การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของละมุดออร์แกนิคเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว

Default Image
Date
2022
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของละมุดออร์แกนิคเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสกัดใบละมุดอินทรีย์ ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ แยกองค์ประกอบทางเคมี ได้ผลดังนี้ วิธีการสกัดที่ดีที่สุด คือ วิธีการหมัก (Maceration) ใช้ร้อยละ 95 เอทานอลเป็นตัวทำละลาย ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 1 วัน ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสกัดใบละมุดออร์แกนิคสดด้วยวิธี DPPH และ ABTS พบว่าสารสกัดใบละมุดสดที่สกัดด้วยวิธีการหมัก ด้วยร้อยละ 95 เอทานอล ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 1 วัน ค่า IC50 ดีที่สุด ที่ 0.038± 0.003 และค่า TEAC (mg TE/g crude extract) ที่ 31.188± 0.003 และผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS มีค่า IC50 ดีที่สุดที่ 0.051± 0.003 และค่า TEAC (mg TE/g crude extract) ที่ 47.98± 0.003 ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่าสารสกัดใบละมุดสด สกัดด้วยร้อยละ 95 เอทานอล ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสนาน 1 วัน มีการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสดีที่สุด ที่ร้อยละ 99.92 และเมื่อเทียบกับสารมาตรฐานกรดโคจิก (Kojic acid) มีค่า 4.78 มิลลิกรัมสมมูลกรดโคจิกต่อกรัมสารสกัด ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อีลาสเตส มีค่า IC50 เท่ากับ 0.25±0.08 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร คิดเป็น 0.32 เท่าของ epigallocatechin gallate (EGCG) สารสกัดใบละมุดอินทรีย์ที่ความเข้มข้น 0.0001-1.00 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสท์ของผิวหนังมนุษย์ โดยมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตอยู่ระหว่างร้อยละ 85.36-104.27 แยกองค์ประกอบทางเคมีตามฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้องค์ประกอบทางเคมีคือ Myricitrin
Description
Citation
View online resources
Collections