การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

dc.contributor.authorธนพรรณ เพชรเศษ
dc.contributor.authorกัญญารัตน์ ชูเกลี้ยง
dc.contributor.authorเกษร ขวัญมา
dc.date.accessioned2025-05-29T13:37:31Z
dc.date.available2025-05-29T13:37:31Z
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการสอนความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่กับวิธีการสอนแบบเดิม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ชายและหญิง อายุระหว่าง 3-5 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มที่ใช้ในการทดลอง ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการสอนแบบบูรณาการผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 24 แผน และแบบประเมินเชิงปฏิบัติวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งที่ได้รับการจัดกิจกรรมบูรณาการผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นมีทักษะความคิดสร้างสรรค์โดยรวมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6901
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectการศึกษาปฐมวัย
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน -- การเรียนรู้
dc.subjectการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ
dc.subjectการเรียนรู้แบบบูรณาการ
dc.subjectเด็กปฐมวัย -- การคิดสร้างสรรค์
dc.titleการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2669
Files
Collections