แนวทางการพัฒนา ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
แนวทางการพัฒนา ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสถานภาพส่วนบุคคลกับระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (เกรดเฉลี่ยรวม (GPA)) ของนักศึกษา และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ส่วนของข้อมูลเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาภาคปกติ ระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในแต่ละหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในกรุงเทพมหานคร ชั้นปีที่ 3 รหัส 58 ทั้ง 7 คณะ โดยใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 370 ชุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารคณะที่จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี จำนวน 7 คน ซึ่งสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเรื่องการศึกษา การจัดการศึกษา แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ลักษณะทั้ง 3 ด้าน (ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข) อยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ เมื่อเปรียบเทียบสถานภาพส่วนบุคคลกับระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาที่มีสถานภาพส่วนบุคคล เพศ คณะที่ศึกษา หลักสูตรที่ศึกษา และเกรดเฉลี่ยรวม (GPA) ที่แตกต่างกันมีระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสถานภาพครอบครัวที่แตกต่างกันมีระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์กับเกรดเฉลี่ยรวม (GPA) ของนักศึกษาโดยใช้สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยควรมีการกำหนดนโยบายและแนวทางต่าง ๆ ที่ชัดเจนในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา หรือกำหนดหน่วยงานกลางในการดูแลรับผิดชอบ มุ่งเน้นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาในหลาย ๆ ด้าน ผ่านกิจกรรม โครงการจากส่วนกลางของมหาวิทยาลัยที่เป็นรูปธรรมควบคู่กับการเรียนการสอนในแต่ละเทอมอย่างต่อเนื่อง มิใช่กำหนดหน้าที่ให้อาจารย์หรือบุคลากรผู้ใดผู้หนึ่ง หรือหน่วยงานด้านใดหน่วยงานหนึ่งของคณะที่ต้องรับผิดชอบในการพัฒนา อย่างไรก็ตามคณะก็ควรส่งเสริม สร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรในคณะ จัดกระบวนการเรียนการสอนหรือการจัดฝึกอบรมที่สอดแทรกกิจกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา ผ่านการออกแบบกิจกรรม การจัดบรรยากาศ การใช้ทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม คำนึงถึงผู้เรียนและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ พร้อมจัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาให้ดูแลนักศึกษาที่เข้มแข็ง ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นักศึกษาสามารถพูดคุย แนะนำปรึกษาได้ รวมถึงการจัดระบบการให้บริการกับนักศึกษาในหลายช่องทางผ่านระบบเว็บไซต์ หรือ Social media หรือ Facebook เป็นต้น
Description
Citation
View online resources
Collections