การเปรียบเทียบความแตกต่างของศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยประชาการศาสตร์

Loading...
Thumbnail Image
Date
2025-01-01
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
วารสาร พุทธนวัตกรรมปริทรรศน์
Journal Title
การเปรียบเทียบความแตกต่างของศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยประชาการศาสตร์
Recommended by
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี และ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรในจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต นักศึกษา ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรและแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 2) ด้านการกำหนดแผนบริหารจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ 3) ด้านการจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว 4) ด้านการจัดการของเสียในแหล่งท่องเที่ยว 5) ด้านการยอมรับและความร่วมมือกับชุมชนโดยรอบ 6) ด้านการสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว 7) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8) ด้านการบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคและทรัพยากรการท่องเที่ยว 9) ด้านการส่งเสริมการขาย เพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ 10) ด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของแหล่งท่องเที่ยว โดยภาพรวมทุกด้านค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x = 3.94, S.D.= 0.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากอันดับที่ 1 คือ ด้านการจัดการของเสียในแหล่งท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (x = 4.04, S.D.= 0.79) รองลงมา คือ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม (x = 4.03, S.D.= 0.81) และ ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรและแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (x = 3.97, S.D.= 0.80) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการส่งเสริมการขาย เพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (x = 3.86, S.D.= 0.83) นอกจากนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดสุพรรณบุรีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ยกเว้น ตัวแปรด้านรายได้ ที่ไม่พบความแตกต่าง
Description
Citation
View online resources
Collections