การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามรอยวัฒนธรรมเปอรานากัน อันดามันวิถีในเขตภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวทาง Authenticity Trend : เก่าแท้ ปรุงใหม่ให้ทันสมัย

dc.contributor.authorธีรเดช ชื่นประภานุสรณ์
dc.contributor.authorประกฤติ พูลพัฒน์
dc.contributor.authorจงกล บุญชาติ
dc.contributor.authorองค์อร สงวนญาติ
dc.contributor.authorสราวุธ ชมบัวทอง
dc.contributor.authorนิพัทชนก นาจพินิจ
dc.date.accessioned2025-07-03T04:00:04Z
dc.date.available2025-07-03T04:00:04Z
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์และถอดบทเรียน จากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และหลักการของ Authenticity Trend ในบริบทของ 5 จังหวัดอันดามัน 2) ศึกษาสำรวจและรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเปอรานากัน 3) ค้นหากิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัด 4) เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มี 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ก) เชิงปริมาณคือนักท่องเที่ยวทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวน 800 คน ข) เชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ คณาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จำนวน 9 คน และ ผู้นำชุมชน ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณทางสถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบรายคู่ของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. เชิงปริมาณ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ดังนี้ ก) ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ค่าเฉลี่ย 3.97 ข) แนวโน้มทิศทางการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมใน 5 จังหวัด คือ ระนอง กระบี่ พังงา ตรัง และภูเก็ตในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ค่าเฉลี่ย 3.96 ค) กิจกรรมที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปอรานากันในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ค่าเฉลี่ย 3.98 ง) ความต้องการให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปอรานากันในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ค่าเฉลี่ย 4.02 จ) รูปแบบ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ค่าเฉลี่ย 3.94 2. เชิงคุณภาพ พบว่า ทิศทางการท่องเที่ยวในอนาคตทางวัฒนธรรมเปอรากันควร ก) เน้นการให้ความรู้ทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความประทับใจ ซาบซึ้งและความตระหนักแก่ผู้มาเยือน ข) เจ้าของสถานที่หรือครูภูมิปัญญาท้องถิ่นควรเป็นผู้นำเสนอความรู้เอง ค) รัฐควรมีการส่งเสริมหรือมี การ Promote ให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับทราบ ง) ควรมีการใช้วิธีการ หลากหลาย สื่อต่างๆ เพื่อนำเสนอให้สังคมภายนอกหรือนักท่องเที่ยวได้รับรู้รับทราบเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามรอยวัฒนธรรมเปอรานากัน จ) ควรมีวิธีการนำเสนอหรือ การ Present วัฒนธรรมที่หลากหลายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธา ฉ) ควรมีการจัดสร้างหรือพัฒนา แหล่งข้อมูลความรู้เบื้องต้นสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจจะท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามรอยวัฒนธรรม เปอรานากัน 3. รูปแบบการท่องเที่ยว ประกอบไปด้วย ก) ปัจจัยเข้า (In-Put) ได้แก่ กิจกรรมสันทนาการ แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมเปอรานากัน ข) กระบวนการ (Process) ได้แก่ การบริหารจัดการแบบเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างรัฐ เอกชน และ ประชาชน ในรูปแบบสังคมชุมชนเป็นฐาน (Community Based Management) และ ค) ผลลัพธ์ (Out-put) คือ รูปแบบที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวทางการท่องเที่ยวแบบบูรณาการระหว่างการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และ Authenticity Trend 4) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธฺภาพและมีคุณภาพอยู่ในระดับดี
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7205
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
dc.subjectพฤติกรรมการท่องเที่ยว
dc.subjectการท่องเที่ยววัด
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
dc.subjectการท่องเที่ยว
dc.titleการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามรอยวัฒนธรรมเปอรานากัน อันดามันวิถีในเขตภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวทาง Authenticity Trend : เก่าแท้ ปรุงใหม่ให้ทันสมัย
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2798
Files
Collections