“หลากหลายพื้นที่การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย”
Loading...
Date
2023-01-19
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Article
Publisher
สยามรัฐ
Journal Title
“หลากหลายพื้นที่การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย”
Authors
Recommended by
Abstract
จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 73 ฉบับที่ 24987 วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566 กล่าวว่า "พื้นที่การเรียนรู้" (Learning Space) หรือ "สภาพแวดล้อมการเรียนรู้" (Learning Setting) หมายถึงสถานที่ทั้งในร่ม กลางแจ้ง จริง หรือเสมือน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครอบคลุมมากกว่าคำว่า "ห้องเรียน" การออกแบบพื้นที่ต้องสัมพันธ์กับรูปแบบการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้เชิงรุก เชิงรับ การเรียนรู้ด้วยร่างกาย หรือการเรียนรู้อาชีพ การจัดพื้นที่สามารถจำแนกตามมิติอายุ ระดับการศึกษา ศาสตร์การสอน จุดเน้นทางวิชา ปรัชญาองค์กร และที่ตั้ง เช่น การเรียนทางไกลหรือออนไลน์
มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต (Penn State) เป็นตัวอย่างของการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เช่น The Dreamery ห้องเรียนเชิงทดลอง ASI 110, Blue Box, C-PAD Teaching Lab, IMEX Lab, Maker Commons, Media Commons และ Shared Experiences Lab พื้นที่เหล่านี้สนับสนุนเทคโนโลยี การออกแบบยืดหยุ่น และการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ในโลกปัจจุบัน พื้นที่การเรียนรู้ไม่จำกัดแค่ห้องเรียนอีกต่อไป ทุกพื้นที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ ทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ ซึ่งไร้ขอบเขตด้านเวลาและสถานที่