SDU Dissertaions Thesis and Research
Permanent URI for this community
Browse
Browsing SDU Dissertaions Thesis and Research by Author "กนกกานต์ วีระกุล"
Now showing 1 - 4 of 4
Results Per Page
Sort Options
Item การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภค และอาหารว่าง ตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย และประถมศึกษา : รายงานกิจกรรมจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) กนกกานต์ วีระกุล; จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา; ธนพัฒน์ แสงรุ่งเรือง; ฐิตา ฟูเผ่า; นราธิป ปุณเกษมกิจกรรมจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภค และอาหารว่างตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย และประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย และเด็กประถมศึกษา สู่กลุ่มเป้าหมาย โดยมีการประชาสัมพันธ์รับสมัครบุคคลทั่วไปที่สนใจการประกอบอาหารตามหลักโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และดำเนินการจัดกิจกรรมในรูปแบบอบรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยภาคทฤษฎี เรื่องสุขาภิบาลและความปลอดภัยในการผลิตอาหารเด็ก และมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน และภาคปฏิบัติ โดยมีการชมการสาธิตพร้อมฝึกปฏิบัติอาหารกลางวันและอาหารว่าง จำนวน 5 รายการ ได้แก่ แกงส้มปลากระพง แซลมอนเกรวี่ แกงกะหรี่ไก่สไตล์ญี่ปุ่น กระเพาะปลา และถั่ว 5 สีต้มน้ำตาล ผลจากการจัดกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วยครูด้านโภชนาการของโรงเรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษา ผู้ประกอบอาหาร ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และนักเรียนมัธยม จำนวน 80 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในด้านการฝึกอบรมในทุกด้านอยู่ระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านวิทยากรทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ได้คะแนนอยู่ที่ 5.00 0.00 ส่วนในด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ และมีภาพรวมความพึงพอใจการร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.94 0.24)Item การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภค และอาหารว่างตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย และประถมศึกษา(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) กนกกานต์ วีระกุล; จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา; ธนพัฒน์ แสงรุ่งเรือง; ฐิตา ฟูเผ่า; นราธิป ปุณเกษมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภค และอาหารว่าง ตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย และประถมศึกษา ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพมาตรฐานการจัดการอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภค และถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคให้กลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัย พบว่า เอกลักษณ์ของการจัดบริการอาหารกลางวัน และอาหารว่างสวนดุสิตที่เหมาะสมตามวัย เป็นการกำหนดรายการอาหารและสัดส่วนอาหารตามความต้องการพลังงานและสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละช่วงวัย และมีการให้ความสำคัญในการจัดเตรียมสำหรับนักเรียนที่มีการแพ้อาหาร และส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารที่หลากหลาย งานวิจัยนี้ได้ทำการคัดเลือกตำรับอาหารของสวนดุสิต เพื่อพัฒนารูปแบบเป็นอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภค จำนวน 24 ตำรับ แบ่งเป็น อาหารคาวจำนวน 14 ตำรับ และอาหารว่างจำนวน 10 ตำรับ โดยมีการปรับเปลี่ยนส่วนประกอบ ขนาดของวัตถุดิบ รวมถึงวิธีการปรุงประกอบ เพื่อให้เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยวิธีสเตอริไรเซชั่น ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้ผ่านการตรวจคุณภาพด้านต่าง ๆ โดยผลิตภัณฑ์มีลักษณะปกติ ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค หลังจากนั้นได้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อจัดทำ ฐานข้อมูลแนวทางการบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพมาตรฐานการจัดการอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภค และอาหารว่าง สำหรับเด็กปฐมวัย และประถมศึกษา และดำเนินการรอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ตำรับอาหาร และอาหารว่าง สู่กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูด้านโภชนาการของโรงเรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษา ผู้ประกอบอาหาร และบุคคลทั่วไปที่สนใจในด้านการประกอบอาหารตามหลักโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน จำนวน 80 คน โดยได้รับคะแนนความพึงพอใจในระดับมากที่สุดItem การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษา(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) กนกกานต์ วีระกุล; ศวรรญา ปั่นดลสุข; ณัชฌา พันธุ์วงษ์; นฤมล นันทรักษ์; ณัชนก นุกิจการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษามีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาประวัติ ความเป็นมา และรูปแบบหรือเอกลักษณ์ของรายการอาหารกลางวันสวนดุสิตที่เหมาะสมตามวัยของเด็กประถมศึกษา 2) พัฒนาตำรับอาหารกลางวันสำหรับเด็กประถมศึกษา ตามมาตรฐานข้อกำหนดการได้รับปริมาณอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กช่วงประถมศึกษา จำนวน 10 ตำรับ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารกลางวันสำเร็จรูปพร้อมบริโภคสำหรับเด็กประถมศึกษา ตามมาตรฐานข้อกำหนดการได้รับปริมาณอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กประถมศึกษา จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า แนวทางการดำเนินงานด้านอาหารและโภชนาการของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จะมีการจัดอาหารกลางวันโดยจะมีการเน้นในส่วนของคุณค่าทางโภชนาการที่เด็กประถมศึกษาได้รับเป็นประเด็นสำคัญโดยกำหนดให้อาหารกลางวัน ร้อยละ 30 ของสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน ซึ่งมีคุณค่าสารอาหารเป้าหมาย และสัดส่วนการกระจายของพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันและกำหนดอาหารโดยใช้หลักการกำหนดอาหารตามกลุ่มอาหาร และระบุปริมาณอาหารด้วยหน่วยบริโภคแบบครัวเรือน แบบธงโภชนาการ ทั้งนี้การออกแบบเมนูอาหารกลางวันของละออพลัสจะมีการออกแบบรายการอาหารออกเป็น 5 ชุดตามวัน โดยอาหารที่จัดจะเน้นความหลากหลาย เหมาะสม และส่งเสริมประสบการณ์การบริโภคอาหาร วัฒนธรรมอาหารไทยและวัฒนธรรมอาหารนานาชาติ การฝึกนิสัยการบริโภคให้กับเด็กประถมศึกษาในด้านสุขอนามัย มารยาทในการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นอีกด้วย และผลการคัดเลือกเมนูจากเมนูอาหารกลางวันต้นแบบของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ พบว่า เมนูที่ผ่านการคัดเลือกและมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษาทั้งหมด 10 เมนู ได้แก่ 1. ไก่ผัดซอสมะเขือเทศ 2. แซลมอนซอสเกรวี่ 3. ต้มจับฉ่ายใส่ไก่ 4. พะโล้ไข่ไก่และปีกไก่บน 5. แกงกะหรี่ญี่ปุ่นไก่ 6. แกงส้มผักรวมปลากะพง 7. ข้าวกะเพราไก่คลุก 8. ต้มฟักไก่ 9. ต้มยำไก่ใส่เห็ด 10. กะเพราทูน่า โดยทั้ง 10 เมนูต้องมีการนำมาทำการพัฒนาให้มีลักษณะปรากฏ และรสชาติหลังการผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแบบสเตอริไลซ์แล้วยังคงคุณค่างทางโภชนาการและด้านทางประสาทสัมผัส จากการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ-เคมี และจุลินทรีย์ ของอาหารเด็กประถมศึกษาบรรจุรีทอร์ทเพาซ์ พบว่าผลเป็นเกณฑ์คุณภาพตามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ.2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ทั้งนี้พบว่าทั้ง 10 ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษาItem การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษา : รายงานกิจกรรมจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024) กนกกานต์ วีระกุล; ศวรรญา ปั่นดลสุข; ณัชฌา พันธุ์วงษ์; นฤมล นันทรักษ์; ณัชนก นุกิจกิจกรรมจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษา สู่กลุ่มเป้าหมาย โดยมีการประชาสัมพันธ์รับสมัครบุคคลทั่วไปที่สนใจการประกอบอาหารตามหลักโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และดำเนินการจัดกิจกรรมในรูปแบบอบรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยภาคทฤษฎี เรื่องสุขาภิบาลและความปลอดภัยในการผลิตอาหารเด็ก และมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน และภาคปฏิบัติ โดยมีการชมการสาธิตพร้อมฝึกปฏิบัติอาหารกลางวันและอาหารว่าง จำนวน 5 รายการ ได้แก่ แกงส้มปลากระพง แซลมอนเกรวี่ แกงกะหรี่ไก่สไตล์ญี่ปุ่น กระเพาะปลา และถั่ว 5 สีต้มน้ำตาล ผลจากการจัดกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วยครูด้านโภชนาการของโรงเรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษา ผู้ประกอบอาหาร ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และนักเรียนมัธยม จำนวน 35 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในด้านการฝึกอบรมในทุกด้านอยู่ระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านวิทยากรทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ได้คะแนนอยู่ที่ 5.00 0.00 ส่วนในด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ และมีภาพรวมความพึงพอใจการร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.94 0.24)