แนวทางการเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
แนวทางการเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว การจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยว และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม 3) เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านค้า ประชาชนในท้องถิ่น นักท่องเที่ยวเจ้าหน้าที่ภาครัฐ (เจ้าหน้าที่สํานักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครปฐม) และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (อบต.) กลุ่มที่ 2 คือ นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม จํานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีการของครอนบาค เท่ากับ .974 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ 1) สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นเพื่อให้ได้รายละเอียดและทิศทางในการเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากคําถามปลายเปิด ผู้วิจัยนำเสนอผลการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และสรุปการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.29 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากในทุกด้าน อันดับแรก คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท้องเที่ยว รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอํานวยความสะดวก ด้านที่พักในแหล่งท่องเที่ยว ตามลําดับ ส่วนด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นอันดับสุดท้าย 2) ปัจจัยการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยว ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากในทุกด้าน อันดับแรก คือ ด้านการการจัดการสารสนเทศ (การ นดับสุดท้าย เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของนักท่องเที่ยว) ด้านการจัดการทางกายภาพเพื่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ตามลําดับ ส่วนด้านการทําธุรกรรมทางการเงินขณะท่องเที่ยว (ด้านความสะดวกทางการเงิน) เป็น 3) ปัจจัยความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากทุกด้าน อันดับแรกคือ ด้านคุณค่าเชิงอารมณ์ รองลงมาคือ ด้านคุณค่าทางการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยว ส่วนด้านคุณค่าทาง การเงินหรือความคุ้มค้าเงิน เป็นอันดับสุดท้าย 4) ความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการจัดการโลจิสติกส์ในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า อันดับแรกคือ ด้านศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว ส่วนด้านการจัดการโลจิสติกส์ เป็นอันดับสุดท้าย 5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม คือ งอํานวยความสะดวก การจัดการสารสนเทศ (การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของนักท่องเที่ยว) การจัดการ ทางกายภาพเพื่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว โดยปัจจัยทั้ง 7 ด้าน สามารถอธิบายการผันแปรตาม คือ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม ได้ร้อยละ 79.0 แสดงเป็นสมการได้ดังนี้ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม = 0.250 + 0.365 (ด้านสิ่งอํานวยความสะดวก) + 0.275 ด้านการจัดการสารสนเทศ (การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของนักท่องเที่ยว) + 0.232 (ด้านการจัดการทางกายภาพเพื่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว) + 0.052 (ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว) แนวทางการเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว ดังนี้ 1. ด้านสิ่งอํานวยความสะดวก แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม ควรมีร้านค้าที่จําหน่าย อาหารเครื่องดื่มที่เพียงพอและหลากหลาย ควรนําร้านค้า ร้านอาหารต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด นครปฐม มาขายในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ส่วนร้านขายของที่ระลึกนั้นสินค้าควรน่าสนใจ และไม่แพง ควรพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับผู้สูงอายุและคนพิการให้ได้มาตรฐาน ควรพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้มีที่นั่งพักเป็นระยะ ๆ และหลาย ๆ จุด เพื่อผู้สูงอายุ เด็ก และสตรีมีครรภ์ ควรมีรถเข็น เด็กให้บริการและมีจุดให้บริการเปลี่ยนผ้าอ้อมแก่ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ควรปรับปรุงห้องสุขาภายใน ตลาดให้ได้มาตรฐานและสะอาดอยู่เสมอ อีกทั้งควรเพิ่มจํานวนห้องสุขาให้มากขึ้น 2. ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐมนั้น ควรมีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงภายในแหล่งท่องเที่ยวทุกปี ควรมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้โดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร ควรมีการพัฒนาการแสดงในรูปแบบที่สามารถสร้างความตื่นเต้นเร้าใจ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ควรมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ของสถานที่ท่องเที่ยว ควร เพิ่มสถานที่พักผ่อนบริเวณแหล่งท่องเที่ยวให้เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว ควรปรับปรุง พื้นที่พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว ควรเพิ่มการดูแลเรื่องความสะอาดของ สถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงควรมีการฟื้นฟูสภาพแหล่งท่องเที่ยวในส่วนที่เสื่อมโทรมให้ใหม่อยู่เสมอ ควรดูแลให้สถานที่ท่องเที่ยวมีความปลอดภัย 3. ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวควรเพิ่มป้ายบอกทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ เพื่อความสะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยว ควรมีสถานที่จอดรถให้เพียงพอแก่จํานวนนักท่องเที่ยว ควรพัฒนาบริเวณที่จอดรถให้สามารถป้องกันแดดและฝนได้ นอกจากนี้แหล่งท่องเที่ยวควรมีการเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ เพื่อส่งต่อนักท่องเที่ยว และควรเพิ่มสถานที่นั่ง พักผ่อน หย่อนใจ ค 4. ด้านที่พักในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ควรมีที่พักหลากหลายตามความต้องการทั้งราคา ประหยัดและราคาแพง และต้องได้มาตรฐาน ทั้งในเรื่องของความสะอาดและรสชาติของอาหาร 5. ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวควรมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย และสอดคล้องกับบรรยากาศของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ และไม่ซ้ํากับที่อื่น ๆ ควรจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ติดตามและเข้าร่วมกิจกรรมโดยสามารถวางแผนการท่องเที่ยวไว้ล่วงหน้าได้ อย่างไรก็ตาม แหล่งท่องเที่ยวควรร่วมมือกันในการบูรณาการการจัดกิจกรรม เพื่อการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นของเอกชนควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับภาครัฐ รวมถึงมีการเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เพื่อส่งต่อนักท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยว ดังนี้ 1. ด้านการจัดการสารสนเทศ (การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของนักท่องเที่ยว) แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ผ่านการจัดกิจกรรมเป็นรายปี ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ทางสื่อสังคมออนไลน์ ควรมีสตูดิโอเพื่อฉายภาพยนตร์บอกเล่าความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยว ควรผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ควรสร้างเว็บไซต์ ที่คนพิการสามารถใช้งานได้หรือมีบริการข้อมูลที่เป็นอักษรเบรลล์หรือเทคโนโลยีอื่นๆ สําหรับคนพิการตาให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ รวมถึงควรมีล่ามภาษามือหรือการสื่อสารกับคนพิการทางหู 2. ด้านการจัดการทางกายภาพเพื่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวจังหวัด นครปฐมควรเพิ่มจํานวนถนนให้มากขึ้น ควรปรับปรุงเส้นทางการเดินทางมายังจังหวัดนครปฐม รวมทั้งปรับปรุงสภาพถนนให้มีความสะอาดและสะดวกต่อการสัญจร อีกทั้งควรจัดระบบการขนส่งให้เดินทางได้สะดวกขึ้น ควรเพิ่มจํานวนโคมไฟส่องทางจากแหล่งท่องเที่ยวไปยังถนนสายหลักและมีรถ สาธารณะเพิ่มมากขึ้น ควรมีบริการรถเช่าที่ราคายุติธรรม นอกจากนี้ควรมีสถานที่แวะเที่ยวเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังควรเพิ่มป้ายบอกเส้นทางการเดินทางที่ชัดเจนและต่อเนื่องในการเดินทางไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ควรเพิ่มป้ายบอกทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ เพื่อความสะดวกในการเดินทางของ นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นรวมถึงร้านอาหาร 3. การทําธุรกรรมทางการเงินขณะท่องเที่ยว (ด้านความสะดวกทางการเงิน) แหล่งท่องเที่ยวทุกแหล่งควรพัฒนาให้มีบาร์โค้ด เพื่อความสะดวกในการชําระค่าบริการ เพราะการทํารายการง่าย