การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยบูรณาการ เทคนิค Phonics และการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อส่งเสริม ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ นครนายก

Date
2022
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยบูรณาการ เทคนิค Phonics และการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อส่งเสริม ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ นครนายก
Authors
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดย บูรณาการ เทคนิค Phonics และการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออก เสียงภาษาอังกฤษและการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษฯ ของนักศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาผลความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษฯ ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อความสนุกสนาน (English for Fun) รหัสวิชา 1072319 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2564 ห้อง NA จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยบูรณาการ เทคนิค Phonics และการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ด้วยการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบประเมินทักษะการอ่านออกเสียงตามหลักโฟ นิกส์ (Phonics) 3) แบบประเมินการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) แบบประเมิน ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษฯ มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ โดยเฉลี่ย 0.98 ซึ่งมีความสอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนด และค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.07/86.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) คะแนนทักษะการ อ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินการสร้างเกม Phonics สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ โดภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46