การประเมินโครงการเพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนพิเศษ โปรแกรมนานาชาติ (IP) กับหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการ Education Hub กระทรวงศึกษาธิการในประเทศไทย

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การประเมินโครงการเพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนพิเศษ โปรแกรมนานาชาติ (IP) กับหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการ Education Hub กระทรวงศึกษาธิการในประเทศไทย
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปัจจัยกระบวนการและผลผลิตของโปรแกรม นานาชาติในประเทศไทย 2) ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์และถอดบทเรียนจากข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิของการจัดการศึกษาที่ผ่านมา 3) พัฒนารูปแบบการบูรณการการเรียนรู้ระหว่าง ห้องเรียนพิเศษ โปรแกรมนานาชาติ (IP) กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ตรวจสอบรูปแบบที่พัฒนาขึ้น 5) นำเสนอรูปแบบให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารโปรแกรม นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง จำนวนทั้งสิ้น 827 คนจาก 8 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ Education Hub สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็นเพื่อการประเมินโครงการจำนวน 3 ชุด คือ ชุดที่เก็บกับกลุ่มนักเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.950 กลุ่มผู้ปกครองเท่ากับ 0.979 กลุ่มครู และบุคลากรทางการศึกษาเท่ากับ 0.963 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าทางสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) ปัจจัยนำเข้า (In-Put) 1.1) ด้านครูผู้สอนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 4.15, 1.2) ด้านห้องเรียนและสื่อสนับสนุนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.93 และ 1.3) ด้านพื้นที่ดำเนินการมีระดับความพึงพอใจในอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.17 2) ปัจจัยด้านกระบวนการ (Process) 2.1) การเปิดโอกาสให้ชุมชน/ผู้ปกครอง/ คณะกรรมการสถานศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.95 2.2) ด้านการจัดการ/ความสัมพันธ์มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย4.01 2.3) ด้านอาจารย์มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 4.17 และ 2.4) บุคลากรสายสนับสนุนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 4.12 และ 3) ผลผลิตของ โครงการ (Out-Put) 3.1) ผลการดำเนินงานของโครงการ Education Hub ที่เกิดขึ้นต่อนักเรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 4.06 3.2) ความคิดเห็นต่อผลผลิตของโครงการที่เกิดขึ้นกับนักเรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 4.07 และ 3.3) ความคิดเห็นต่อพัฒนาการของตนเอง มีความพึงพอใจในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.91 2. ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ด้านความพอเพียงของงบประมาณได้รับการจัดสรร อย่างพอดี 2) ความรู้ความสามารถของบุคลากรอยู่ในระดับมาก 3) การจัดการ/การประสาน ความสัมพันธ์ ด้านครูผู้สอน ด้านห้องเรียนและสิ่งสนับสนุน อยู่ในระดับมาก 3. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่ารูปแบบที่พัฒนาอยู่ในระดับคุณภาพสูง มีความชัดเจนใน การก าหนดวิธีการที่แสดงผลลัพธ์ออกมาในกระบวนการการดำเนินงานที่ประกอบไปด้วย ปัจจัย นำเข้า กระบวนการ และผลผลิต มีลักษณะของการหมุนเวียนเปลี่ยนผันแบบพลวัต (Dynamic) ที่ เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการบริหารการจัดการให้มีความยืดหยุ่นบนฐานของความเป็นนานาชาติได้