ศึกษาฤทธิ์ของชะเอมเทศและมะหาดต่อการยับยั้งการสร้างเม็ดสี เพื่อพัฒนา whitening cream

dc.contributor.authorทัศนีย์ พาณิชย์กุล
dc.contributor.authorประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ
dc.contributor.authorฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง
dc.contributor.authorณัฐพร บู๊ฮวด
dc.contributor.authorปิยวรรณ อยู่ดี
dc.date.accessioned2025-07-03T04:00:04Z
dc.date.available2025-07-03T04:00:04Z
dc.description.abstractมะหาดและชะเอมเทศ เป็นสมุนไพรที่มีรายงาน มีฤทธิ์ในการยับยั้ง tyrosinase และลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน การศึกษาฤทธิ์ร่วมกันระหว่างสารสกัดจากแก่นมะหาด (Al) และรากชะเอมเทศ (Gg) เป็นอีกแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพร โดย Al และ Gg ถูกสกัดด้วย 70 % และ 95 % ethanol สารสกัดถูกวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบ phenolic และ flavonoid และตรวจวิเคราะห์สาร oxyresveratrol และ glabridin ด้วย Ultra High Performance Liquid Chromatography (UHPLC) และทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ ฤทธิ์ในการยับยั้ง tyrosinase และการสร้างเม็ดสีในเซลล์เมลาโนมา B16 และศึกษาฤทธิ์ร่วมกันของสารสกัดในการยับยั้ง tyrosinase และการสร้างเมลานินในเซลล์ B16 นอกจากนี้ศึกษาความคงตัวของสารสกัดที่ถูกเก็บในอุณหภูมิ 4, 25 และ 45 C เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการศึกษา พบว่า สารสกัดมะหาดที่สกัดด้วย 95 % ethanol (Al 95) มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และการยับยั้งการทำงานของ mushroom tyrosinase และ cellular tyrosinase และยับยั้งการสร้างเมลานินในเซลล์ B16 ได้ดีกว่าสารสกัดมะหาดที่สกัดด้วย 70 % ethanol (Al 70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารประกอบ phenolic และflavonoid และพบสาร oxyresveratrol ของสารสกัด Al 95 มีมากกว่าสารสกัด Al 70 สำหรับสารสกัดชะเอมเทศที่สกัดด้วย 95 % ethanol (Gg 95) และสกัดด้วย 70 % ethanol (Gg 70) เมื่อเปรียบเทียบกัน สารสกัด Gg 95 มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการทำงานของ mushroom tyrosinase ได้ดีกว่าสารสกัด Gg 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารประกอบ phenolic และ flavonoid และพบสาร glabridin มากกว่าสารสกัด Gg 70 แต่ฤทธิ์ในการยับยั้ง cellular tyrosinase และลดการสร้างเมลานินในเซลล์ B16 ไม่แตกต่างกัน ในการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ B16 พบว่า สารสกัด Al 70 และ Al 95 ที่ความเข้มข้น ≤ 0.1 mg/ml และสารกสัด Gg 70 และ Gg 95 ที่ความเข้มข้น ≤ 0.8 mg/ml ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ B16 จึงได้เลือกสารสกัด Al 95 และ Gg 95 ศึกษาฤทธิ์ร่วมกันในการยับยั้ง tyrosinase และลดการสร้างเมลานินในเซลล์ B16 พบว่า การผสมสารสกัด Al 95 และ Gg 95 ที่ความเข้มข้นสุดท้ายเท่ากับ 0.1 mg/ml ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ โดยเฉพาะที่น่าสนใจฤทธิ์ร่วมกันระหว่างสารสกัด Al 95 และสารสกัด Gg 95 ในอัตราส่วน 9:1 สามารถลดการสร้างเมลานินในเซลล์ B16 ได้ถึง 53 % ดีกว่าการใช้สารสกัด Al 95 หรือ Gg 95 ที่ความเข้มข้น 0.1 mg/ml อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ซึ่งสารสกัด Al 95 ยับยั้งการสร้างเมลานินได้เพียง 39 % และ Gg 95 ไม่ยับยั้งการสร้างเมลานิน นอกจากนี้ยังพบว่า การเก็บสารสกัดไว้นาน 4 สัปดาห์ และอยู่ในที่อุณหภูมิสูงถึง 45 C มีผลทำให้สารประกอบ phenolic และflavonoid และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้ง mushroom tyrosinase ของสารสกัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) จึงแนะนำควรเก็บสารสกัดที่อุณหภูมิต่ำ (≤ 4 OC) จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นรายงานครั้งแรก แสดงให้เห็นว่าสารสกัดแก่นมะหาดและสารสกัดรากชะเอมเทศสามารถออกฤทธิ์ร่วมกันได้ ซึ่งมีแนวโน้มนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่อไป
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7197
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectเครื่องสำอาง
dc.subjectมะหาด
dc.subjectพฤษเคมีของมะหาด
dc.subjectกระบวนการสร้างเม็ดสี
dc.subjectมะหาด -- การสกัด
dc.subjectชะเอม -- การสกัด
dc.subjectพฤษเคมีของชะเอม
dc.titleศึกษาฤทธิ์ของชะเอมเทศและมะหาดต่อการยับยั้งการสร้างเม็ดสี เพื่อพัฒนา whitening cream
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2788
Files
Collections