การจัดการปริมาณและคุณภาพน้ำในโรงเรือนที่เหมาะสมร่วมกับการจัดช่วงคลื่นแสงต่าง ๆ เพื่อยกระดับผลผลิตพืชโรงเรือนในพื้นที่ภาคกลางในภาวะภัยแล้ง

Date
2022
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การจัดการปริมาณและคุณภาพน้ำในโรงเรือนที่เหมาะสมร่วมกับการจัดช่วงคลื่นแสงต่าง ๆ เพื่อยกระดับผลผลิตพืชโรงเรือนในพื้นที่ภาคกลางในภาวะภัยแล้ง
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาคลื่นแสงเสริมที่เหมาะสมกับการเติบโต และผลผลิตมะเขือเทศในโรงเรือน 2. วิเคราะห์ต้นทุน-รายได้ของการใช้เทคโนโลยีคลื่นแสงเสริมที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศในโรงเรือน 3. เพื่อส่งเสริมการปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนโดยใช้คลื่นแสง เสริมที่เหมาะสมไปยังวิสาหกิจชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่เป้าหมาย และ 4. ลดปริมาณการใช้น้ำในโรงเรือน ลงไปร้อยละ 20 โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในส่วนที่ 1 คือ การพัฒนาสารปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเข้าระบบน้ำหยดในโรงเรือนออกแบบการทดลองแบบ CRD จำนวน 8 ตำรับการทดลอง เพื่อทดสอบผลต่อคุณภาพน้ำอันได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิของน้ำ ค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลาย (BOD) ค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO) ค่าฟอสฟอรัส ค่าการน้ำ ไฟฟ้า ค่าไนเตรท และค่าไนไตร์ทในน้ำตัวอย่าง ทำการทดสอบ 3 ซ้ำ ส่วนที่ 2 การพัฒนาแสงเสริมในการปลูกมะเขือเทศในโรงเรือน โดยออกแบบการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ; RCBD Split Plot โดยแบ่ง Main Plot เป็นชนิดของการให้แสง และ Subplot เป็นแบบความเข้มแสงที่ระดับ 150 และ 200 mmol-1s-2 โดยแต่ละแถว Main Plot ได้แก่ A B C D และควบคุม จะมีการปลูกมะเขือเทศจำนวนแถวละ 40 ต้น โดยแบ่งเป็นความเข้มแสงที่ระดับ 150 mmol-1s-2 จำนวน 20 ต้น และ 200 mmol-1s-2 และจำนวน 20 ต้น ส่วนแถวควบคุมจะมี 40 ต้น โดยให้แสงเสริมในช่วง 18.00 -22.00 น. ทุกวัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนการเติบโตและผลผลิต ต้นทุน-รายได้ และร้อยละของการประหยัดน้ำในการปลูกเปรียบเทียบกับผลผลิต โดยเครื่องมือที่อุปกรณ์ในการศึกษาในการวิเคราะห์โครงสร้างและคุณลักษณะของสารปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการวิเคราะห์คลื่นและความเข้มแสงเสริม รวมถึงการวัดขนาดน้ำหนัก และคุณภาพของผลผลิตมะเขือเทศ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยมีดังนี้ ในส่วนที่ 1 การพัฒนาสารปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเข้าระบบน้ำหยด พบว่า สารที่พัฒนาขึ้นในทุกตำรับการทดลองสามารถบำบัดคุณภาพน้ำได้ดี โดยในส่วนตำรับ การทดลองที่ 4 (ซีโอไลต์ชนิดผง 1 กรัม + ไทเทเนียม 0.01 กรัม + ไคโตซานผง 0.03 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) สามารถทำให้ค่าเฉลี่ยต่ำ ได้แก่ BOD เท่ากับ 3.37 mg/l ค่าฟอสฟอรัส เท่ากับ 0.001 mg/l และค่าการนำไฟฟ้า เท่ากับ 1,224.33 ms/cm ขณะที่ตำรับการทดลองที่ 7 ให้ค่าเฉลี่ย DO เฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 8.4 mg/l และให้ค่าไนไตร์ทเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 0.0029 ml/g ค่าไนเตรทเท่ากับ 0.66 mg/g ส่วนตำรับการทดลองที่ 8 ให้ค่าความเป็นกรด-ด่างเป็นกรดที่สุดอยู่ระหว่าง 7.28 และอุณหภูมิ ในน้ำให้ค่าใกล้เคียงกันในทุกตำรับการทดลอง ส่วนที่ 2 ในการพัฒนาคลื่นแสงเสริมต่อมะเขือเทศในโรงเรือนแบบกึ่งปิด (ปิดในช่วง 11.00-14.00 น.) ที่เหมาะสมในช่วงฤดูแล้ง โดยการให้คลื่นแสงเสริมระหว่างสีแดงและสีน้ำเงิน อัตรา 1:1 ที่ความเข้มแสง 200 mmol-1s-2 ร่วมกับแสงสีขาวที่ 3000 K ซึ่งทำให้มะเขือเทศในโรงเรือนตอบสนองในรูปแบบการเติบโตทั้งจำนวนข้อที่เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 80.4 ข้อ เส้นรอบลำต้นที่ค่าเฉลี่ย 5.06 cm น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของส่วนรากและลำต้น เท่ากับ 1,105.3 g ผลผลิตทั้งในส่วนน้ำหนักผลเฉลี่ยสูงสุดต่อต้นเท่ากับ 1228.5 g และความหวานเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 12 องศาบริกซ์ รวมถึงสามารถประหยัดน้ำจากการเพาะปลูก ถึงร้อยละ 33.33 เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองควบคุม