การจัดการความรู้ด้านองค์ประกอบการท่องเที่ยว (5A’s) ที่สอดคล้องกับบริบทการส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

dc.contributor.authorประศาสน์ นิยม
dc.contributor.authorรุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์
dc.contributor.authorพรภัทร อินทรวรพัฒน์
dc.date.accessioned2025-05-06T07:02:40Z
dc.date.available2025-05-06T07:02:40Z
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ด้านองค์ประกอบการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทั้งภาครัฐ ชุมชน และนักท่องเที่ยว และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้านองค์ประกอบการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยการเพิ่มมูลค่าของภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อรองรับการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวภาครัฐและภาคธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิจัยเชิงปริมาณประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจ ผลการวิจัยมีดังนี้ ภาครัฐทั้งในระดับประเทศและระดับกระทรวงกำหนดนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างชัดเจน ส่วนระดับจังหวัดมีความพร้อมของทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแตกต่างกัน ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวมีความต้องการตามองค์ประกอบการท่องเที่ยว5 ด้าน เรียงตามลำดับดังนี้ 1) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) 2) ที่พัก (Accommodation) 3) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Attraction) 4) กิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) และ 5) ความสามารถในการเข้าถึงง่าย (Accessibility) กิจกรรมการท่องเที่ยเชิงส่งเสริมสุขภาพ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 2) การนวดไทยและสปา 3) การออกกำลังกาย และ 4) การพัฒนาจิตใจ ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ควรพัฒนาควบคู่กันระหว่าง EEC 4ดีองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A และกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การบ่งชี้ความรู้2) การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) การเข้าถึงความรู้ 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ 7) การเรียนรู้
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6576
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectการท่องเที่ยว
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
dc.titleการจัดการความรู้ด้านองค์ประกอบการท่องเที่ยว (5A’s) ที่สอดคล้องกับบริบทการส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3501
Files
Collections