การพัฒนาต้นแบบปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR และสารปรับปรุงจากวัสดุเหลือทิ้งชุมชน ร่วมกับระบบน้ำหยด เพื่อสงเสริมคุณภาพดินปลูก และยกระดับผลผลิตพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้ง

Date
2022
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาต้นแบบปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR และสารปรับปรุงจากวัสดุเหลือทิ้งชุมชน ร่วมกับระบบน้ำหยด เพื่อสงเสริมคุณภาพดินปลูก และยกระดับผลผลิตพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้ง
Authors
Recommended by
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR สูตรที่เหมาะสมร่วมกับระบบน้ำหยด โดยคัดแยกแบคทีเรีย PGPR ในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญของพืชนำมาพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR เพื่อส่งเสริมคุณภาพดินปลูกเพื่อยกระดับผลผลิตเมล่อนและข้าว ในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้ง จังหวัดสุพรรณบุรี ตามหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) เพื่อเป็นต้นแบบของชุมชน โดยเก็บแบคทีเรียรอบรากพืช นำมาคัดแยกแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์มาใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ โดยทำการทดลองที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ วิเคราะห์ผลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติแบบ F-test ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ที่ใส่น้ำหมักมูลไส้เดือน 2 ลิตร เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเมลอนพันธุ์ออเร้จน์แมน โดยแสดงค่าเฉลี่ยความกว้างใบ ค่าเฉลี่ยความยาวใบ ค่าเฉลี่ยจำนวนใบ ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของล้าต้น ค่าเฉลี่ยขนาดผล ค่าเฉลี่ยน้ำหนักผลและค่าเฉลี่ยความหวาน มีความแตกต่างกันทางสถิติ ผลการศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ต่อการเจริญของข้าวพบว่า ข้าวที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ตำรับที่ 2 มีน้ำหนักเมล็ดข้าวมากที่สุด 226.32 กิโลกรัม/ไร่ รองลงมา ได้แก่ ข้าวที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR ตำรับที่ 1 มีน้ำหนักเมล็ดข้าวเท่ากับ 120.21 กิโลกรัม/ไร่ และข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ตำรับที่ 3 มีน้ำหนักเมล็ดข้าวน้อยที่สุดเท่ากับ 103.55 กิโลกรัม/ไร่