รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์แบบฝรั่งเศสโดยชาวบ้านเกาะเกร็ด
dc.contributor.author | ยุพิน พิพัฒน์พวงทอง และคนอื่นๆ | |
dc.date.accessioned | 2025-07-03T04:00:04Z | |
dc.date.available | 2025-07-03T04:00:04Z | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ประเมินประสิทธิภาพการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน การมีส่วนร่วมการตัดสินใจของชาวบ้านในชุมชน ศึกษาวิธีการประยุกต์แนวคิดการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์แบบฝรั่งเศสสู่การบริหารการท่องเที่ยวชุมชนของหมู่บ้านรวมทั้งผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อผู้คนในชุมชน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม งานวิจัยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 กลุ่มตัวอย่างคือ ชาวชุมชนเกาะเกร็ดในจังหวัดนนทบุรี สืบค้นข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ และทุติยภูมิ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ 1. ผลการวิจัยในขั้นสืบค้นปัญหาและความต้องการของชุมชน ผลการดำเนินการวิจัยในขั้นนี้พบว่า ชุมชนเกาะเกร็ดมีทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งมีวัฒนธรรมชุมชนและประเพณีของชุมชน รวมทั้งได้เป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว “ต้นแบบ” ภาคกลาง และผลิตภัณฑ์ OTOP เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดก็ได้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Thai Geographical Indication) (GI) นับว่ามีองค์ประกอบการท่องเที่ยวหลากหลาย สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้อย่างดี 2. ขั้นตอนการวางแผนแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม คณะผู้วิจัยได้นัดพบชาวบ้านในช่วงวันเสาร์และวันอาทิตย์ ผู้ร่วมวิจัยยอมรับว่าคติความเชื่อ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม กำลังสูญหายไป ผู้ร่วมวิจัยตัดสินใจว่าการฟื้นฟูชุมชนต้องจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมและประเพณี ต้องมีแผนการตลาดการท่องเที่ยวและแผนธุรกิจการท่องเที่ยวรวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเน้นการจัดทัวร์เดินชมสถานที่สำคัญในชุมชน และทัวร์ล่องเรือชมชีวิตริมน้ำเจ้าพระยา ธรรมเนียม ประเพณีและงานเทศกาลต่างๆ เรียนรู้และลองชิมอาหารท้องถิ่น ชาวบ้านได้มีโอกาสขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยว 3. ขั้นการประเมินผลการดำเนินงาน คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวเพื่อประเมินความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่างๆ ที่ได้รับ 4. ขั้นประเมินผลที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยพบว่าการท่องเที่ยวชุมชนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง นักท่องเที่ยวผู้ให้ข้อมูลพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่างๆ พอใจที่มีโอกาสได้พบปะผู้คนและได้เพื่อนใหม่ และสมาชิกในชุมชนเองมีความสัมพันธ์ร่วมมือร่วมใจกันมากขึ้นทั้งในประเด็นร่วมมือดำเนินการจัดงานต่างๆ และการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน สำหรับผลที่เกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม ผลวิจัยพบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ระบุว่าชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อยสวยงามขึ้นกว่าเดิม แม่น้ำ ลำคลองสะอาดขึ้น นักท่องเที่ยวไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียงชาวบ้านให้ความร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7233 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | การท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ | |
dc.subject | การท่องเที่ยวชุมชน -- เกาะเกร็ด (นนทบุรี) | |
dc.title | รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์แบบฝรั่งเศสโดยชาวบ้านเกาะเกร็ด | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2809 |