การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุกของนักศึกษา
dc.contributor.author | อัษฎา พลอยโสภณ | |
dc.contributor.author | รัตนาพร หลวงแก้ว | |
dc.contributor.author | นงเยาว์ นุชนารถ | |
dc.date.accessioned | 2025-04-01T04:20:28Z | |
dc.date.available | 2025-04-01T04:20:28Z | |
dc.date.issued | 2022 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการของการพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวที่เสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวฯ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริหารงานแนะแนวฯ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการฯ ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประกอบด้วย กรุงเทพฯ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษานครนายก ศูนย์การศึกษาลำปาง จำนวน 250 คน กลุ่มตัวอย่าง เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานแนะแนวฯ ได้แก่ กรุงเทพฯ จำนวน 35 คน และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการฯ 2) แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง 3) แบบวัดกลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุก 4) แบบสอบความความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการงานแนะแนวฯ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIModified) การวิเคราะห์เนื้อหาจากโปรแกรม QDA Miner Lite Program และการวิเคราะห์ผลทางสถิติแบบ t-test ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียด ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โครงสร้างการบริหาร กิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการนักศึกษา และการกำหนดหน้าที่ของผู้ปกครอง มีความต้องการจำเป็นสูงสุด ด้านกระบวนการ พบว่า บริการสนเทศ การป้องกันปัญหา การแนะแนวอาชีพ มีความต้องการจำเป็นสูงสุด ด้านผลผลิต พบว่า มีการให้บริการปรึกษาเมื่อนักศึกษาเผชิญความเครียด มีกิจกรรมเสริมสร้างทักษะเผชิญความเครียด และนักศึกษามีทัศนคติเชิงบวกต่อตนเองและสถานศึกษา มีความต้องการจำเป็นสูงสุด 2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ การบริหารจัดการ (Administrative) บุคลากร (Staff) กิจกรรม (Activity) วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) และการประเมินผล (Assessment) 3. ผลศึกษาการใช้รูปแบบการบริหารงานแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุก พบว่า รูปแบบการบริหารงานแนะแนวสามารถเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุก ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5833 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | การบริหารงานแนะแนว | |
dc.subject | นักศึกษา -- ความเครียด | |
dc.subject | งานแนะแนว -- การพัฒนารูปแบบ | |
dc.subject | การศึกษาระดับอุดมศึกษา -- งานแนะแนว | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดเชิงรุกของนักศึกษา | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3712 |