ชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย: กรณีศึกษาชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
dc.contributor.author | สุชาดา โทผล | |
dc.contributor.author | คณะ | |
dc.date.accessioned | 2025-05-16T05:52:14Z | |
dc.date.available | 2025-05-16T05:52:14Z | |
dc.description.abstract | การศึกษาชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย: กรณีศึกษาชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชน และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมชุมชน สุขภาวะ และศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย รวมทั้งสร้างแกนนำกิจกรรมชุมชนสุขภาวะ โดยทำการเก็บรวบรวม ข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 400 ชุด เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชนในชุมชนในประเด็นที่สำคัญ 3 ด้าน คือ อาหาร การออกกำลังกาย และการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ซึ่งได้รับคืนและสมบูรณ์เพียงพอที่จะใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้ จำนวน 400 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100.00 และทำการสัมมนากลุ่มย่อย รวมทั้งอบรมแกนนำ ผลการศึกษา พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60.50 และมีอายุอยู่ระหว่าง 36 – 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.50 ส่วนมากมีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 60.50 ด้านการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 64.25 ประกอบอาชีพ ค้าขายหรือรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 27.50 และ 22.75 ตามลำดับ โดยส่วนมากมีรายได้น้อยกว่า เท่ากับ 10,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 75.85 ด้านการเจ็บป่วยด้วยโรคพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากไม่มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 45.50 2. ศักยภาพชุมชน และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมชุมชนสุขภาวะ ซึ่งพิจารณาจาก 3 ประเด็นที่สำคัญคือ ผู้นำชุมชน ทรัพยากรบุคคล และการสื่อสารในชุมชน พบว่า ประเด็นทั้ง 3 ประชาชนในชุมชนเห็นด้วยว่าเป็นสิ่งสำคัญของศักยภาพของชุมชนมีค่าอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 ส่วนด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยพิจารณาในประเด็นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนสุขภาวะพบว่า ประชาชนเห็นด้วยว่าตนเองและ/หรือคนในชุมชนมีส่วนร่วม โดยมีค่าอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.08 3. การศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายพบว่า รูปแบบการกิจกรรมการสร้างชุมชนสุขภาวะที่ดี ทั้ง 3 ด้าน ควรมีรูปแบบดังนี้ 1) กิจกรรมมีลักษณะที่ประชาชนสามารถทำด้วยตนเองได้ 2) กิจกรรมที่ทำต้องใช้เวลาน้อย ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพ และ 3) กิจกรรมที่ทำหากต้องมีอุปกรณ์หรือวัตถุดิบ ประกอบต้องสามารถหาได้ง่ายจากชุมชน 4. การสร้างแกนนำกิจกรรมชุมชนสุขภาวะ พบว่า กระบวนการสร้างแกนนำโดยการอบรม ให้ความรู้และการลงมือปฏิบัติจริงทำให้มีแกนนำใน 3 กลุ่มได้แก่ แกนนำการออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ แกนนำด้านอาหารสุขภาพ และแกนนำด้านการดูแลรักษาตนเอง จำนวนกลุ่มละ 10 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิก อสม. | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6751 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | ชุมชนสุขภาวะ | |
dc.subject | ศักยภาพของชุมชน | |
dc.subject | การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย | |
dc.subject | ชุมชน -- สุขภาวะ | |
dc.title | ชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย: กรณีศึกษาชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2756 |