แนวทางการยกระดับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
Loading...
Date
2023-12-26
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Journal Title
แนวทางการยกระดับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
Recommended by
Abstract
นับตั้งแต่มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ในปี พ.ศ.2557 ยังไม่มีการศึกษาในเชิงระบบเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ศพอส. บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและนโยบายการจัดตั้ง ศพอส. วิเคราะห์บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ค้นหาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงาน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อยกระดับการดำเนินงานของ ศพอส. โดยใช้การวิจัยแบบผสม เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับศพอส. และใช้แบบสอบถามเพื่อทราบความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อการดำเนินงานของ ศพอส.
ผลการวิจัยพบว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้มี ศพอส. ในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์รวมในการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในพื้นที่ซึ่งผู้สูงอายุมภูมิลำเนาอยู่โดยกรมกิจการผู้สูงอายุมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ประสานงานและกำกับดูแลการจัดตั้งและการดำเนินงานของ ศพอส. กับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ทั้งนี้ ปัญหาและอุปสรรคสำคัญของ ศพอส. ประกอบด้วย ปัญหาด้านภาพลักษณ์และความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องของผู้สูงอายุเกี่ยวกับที่มาของ ศพอส, การขาดการให้ความสำคัญกับคุณสมบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและศักยภาพของบุคลากรที่จะมาขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศพอส. ปัญหาและ ข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณและบุคลากรสำหรับการขับเคลื่อน ศพอส. การขาดการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริงของ ศพอส. และไม่สามารถใช้เป็น ข้อมูลสำหรับการพัฒนา ศพอส. และปัญหาการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและความยั่งยืนของการดำเนินงานของ ศพอส. ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับการดำเนินงานของ ศพอส. ประกอบด้วย 1) กรมกิจการผู้สูงอายุต้องให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อน ศพอส. 2) กรมกิจการผู้สูงอายุต้องให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ ศพอส. และใช้ผลการประเมินดังกล่าวในการ พัฒนามาตรฐาน ศพอส. 3) กรมกิจการผู้สูงอายุจะต้องจัดเตรียมบุคลากรและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างเป็นระบบ เพื่อรับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับ ศพอส. ในอนาคต และ 4) กรมกิจการผู้สูงอายุต้อง พิจารณายกระดับการดำเนินงานของ ศพอส. ไปสู่การเป็นศูนย์ให้บริการผู้สูงอายุแบบเบ็ดเสร็จคำสำคัญ