การศึกษากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Loading...
Date
2022-04-12
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Article
Publisher
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ
Journal Title
การศึกษากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Recommended by
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชน คลองรางจระเข้ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ เป็นงานวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การทดลองกิจกรรมการท่องเที่ยว การประเมินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ชุมชนมีทุนทางวัฒนธรรมและธรรมชาติเหมาะสมต่อการท่องเที่ยว มีอาหารของท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2 วัน 1 คืนร่วมกับคณะนักวิจัย ในการประเมินกิจกรรมท่องเที่ยวจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ควรปรับปรุงด้านความพร้อมของชุมชน ด้านความสะอาดความเป็นระเบียบของบ้านพักแบบโฮมสเตย์ โดยกิจกรรมท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่ดีมีเอกลักษณ์ท้องถิ่น ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.66 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 66.67 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 53.33 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 40.00 มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 45,001 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 33.33 นักท่องเที่ยวให้ความสนใจการล่องเรือชมวิถีชีวิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.33 นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นด้านความต้องการต่อองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 5 ด้าน คือ การต้อนรับของคนในชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.51) รองลงมา คือ การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืน และสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.07) การเรียนรู้และมีส่วนร่วมในศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.00) และความผูกพันของนักท่องเที่ยวกับเจ้าของบ้านจากกิจกรรมการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.89)
Description
Citation
"กรมการท่องเที่ยว. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (CREATIVE TOURISM DESTINATION MANAGEMENT). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563 จาก oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER051/GENERAL/ DATA0000/ 00000042.PDF. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). คลองรางจระเข้โฮมสเตย์. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2563 จาก thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/2568. คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2559). เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2554). การสุ่มตัวอย่าง (Sampling). สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2554 จาก http://www.watpon.com/Elearning/res22.htm. ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1989). ไทยตำบลดอทคอม. (2563). ข้อมูลตำบลรางจรเข้. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2563 จาก thaitambon.com/tambon/141209. นาฬิกอัติภัค แสงสนิท. (2562). นิยาม “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.dasta.or.th/creativetourism/th/creativetourism/531.html. ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ สวนผึ้ง. วารสารศิลปากร, 9(1), 250-268. ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2563). การนำเสนอทิศทาง การส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท. ปี 2563. สืบค้น เมื่อ 9 เมษายน 2563 จาก tatreviewmagazine.com/article/tourism-direction-2020/. สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2559). CBT การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563. จาก thaihealthcommunity.org. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2558). องค์ความรู้ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: คู่มือและแนวทางปฏิบัติ. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2563). แผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2563, จาก onwr.go.th/? page id=4172. ห้าวหาญ ทวีเส้ง. (2555). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษา ศูนย์กลางเศรษฐกิจนก เทศบาลนครยะลา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2556). การท่องเที่ยวเชิง- สร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2560 จาก http://www.dasta.or.th/creativetourism/ article/155-notice3/.html. Jongwon Lee, Heeseok Lee. (2015). Deriving Strategic Priority of Ploicies for Creative Tourism Industry in Korea using AHP. Procedia Computer Science Elsevier B.V., 479- 484. Retrieved Mar 1, 2020, from www.sciencedirect.com. Wu Chen-Yi, Lee Chen-Jai and Jian Titan Bo-Xiu. (2017). Authenticity: Creative Tourism and Large Variation of Community. Athens Journal of Tourism, (4)2, 125-146. Retrieved Mar 14, 2020, from https://doi.org/10.30958/ajt.4.2.3."