รูปแบบการผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อมุ่งสู่มาตรฐาน GAP ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
รูปแบบการผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อมุ่งสู่มาตรฐาน GAP ในจังหวัดสุพรรณบุรี
Recommended by
Abstract
การรับรองมาตรฐานหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม หรือ Good Agriculture Practices (GAP) มีที่มาจากความจำเป็นในการยกระดับการผลิตข้าวของประเทศทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีการใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมมากถึงร้อยละ 74.28 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นนาข้าว 1,160,803 ไร่ แต่เกษตรกรยังคงประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สารเคมี มาตรฐาน GAP จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาโดยควบคุมการผลิตข้าวทั้งระบบ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนเตรียมการเข้าสู่การขอรับรองมาตรฐาน GAP ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เริ่มจากสัมภาษณ์เกษตรกรที่ไม่ปลูกข้าวตามมาตรฐาน GAP จำนวน 10 คน และสัมภาษณ์เกษตรกรต้นแบบเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP จำนวน 5 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อใช้เป็น) แนวทางขับเคลื่อนการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในการปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP ก่อนนำผลการประเมินโอกาสการผ่านการรับรองมาตรฐานที่ได้จากกิจกรรมขับเคลื่อนคืนกลับสู่เกษตรกรจำนวน 27 คน เพื่อปรับแก้วิธีการปลูกข้าวของตนเองและวางแผนในการขอรับรองมาตรฐานต่อไป ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยภายในที่สำคัญที่ทำให้เกษตรกรไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP คือ การขาดการจดบันทึกข้อมูลที่มีความละเอียด ส่วนปัจจัยภายนอกที่สำคัญ คือ ราคารับซื้อข้าวเปลือกปลอดภัยที่มีราคาไม่ต่างจากข้าวเปลือกทั่วไป และสภาพอากาศที่มีผลต่อการควบคุมคุณภาพข้าว การระบาดของวัชพืช แมลงศัตรูข้าว และโรคพืช ส่วนแนวทางปฏิบัติที่ดีของเกษตรกรต้นแบบ ได้แก่ การตรวจสอบสภาพน้ำเบื้องต้นด้วยการสังเกตสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก การนำสิ่งของที่มีลักษณะคงทนมาประยุกต์เป็นที่เก็บสารเคมี การตัดหญ้าบริเวณคันนาแทนการใช้ยาฆ่าหญ้า การซื้อเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และการทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวก่อนลงเกี่ยวข้าวในแปลงนา หรือทดลองไถในแปลงที่ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือนก่อนเพื่อกำจัดข้าวปน แนวทางการส่งเสริมเกษตรกรเพื่อพัฒนาแผนเตรียมการเข้าสู่การขอรับรองมาตรฐาน GAP จึงอยู่บนหลักการ “ทำให้ง่าย” คือ ง่ายต่อความเข้าใจ ง่ายต่อการเข้าถึงความรู้ ง่ายต่อการเข้าถึงขั้นตอน และง่ายต่อการปฏิบัติ รูปแบบการอบรมใช้วิทยากรที่มาจากเจ้าหน้าที่สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ และเกษตรกรต้นแบบ ส่วนผู้วิจัยทำหน้าที่ประสานความรู้ทั้งด้านวิชาการและภาคปฏิบัติ ผลการประเมินโอกาสการผ่านมาตรฐาน GAP ภายหลังการอบรม พบว่า เกษตรกรทุกรายมีโอกาสผ่านการรับรองมาตรฐานทั้งหมด เพียงแต่ควรมีการเพิ่มเติมรายละเอียดเรื่องของพันธุ์ข้าวปลูก การป้องกันพันธุ์ข้าวปน และการใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับปัญหามากขึ้น ข้อเสนอแนะการนำผลจากการวิจัยไปใช้ คือ การส่งเสริมการปลูกข้าวปลอดภัยควรมีรูปแบบที่เหมาะสมตามสภาพปัญหาและตัวแปรที่มีผลต่อการตัดสินใจทำเกษตรปลอดภัย ส่วนข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรมีการผลักดันความร่วมมือกับโรงสีหรือตลาดขนาดใหญ่เกี่ยวกับราคารับซื้อข้าวที่ปลูกตามกระบวนการ GAP ส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มข้าว GAP ในการเป็นตัวแทนจำหน่ายข้าว GAP ของชุมชน และการสร้างแรงจูงใจทางสังคมนอกเหนือจากมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว GAP