เรื่องราวและองค์ความรู้เกี่ยวกับอาหารภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารในจังหวัดตราด
dc.contributor.author | Natjaya Mekrawee | |
dc.contributor.author | ธีรนุช ฉายศิริโชติ | |
dc.contributor.author | Piramal Buntham | |
dc.contributor.author | Sorat Wisutthipath | |
dc.contributor.author | Teerin Chysirichote | |
dc.date.accessioned | 2025-02-05T07:37:20Z | |
dc.date.available | 2025-02-05T07:37:20Z | |
dc.date.issued | 2023-02-28 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์เรื่องราวของแหล่งวัตถุดิบอาหารและองค์ความรู้อาหารภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการสังเคราะห์ความรู้ ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ อำเภอบ่อไร่และอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ผลการวิจัยพบว่า (1) อำเภอบ่อไร่มีสภาพแวดล้อมเป็นป่าดงดิบชื้น พืชสำคัญที่เป็นวัตถุดิบอาหาร ได้แก่ ขิง ข่า เร่ว ระกำ กล้วยพระ และไผ่ มีสถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกเขาสลัดได อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว บ้านช้างทูน และนิเวศพิพิธภัณฑ์บ้านช้างทูน ส่วนชุมชนไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ เป็นชุมชนริมทะเลชายฝั่ง ชุมชนตระหนักถึงทรัพยากรธรรมชาติยังคงมีการอนุรักษ์การทำประมงพื้นบ้านและความเชื่อด้านอาชีพประมง รวมถึงมีการจัดตั้งธนาคารปูม้า (2) อาหารภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ แกงไก่กล้วยพระที่รับประทานพร้อมข้าวเหนียวมูนห่อใบละป้างของชาวชอง บ้านช้างทูน และขนมบันดุ๊กจากตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ ซึ่งความรู้ที่ได้นำไปสู่การถ่ายทอดและการพัฒนาอาหารภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่คนรุ่นหลังสืบไป | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/2786 | |
dc.publisher | วารสารวัฒนธรรมอาหารไทย. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 4(2): 29-40 | |
dc.subject | องค์ความรู้ | |
dc.subject | อาหารภูมิปัญญา | |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร | |
dc.subject | จังหวัดตราด | |
dc.title | เรื่องราวและองค์ความรู้เกี่ยวกับอาหารภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารในจังหวัดตราด | |
mods.location.url | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jfood/article/view/264185 |