FON-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing FON-Article by Author "ประภัสสร เสงี่ยมกุลถาวร"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ตามแบบชีวิตวิถีใหม่ของนักศึกษา สังกัดสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร(วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 2023-09) ดุษฎี ดวงมณี; ประภัสสร เสงี่ยมกุลถาวรบทนำ: การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงของการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาต้องปรับตัวในการศึกษาตามแบบชีวิตวิถีใหม่ โดยพึงให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ที่ถูกต้องและเหมาะสม วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระดับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ตามแบบชีวิตวิถีใหม่ของนักศึกษาสังกัดสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา แบบหาความสัมพันธ์ (descriptive correlation research) เก็บข้อมูลในนักศึกษาสังกัดสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร จำ นวน 222 คน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2566 โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา .89 และ .92 และมีความความเชื่อมั่น .92 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย: พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 อยู่ในระดับสูง และ 2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ในระดับสูง (r = .601, p <.05) สรุปผล: ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่วยให้นักศึกษามีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 โดยความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ข้อเสนอแนะ: ควรศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบหลังการระบาด COVID-19 ในสถานศึกษา เพื่อการจัดบริการสุขภาพ สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพItem ผลของเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชากระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ Effects of Cooperative Gamification with Peer-assisted Learning on Learning Achievement Outcomes in the Nursing Process and Health Assessment Course(วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 2023) ศรัทธา ประกอบชัย; ชญานิศ ชอบอรุณสิทธ; เรณู ขวัญยืน; ประภัสสร เสงี่ยมกุลถาวรการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการเรียนการสอนผ่านเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับ พื่อนช่วยเพื่อนกับการเรียนการสอนตามปกติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากระบวนการพยาบาลและการประเมิน กวะสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 จำนวน 60 คน ทำการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการหมุนวงล้ออิเลกทรอนิกส์ ได้กลุ่มทดดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย คือ กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อน เครื่องมือที่ไช้ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการตรวจร่างกาย ศีรษะจรดเท้า (Head to Toe) ข้อสอบปรนัยการประเมินภาวะสุขภาพจากการตรวจร่างกายทุกระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเกมมิฟิเคชั่นและเพื่อนช่วยเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนสอบก่อน-หลังในกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติ Paired t-test และ เปรียบเทียบ คะแนนสอบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมของการจัดการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อนอยู่ระดับมากที่สุด (Mean = 4.60, S.D. = 0.56) ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มทดลอง มีระดับคะแนนการประเมินภาวะสุขภาพมากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และกลุ่มทดลองมีระดับคะแนนสอบตรวจร่างกายศีรษะ จรดเท้า มากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างของระหว่างกลุ่มของคะแนนสอบตรวจร่างกายศีรษะจรดเท้า จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การเรียนการสอนผ่านกิจกรรมเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อนช่วยพัฒนาความรู้ด้านการประเมินภาวะสุขภาพ และทักษะการตรวจร่างกายสำหรับนักศึกษาพยาบาลในกลุ่มทดลองและเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ