การศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ในถัง UASB ของ โรงงานผลิตเอทานอล

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ในถัง UASB ของ โรงงานผลิตเอทานอล
Recommended by
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์ (Organic Loading Rate : OLR) และสารแขวนลอยที่มีผลต่อเม็ดตะกอนจุลินทรีย์และประสิทธิภาพของระบบ UASB ได้ทําการทดสอบปัจจัยต่างๆ ในระบบ UASB ระดับห้องปฏิบัติการทําจากแผ่นอะคริลิคสีใส (acrylic) ทรงสี่เหลี่ยม กว้าง 15 cm ยาว 15 cm สูง 58 cm มีพื้นที่หน้าตัด 225 cm2 ปริมาตรใช้งาน รวมถังละ 10 L เติมตะกอนเชื้อจุลินทรีย์ที่มีค่า SMA อยู่ที่ 0.21 g COD g-1 VSS day-1 ทําการเดินระบบที่มี OLR ที่ 2 gCOD/Lreactor และ 4 gCOD/Lreactor ที่ความเข้มข้นสารอินทรีย์ในรูปของซีโอดีอยู่ที่ประมาณ 16,000 mg/L มีอัตราการป้อน 0.3 L/hr มีระยะเวลาในการกักเก็บ (Hydraulic Retention Time : HRT) ประมาณ 7 วัน ภายใต้สภาวะไร้อากาศ เป็นเวลา 30 วัน พบว่าที่ OLR 2 gCOD/Lreactor ประสิทธิภาพในการกําจัดสารอินทรีย์ในรูปซีโอดีอยู่ที่ร้อยละ 85-90 แต่เมื่อเพิ่ม OLR เป็น 4 gCOD/Lreactor ประสิทธิภาพในการกําจัดสารอินทรีย์ในรูปของซีโอดีลดลง เหลือร้อยละ 35-50 ส่วนการทดสอบการเพิ่มสารแขวนลอยในน้ำเสียที่ป้อนเข้าระบบนั้นพบว่า ประสิทธิภาพในการกําจัดสารอินทรีย์ สารแขวนลอย และอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพของระบบ UASB มีค่าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ขนาดใหญ่มากกว่า 4 มิลลิเมตรลดลง จากมีอยู่ในระบบร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 0 นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทางด้านสถิติ ด้วยโปรแกรม SPSS version 17.0 ของสารแขวนลอยที่เติมและไม่เติมในน้ําเสียป้อนเข้าระบบต่อการผลิตก๊าซชีวภาพทางพบว่า p-value เท่ากับ .002 แสดงให้เห็นว่า ปริมาณก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description
Citation
View online resources
Collections