การเพิ่มมูลค่าส่วนเหลือทิ้งจากพืชเศรษฐกิจ (เถ้าชานอ้อย) ของประเทศไทย โดยเตรียมเป็นวัสดุฐานรองรับตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับกระบวนการผลิตไบโอ ดีเซลชุมชนแบบลดต้นทุน
dc.contributor.author | พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค | |
dc.contributor.author | สรรค์ชัย เหลือจันทร์ | |
dc.contributor.author | นิสุฎา อิ่มเสถียร | |
dc.date.accessioned | 2025-07-03T04:00:04Z | |
dc.date.available | 2025-07-03T04:00:04Z | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เป็นการสังเคราะห์ฐานรองรับซิลิกาและแคลเซียมออกไซด์ (CaO-SiO2) จากเปลือกไข่และชานอ้อยซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธ์ ในการผลิตน้ำมัน ไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มโดยใช้กระบวนการทรานเอสเทอริฟิเคชั่น การเตรียมฐานรองรับซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยเตรียมได้โดยนำเถ้าชานอ้อยมากระตุ้นด้วยกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 550 oC เป็นเวลา 6 ชั่วโมง สารละลายแคลเซียมอะซิเตตเตรียมได้จากเปลือกไข่ด้วยวิธี จุ่บชุบ (Impregnation) โดยนำซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยมาเคลือบด้วยสารละลายแคลเซียมอะซิเตต จากนั้นให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 1000 oC เป็นเวลา 6 ชั่วโมง นำมาวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ (XRD) ศึกษาความเป็นเบสด้วยวิธี Hammett indicator และทดสอบหาพื้นที่ผิวความเป็นเบสด้วยวิธี Hammett titration ผลของการผลิตน้ำมันปาล์มด้วย กระบวนการทรานเอสเทอริฟิเคชั่นที่มีฐานรองรับซิลิกาและตัวเร่งปฏิกิริยาแคลเซียมออกไซด์ พบว่า ได้ปริมาณเมทิลเอสเทอร์สูงถึง 50% โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา : เมทานอล : น้ำมันปาล์ม ที่อัตราส่วน 8 : 45 : 100 ใช้อุณหภูมิ 65 oC เป็นเวลา 3 ชั่วโมง | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7222 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | ไบโอดีเซล | |
dc.subject | เถ้าชานอ้อย | |
dc.title | การเพิ่มมูลค่าส่วนเหลือทิ้งจากพืชเศรษฐกิจ (เถ้าชานอ้อย) ของประเทศไทย โดยเตรียมเป็นวัสดุฐานรองรับตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับกระบวนการผลิตไบโอ ดีเซลชุมชนแบบลดต้นทุน | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2768 |