การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมชะลอวัย (ครีมลดเลือนริ้วรอย) ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากข้าว กข.43
dc.contributor.author | ขวัญจิต อิสระสุข | |
dc.contributor.author | อรพิณ โกมุติบาล | |
dc.contributor.author | อมรรัตน์ สีสุกอง | |
dc.contributor.author | ปิยนุช พรมภมร | |
dc.contributor.author | จิตรวดี ตั้งหิรัญรัตน์ | |
dc.contributor.author | กัลยาภรณ์ จันตรี | |
dc.contributor.author | ศราวุธ จินดารัตน์ | |
dc.contributor.author | สุชาดา โทผล | |
dc.date.accessioned | 2025-03-18T06:37:22Z | |
dc.date.available | 2025-03-18T06:37:22Z | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ประสิทธิภาพ การป้องกันแสงแดดความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์ไฟโบรบลาสต์ของสารสกัดจากข้าวกข.43 และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจิเนสเพื่อใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชะลอวัย สกัดผงข้าวขาวและข้าวกล้อง กข.43 ที่แห้งแล้วด้วยตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95, 70, 50, 30 และ 0 (น้ำปราศจากอิออนร้อยละ 100) ด้วยวิธีการหมัก ผลการวิเคราะห์หาปริมาณสารฟีนอลิกรวม ฟลาโวนอยด์รวม และสารแกมมาออริซานอล พบว่า สารสกัดข้าวกล้อง กข.43 มีปริมาณสารต้านออกซิเดชันโดยรวมสูงกว่าสารสกัดข้าวขาว กข.43 การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์ไฟโบรบลาสต์ พบว่า สารสกัดข้าวขาวและข้าวกล้อง กข.43 ที่ความเข้มข้น 5-100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารสกัดด้วยวิธี DPPH, FRAP, HRSA และ SRSA assays พบว่า สารสกัดข้าวกล้อง กข.43 มีประสิทธิภาพการยับยั้ง อนุมูลอิสระ DPPH และค่า FRAP สูงกว่าสารสกัดข้าวขาว กข.43 ส่วนการยับยั้งอนูมูลอิสระ Hydroxyl และ Superoxide พบว่า สารสกัดข้าวขาว กข.43 มีประสิทธิภาพดีกว่าสารสกัดข้าวกล้อง กข.43 การวัด ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดของสารสกัด พบว่า สารสกัดข้าวกล้อง กข.43 ที่สกัดด้วยน้ำปราศจาก อิออนมีค่าประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดสูงกว่าสารสกัดส่วนอื่น การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของ สารสกัดในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดข้าวกล้องที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 และสารสกัดข้าวขาวที่สกัดด้วยน้ำปราศจากอิออนมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยสามารถยับยั้งการสลายตัวของอัลบูมินได้ และสารสกัดข้าวกล้อง กข.43 ที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 30 มีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งเอนไซม์คอลลาจิเนสได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 130.93±13.99 มิลลิกรัมต่อมิลลิลตร ตั้งตำรับครีมและเซรั่มที่มีส่วนผสมของสารสกัดข้าวกล้อง กข.43 (ความเข้มข้นร้อยละ 0.27 โดยน้ำหนัก) พบว่า ตำรับที่เตรียมได้เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกชั้น มีสีเหลืองอ่อน และ ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ต้องห้ามทางเครื่องสำอาง ตำรับครีมมีค่าความหนืดและค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 5330.00±562.30 เซนติพอยส์ และ 6.77±0.34 ตามลำดับ ส่วนตำรับเซรั่มมีค่าความหนืดและค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 403.10±7.20 เซนติพอยส์ และ 6.73±0.05 ตามลำดับ ตำรับครีมและตำรับเซรั่มที่มีส่วนผสมของสารสกัดข้าว กข.43 มีความคงตัวดีทางเคมีกายภาพภายใต้สภาวะอุณหภูมิห้องและสภาวะเร่ง จากผลการศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากข้าวกล้อง กข 43 มีฤทธิ์ทางชีวภาพโดยรวมดีกว่าสารสกัดข้าวขาว กข.43 จึงเหมาะกับการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชะลอวัยได้ | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5238 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | สารสกัดข้าว กข.43 | |
dc.subject | ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน | |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์ครีมและเซรั่ม | |
dc.title | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมชะลอวัย (ครีมลดเลือนริ้วรอย) ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากข้าว กข.43 | |
dc.type | Dissertation | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3689 |