การสังเคราะห์ถุงมือยางธรรมชาติกราฟต์ด้วยพอลิเมทิลเมทาคริเลตและเติมอนุภาคของไคโตซานและนาโนซิลเวอร์เพื่อพัฒนาผิวสัมผัสและสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรีย

dc.contributor.authorฐิตินาถ สุคนเขตร์
dc.contributor.authorวันปิติ ธรรมศรี
dc.contributor.authorสุวิทย์ นำภาว์
dc.contributor.authorเยาวเรศ ส่วนบุญ
dc.contributor.authorวีรชน ภูหินกอง
dc.contributor.authorนครินทร์ ศรีสุวรรณ
dc.date.accessioned2025-07-03T04:00:04Z
dc.date.available2025-07-03T04:00:04Z
dc.description.abstractในน้ำยางพารามีโปรตีนหลายชนิดที่จัดเป็นสารกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการสังเคราะห์ถุงมือยางธรรมชาติที่ผสมพอลิเมทิลเมทาคริเลท อนุภาคนาโนซิลเวอร์ และอนุภาคไคโตซาน เพื่อลดผิวสัมผัสและเพิ่มสมบัติการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ทำการเตรียมพอลิเมทิลเมทาคริเลทด้วยกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบบัลค์ ตรวจสอบการกราฟต์ของพอลิเมทิลเมทาคริเลทอยู่ในโครงสร้างของยางธรรมชาติด้วยเทคนิคอินฟราเรด (FTIR) ศึกษาความขรุขระบนพื้นผิวของแผ่นฟิล์มยางด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดใช้เลเซอร์ในการสแกน (CLSM) พบว่า น้ำยางธรรมชาติที่ผสมพอลิเมทิลเมทาคริเลท มีพื้นผิวความขรุขระเพิ่มขึ้น 12.41 % เมื่อเทียบกับยางธรรมชาติ อนุภาคนาโนซิลเวอร์ถูกเตรียมด้วยวิธีรีดักชันทางเคมี ตรวจสอบขนาดอนุภาคด้วยเครื่องวัดขนาดอนุภาค มีขนาดอนุภาคเฉลี่ย 259 นาโนเมตร ส่วนอนุภาคไคโตซานสังเคราะห์จากแกนหมึก ตรวจสอบสมบัติเฉพาะด้วยเทคนิคอินฟราเรด (FTIR) เติมอนุภาคนาโนซิลเวอร์ 1, 3 และ 5 % และเติมอนุภาคไคโตซาน 1, 2 และ 3 % ในน้ำยางธรรมชาติที่มีพอลิเมทิลเมทาคริเลท ทดสอบสมบัติการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus (S. aureus) และ Escherichia coli (E. coli) พบว่า อนุภาคนาโนซิลเวอร์ 1 % และอนุภาคไคโตซาน 2% สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิด ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่เวลา 8 ชั่วโมง และพบว่า การกระจายตัวของอนุภาคนาโนซิลเวอร์กระจายตัวในยางธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ ถุงมือที่สังเคราะห์ได้ผ่านสมบัติมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 1056-2548
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7184
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectยางธรรมชาติ
dc.subjectพอลิเมทิลเมทาคริเลต
dc.subjectไคโตซาน
dc.titleการสังเคราะห์ถุงมือยางธรรมชาติกราฟต์ด้วยพอลิเมทิลเมทาคริเลตและเติมอนุภาคของไคโตซานและนาโนซิลเวอร์เพื่อพัฒนาผิวสัมผัสและสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรีย
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2805
Files
Collections