การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษา

Default Image
Date
2024
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษา
Recommended by
Abstract
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษามีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาประวัติ ความเป็นมา และรูปแบบหรือเอกลักษณ์ของรายการอาหารกลางวันสวนดุสิตที่เหมาะสมตามวัยของเด็กประถมศึกษา 2) พัฒนาตำรับอาหารกลางวันสำหรับเด็กประถมศึกษา ตามมาตรฐานข้อกำหนดการได้รับปริมาณอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กช่วงประถมศึกษา จำนวน 10 ตำรับ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารกลางวันสำเร็จรูปพร้อมบริโภคสำหรับเด็กประถมศึกษา ตามมาตรฐานข้อกำหนดการได้รับปริมาณอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กประถมศึกษา จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า แนวทางการดำเนินงานด้านอาหารและโภชนาการของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จะมีการจัดอาหารกลางวันโดยจะมีการเน้นในส่วนของคุณค่าทางโภชนาการที่เด็กประถมศึกษาได้รับเป็นประเด็นสำคัญโดยกำหนดให้อาหารกลางวัน ร้อยละ 30 ของสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน ซึ่งมีคุณค่าสารอาหารเป้าหมาย และสัดส่วนการกระจายของพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันและกำหนดอาหารโดยใช้หลักการกำหนดอาหารตามกลุ่มอาหาร และระบุปริมาณอาหารด้วยหน่วยบริโภคแบบครัวเรือน แบบธงโภชนาการ ทั้งนี้การออกแบบเมนูอาหารกลางวันของละออพลัสจะมีการออกแบบรายการอาหารออกเป็น 5 ชุดตามวัน โดยอาหารที่จัดจะเน้นความหลากหลาย เหมาะสม และส่งเสริมประสบการณ์การบริโภคอาหาร วัฒนธรรมอาหารไทยและวัฒนธรรมอาหารนานาชาติ การฝึกนิสัยการบริโภคให้กับเด็กประถมศึกษาในด้านสุขอนามัย มารยาทในการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นอีกด้วย และผลการคัดเลือกเมนูจากเมนูอาหารกลางวันต้นแบบของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ พบว่า เมนูที่ผ่านการคัดเลือกและมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษาทั้งหมด 10 เมนู ได้แก่ 1. ไก่ผัดซอสมะเขือเทศ 2. แซลมอนซอสเกรวี่ 3. ต้มจับฉ่ายใส่ไก่ 4. พะโล้ไข่ไก่และปีกไก่บน 5. แกงกะหรี่ญี่ปุ่นไก่ 6. แกงส้มผักรวมปลากะพง 7. ข้าวกะเพราไก่คลุก 8. ต้มฟักไก่ 9. ต้มยำไก่ใส่เห็ด 10. กะเพราทูน่า โดยทั้ง 10 เมนูต้องมีการนำมาทำการพัฒนาให้มีลักษณะปรากฏ และรสชาติหลังการผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแบบสเตอริไลซ์แล้วยังคงคุณค่างทางโภชนาการและด้านทางประสาทสัมผัส จากการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ-เคมี และจุลินทรีย์ ของอาหารเด็กประถมศึกษาบรรจุรีทอร์ทเพาซ์ พบว่าผลเป็นเกณฑ์คุณภาพตามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ.2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ทั้งนี้พบว่าทั้ง 10 ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคตามมาตรฐานโภชนาการสำหรับเด็กประถมศึกษา
Description
Citation
View online resources
Collections