงมีต่อไปเรื่อยๆ โดย Poll Talk ฉบับนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นและการวิพากษ์ของนักวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ทำอย่างไรจึงจะชนะโควิด-19, บทเรียนจากเหตุระเบิดโรงงาน กิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ, คนไทยในยุควิกฤติโควิด-19, ข่าวสารในช่วงวิกฤติ โควิด-19, การแสดงความคิดเห็นของประชาชนในยามวิกฤติโควิด-19, กู้วิกฤติท่องเที่ยวไทย, คนไทยกับตัวเลข/สถิติเกี่ยวกับโควิด-19, การใช้จ่ายของคนไทยในยุคโควิด-19, ความต้องการของคนไทยในยุคโควิด-19, พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนไทยในยุคโควิด-19, คนไทยได้อะไร?จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ, สมุนไพรไทยในสายตาคนไทย, ภัยสังคมในยุคโควิด-19Item Poll Talk by Suan Dusit Poll 4(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินPoll Talk 4 ฉบับนี้ เป็นฉบับประจำไตรมาสที่ 4 ของ ปี พ.ศ. 2564 ซึ่งได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาสาระเชิงวิชาการ ประกอบผล Poll จากนักวิชาการต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้สะท้อน แนวคิดจำกผลสำรวจได้หลากหลายมุมมองมากขึ้น บทควำม มีคุณค่ำขึ้น หวังว่ำคงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน โดย Poll Talk ฉบับนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นและการวิพากษ์ของนักวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การฉีดวัคซีนให้กับเยาวชนอายุ 12-17 ปี, คนไทยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปี 2564, เปิดประเทศ 1 พ.ย.2564, มาตรการช่วงเหลือของรัฐช่วงโควิด-19, ความเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองไทย, ขนมไทยกับคนไทย, คนไทยกับเทศกาลลอยกระทง, การเลี้ยงดูเด็กในยุคโควิด-19, ภาวะหนี้สินของคนไทย, การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต, คนไทยกับการท่องเที่ยวส่งท้ายปี 2021 การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในสายตาคนกรุงเทพฯ, คนไทยกับปีใหม่ยุคโควิด-19, ที่สุดแห่งปี 2564Item Poll Talk by Suan Dusit Poll 5(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) ศิโรจน์ ผลพันธินPoll Talk 5 ฉบับนี้ เป็นฉบับประจำปี 2565 มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นและข่าวผลการสำรวจความคิดเห็นในสื่อที่เป็นภาษาอังฤษ โดยนำเสนอเนื้อหาสาระในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ เด็กไทย 2022 ในสายตาประชาชน, ดัชนีครูไทยในยุคโควิด-19, การใช้ชีวิตของคนไทยในยุคข้าวของแพง, ควันหลงเลือกตั้งซ่อมกับการเมืองไทย, หัวอกผู้ปกครองในยุคโควิด-19, คนไทยกับพิษเศรษฐกิจ, มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ภัยสังคม ณ วันนี้, คนไทยคิดอย่างไรกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน, การเมืองไทยวุ่นวายจริงหรือ, ความหนักใจของคนไทย ณ วันนี้, คนไทยกับหวย, การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในสายตาคนกรุงเทพฯ, คนไทยกับกัญชาเสรี, ประชาชนคิดอย่างไรกับการจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ, คนคิดอย่างไรกับโรคฝีดาษลิง, ของแพงกับคนจน, คนไทยกับเทศกาลลอยกระทง, ที่สุดแห่งปี 2565Item SDU DIRECTIONS: ลมหายใจของคนสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2566) ศิโรจน์ ผลพันธิน"Breathe. Let Go. And Remind Yourself That This Very Moment Is The Only One You Know You Have For Sure.” 1 การหายใจ (Breathing) เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายหรือยาก อย่างที่คิด ในขณะที่การหายใจเป็นเรื่องง่าย แต่ทว่าการหายใจอย่างถูกต้องตามหลักวิธีนั้นกลับ เป็นเรื่องยากและซับซ้อน นอกจากนี้การหายใจยังเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่สามารถเรียนรู้และ ใช้ประโยชน์จากการฝึกฝนที่ถูกต้อง เมื่อมนุษย์หายใจช้า ๆ และหายใจลึก ๆ อวัยวะภายในร่างกาย จะได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ หัวใจจะเต้นช้าลง และความดันโลหิตจะคงที่ มนุษย์จะรู้สึก สงบ ผ่อนคลาย และมีความเครียดน้อยลงในทันที แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น มนุษย์จะมีสมาธิที่ เฉียบคมขึ้นและมีความชัดเจนในจิตใจมากขึ้น สามารถกระตุ้นสมองและปรับปรุงการทํางานของ ร่างกายให้สมดุล เมื่อการหายใจอย่างถูกต้องมาผนวกกับลมหายใจ (Breath) ที่ลึกซึ้งจากสติ สมาธิ และปัญญา การหายใจต่อไป (Keep Breathing) จะช่วยพัฒนาผู้บริหารให้มีความเป็นผู้นําที่สุขุม มีสมาธิ พร้อมที่จะเรียนรู้และปรับตัวอยู่เสมอ มีความรู้สึกที่จะต่อสู้กับการอยู่รอด เพื่อทําให้เกิด การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนเป็นนิรันดร์Item จิบกาแฟ: กับเรื่องเล่าจากอธิการบดี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-11-22) ศิโรจน์ ผลพันธินการพูดถึงนโยบายกับแนวคิดเชิงวิชาการในการบริหาร มหาวิทยาลัยให้กับผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเข้าใจถึงทิศทาง ที่กําหนดไว้เป็นสิ่งที่ยากที่จะไม่ทําให้เกิดความเครียดของมุมมอง ทางความคิด ต้องขอขอบคุณท่านประธานที่ปรึกษาอธิการบดี (รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์) ที่ให้ความคิดเห็นเอาไว้ว่า ในเมื่อสวนดุสิต มีร้านกาแฟเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ในการทํางานร่วมกันแล้ว ทําไมอธิการบดีไม่ใช้เวลาจิบกาแฟและเล่าเรื่องแนวคิดใหม่ ๆ ให้กับบุคลากรได้รับรู้ มีทีมงานที่สรุปข้อมูลจัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้องได้ จะทําให้เนื้อหาที่คุยกันมีความสนุกมากกว่าจึงเป็นที่มาของ “จิบกาแฟกับเรื่องเล่าจากอธิการบดี” โดยมีการกําหนดหัวข้อให้เล่า รวมทั้งมีเงินบริจาคส่วนหนึ่งเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาด้วย ใช้เวลาเล่าประมาณหนึ่งชั่วโมง การเล่านี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในการทําความเข้าใจแนวคิดและเป้าหมายของการกําหนดนโยบายชัดเจนขึ้น สิ่งใดก็ตามที่คนเราได้คุยกันก็จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกันมากขึ้น ทําให้การบริหารงานประสบความสําเร็จได้Item ทำไม? "สวนดุสิต" ต้อง "คิดต่าง"(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน"... สวนดุสิตมีวิธีคิดที่ไม่เหมือนคนอื่น ในการสร้างงาน จากความเชี่ยวชาญและภูมิปัญญาของตนเอง พัฒนาเป็นนวัตกรรม นําไปสู่การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ จากนั้นจึงเผยแพร่สู่ชุมชน ..." รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัย ได้ดําเนินการพูดคุยเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต Chapter Chat #3 ในหัวข้อ “ทําไม ? สวนดุสิตต้องคิดต่าง” กับวิทยากรพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารสํานักงานมหาวิทยาลัยItem วันพรุ่งนี้ยังต้องมี "สวนดุสิต"(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ศิโรจน์ ผลพันธิน“สิ่งที่ค้ําจุนพวกเราทุกคนอยู่คือองค์กร” มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ในการเติบโตขึ้นมาพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนพลังความสามารถในช่วงเวลา ของพวกเราให้เป็นพลังแห่งการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ หากพวกเราทุกคนมีหน้าตา เสียง และภูมิหลังที่ เหมือนกัน ทุกคนจะทําสิ่งเดิม ๆ ต่อไป และไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่ทุกคนมองไม่เห็น หากวันพรุ่งนี้ ยังต้องมีสวนดุสิต สวนดุสิตต้องเป็นนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงบนรากฐานที่เข้ม แข็ง ทุกคนจะต้องรับฟังและพิจารณาแนวคิดและมุมมองใหม่ ๆ ต้องเติมเต็มความเข้าใจให้ชัดเจน ประสบการณ์ มุมมอง การบริหาร และรูปแบบความเป็นผู้นําของรองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เสริมสร้างแนวคิดและพลังการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงให้กับ คุณภาพทางวิชาการที่หรูหรา ประณีตใส่ใจอย่างไม่ต้องสงสัย และนําไปสู่นโยบายและแนวปฏิบัติ ทีชัดเจน รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัย สวนดุสิต ได้ดําเนินการพูดคุยเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต Chapter Chat #4 ในหัวข้อ “วันพรุ่งนี้” ยังต้องมี “สวนดุสิต” กับวิทยากรพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารสํานักงานมหาวิทยาลัยItem สวนดุสิตกับธุรกิจวิชาการ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2566) ศิโรจน์ ผลพันธินผู้นําต้องมีวิธีการคิดและวิธีการทํางานอันชาญฉลาด ที่เรียกว่า “Cunning” ถึงแม้ว่าใน ภาษาไทยคํานี้มีหมายความว่า “เจ้าเล่ห์” แต่ Cunning สําหรับผู้นําแล้ว คือ ผู้มีกลอุบาย พลิกแพลง เปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากแบบปรกติธรรมดา รวมถึงความสามารถในการได้มาซึ่งสิ่งที่ ต้องการโดยใช้พลัง นอกจากนี้ผู้นํายังต้องมี “Astute” คือ ความฉลาดหลักแหลม ความรู้ที่ ปราดเปรื่อง และความรวดเร็วในสิ่งที่ต้องทําในสถานการณ์หนึ่ง ๆ การทํางานอันชาญฉลาด ยังรวมถึง “Tactics” คือ กลยุทธ์ที่มีรายละเอียดในการดําเนินงาน และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามสถานการณ์ และเป็นกลยุทธ์เชิงรุกในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ไม่ใช่การแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้น” เฉกเช่น กระบวนการพัฒนามหาวิทยาลัยสวนดุสิตกับธุรกิจวิชาการที่ส่งผลต่อ การอยู่รอดอย่างมั่นคง และนําไปสู่คําว่า “Beyond Survival” เหนือความอยู่รอด รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัย สวนดุสิต ดําเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต Chapter Chat #๑ ในหัวข้อ “สวนดุสิต กับ ธุรกิจวิชาการ” กับวิทยากรพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมชั้น ๕ อาคารสํานักงานมหาวิทยาลัยItem หัวอกคนเป็น "อธิการบดี"(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-10-18) ศิโรจน์ ผลพันธินหนังสือ “หัวอกคนเป็นอธิการบดี” ฉบับนี้เป็นการสรุปสาระสำคัญจากกิจกรรม “จิบกาแฟนัดพิเศษ...กับท่านอธิการบดี” โดยมีสาระเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นอธิการบดีด้วยการฝึกฝน เตรียมใจ (ฝึกใจ) เรียนรู้งาน การให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลิกภาพ การให้ความสำคัญกับเวลา ความรอบรู้ อำนาจและบารมี รวมไปถึงการดูแลตัวเอง และประเด็นที่กังวล เช่น ความคิดเชิงแย้ง ความไม่เท่าเทียมกันของความคิด การไม่ลงมือทำงาน เป็นต้น