ผลของเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชากระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ Effects of Cooperative Gamification with Peer-assisted Learning on Learning Achievement Outcomes in the Nursing Process and Health Assessment Course
Loading...
Date
2023
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข
Journal Title
ผลของเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชากระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ Effects of Cooperative Gamification with Peer-assisted Learning on Learning Achievement Outcomes in the Nursing Process and Health Assessment Course
Recommended by
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการเรียนการสอนผ่านเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับ
พื่อนช่วยเพื่อนกับการเรียนการสอนตามปกติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากระบวนการพยาบาลและการประเมิน
กวะสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 จำนวน 60 คน ทำการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการหมุนวงล้ออิเลกทรอนิกส์ ได้กลุ่มทดดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย คือ กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อน เครื่องมือที่ไช้ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการตรวจร่างกาย ศีรษะจรดเท้า (Head to Toe) ข้อสอบปรนัยการประเมินภาวะสุขภาพจากการตรวจร่างกายทุกระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเกมมิฟิเคชั่นและเพื่อนช่วยเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนสอบก่อน-หลังในกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติ Paired t-test และ เปรียบเทียบ คะแนนสอบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมของการจัดการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อนอยู่ระดับมากที่สุด (Mean = 4.60, S.D. = 0.56) ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มทดลอง มีระดับคะแนนการประเมินภาวะสุขภาพมากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และกลุ่มทดลองมีระดับคะแนนสอบตรวจร่างกายศีรษะ จรดเท้า มากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างของระหว่างกลุ่มของคะแนนสอบตรวจร่างกายศีรษะจรดเท้า จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การเรียนการสอนผ่านกิจกรรมเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อนช่วยพัฒนาความรู้ด้านการประเมินภาวะสุขภาพ และทักษะการตรวจร่างกายสำหรับนักศึกษาพยาบาลในกลุ่มทดลองและเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ