SDU Dissertaions Thesis and Research
Permanent URI for this community
Browse
Browsing SDU Dissertaions Thesis and Research by Author "กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
Item การสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) ปรียนันท์ ประยูรศักดิ์; ศุภวรรณ อภิชาติไตรสรณ์; จินตนา ตันสุวรรณนนท์; กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ; วิภาวี วลีพิทักษ์เดช; สุทิตา จุลกนิษฐ์; รัตนา วงศ์รัศมีเดือน; ภูชิตต์ ภูริปาณิก; สุภาภรณ์ สมไพบูลย์; สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์; รรินทร วสุนันต์; สุรพงษ์ นิ่มเกิดผล; นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร; สุริษา ประสิทธิ์แสงอารีย์; รติญา นนทิราช; สวรรยา พิณเนียม; อัญชนา ลักษณ์วิรามสิริ; นุชฤดี รุ่ยใหม่; วิสาขา เทียมลม; มนสินี สุขมาก; ศานสันต์ รักแต่งาม; ชุษณะ จันทร์อ่อนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่ (1) ศึกษาองค์ประกอบและสภาพปัจจุบันของ การสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ (2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของ การสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ (3) ศึกษาการรับรู้ ความคาดหวัง และ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ (4) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานคือวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ ทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาครัฐจำนวน 5 คน และภาคเอกชนจำนวน 3 คน รวมถึงการใช้แบบสังเกตในการลงพื้นที่โดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ในขณะที่วิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชน ผู้ประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรี และนักท่องเที่ยว โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวนทั้งสิ้น 460 คน ได้รับการตอบกลับ 423 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการสื่อสารแบรนด์อยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งองค์ประกอบของการสื่อสารแบรนด์จังหวัดประกอบด้วย (1) ผู้ผลิตและผู้ส่งสาร คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการฐานะผู้กำหนดนโยบาย และคณะกรรมการขับเคลื่อนแบรนด์น้องเหน่อในฐานะผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (2) สาร คือ การกำหนดอัตลักษณ์และบทบาทของการมาสคอต (3) การสื่อสารการตลาด คือ การใช้สื่อและกิจกรรมในการสื่อสารแบรนด์จังหวัด (4) ผู้รับสาร คือ ประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการที่มีการรับรู้ มีส่วนร่วมเกี่ยวกับสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารแบรนด์ ได้แก่ การออกแบบโครงสร้างของมาสคอต ความชัดเจนในการกำหนดอัตลักษณ์ของมาสคอตน้องเหน่อ และการใช้สื่อและการวางแผนการสื่อสารการตลาดด้านการรับรู้ส่วนใหญ่มีการรับรู้วัตถุประสงค์ในการสร้างมาสคอตน้องเหน่อ ส่วนความพึงพอใจ และความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อการสื่อสาร แบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อพบว่า ความพึงพอใจ และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อประกอบด้วย 11 ประเด็น ได้แก่ (1) การปรับโครงสร้างของ มาสคอต (2) การกำหนดแนวทางการสื่อสารและการนำเสนอภาพลักษณ์ (3) ความชัดเจนใน การสะท้อนอัตลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี (4) บทบาทของมาสคอตในฐานะเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (5) การปรากฏตัวของน้องเหน่อ (6) การใช้สื่อในการสื่อสารมาสคอต (7) การสื่อสารด้วยการเล่าเรื่อง (8) การสร้างแผนการสื่อสารเชิงรุก (9) เกณฑ์ในการขออนุญาตใช้ตราน้องเหน่อ (10) การกำหนดองค์ประกอบมาตรฐานของตราน้องเหน่อ และ (11) มาตรฐานการผลิตหุ่นน้องเหน่อให้สอดคล้องกับมาสคอตน้องเหน่อ