กระบวนการยกระดับคุณภาพการบริการของแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี
dc.contributor.author | สฤษดิ์ ศรีโยธิน | |
dc.contributor.author | ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล | |
dc.contributor.author | พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ | |
dc.contributor.author | จิรัฐ ชวนชม | |
dc.contributor.author | อัมพร ศรีประเสริฐสุข | |
dc.contributor.author | ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน | |
dc.contributor.author | พรเพ็ญ ไตรพงษ | |
dc.date.accessioned | 2025-04-01T04:20:28Z | |
dc.date.available | 2025-04-01T04:20:28Z | |
dc.date.issued | 2022 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มุ่งศึกษา ดังนี้ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคาดหวังในการบริการกับระดับคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการสำหรับผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร ได้แก่ ผู้ให้บริการแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี มีผลรวมความคาดหวังในการบริการที่มีต่อแหล่งเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (คิดเป็นร้อยละ 80.71 จากคะแนนเต็ม 7) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยว ประเมินความพร้อมในการบริการที่ได้รับจากที่อื่นสูงกว่าสิ่งที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการบริการที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ด้านความสุภาพ อย่างคงเส้นคงวาไม่พบความแตกต่าง ผลการศึกษาระดับคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการ และวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาใช้บริการ พบว่า อยู่ในระดับมากเกิน 5.60 คะแนน (ร้อยละ 80 จากคะแนนเต็ม 7) ยกเว้นคุณภาพการบริการด้านการเห็นอกเห็นใจ (ค่าเฉลี่ย = 5.56) และด้านสิ่งที่สัมผัสได้ (ค่าเฉลี่ย = 5.41) 2) ผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี มีการพัฒนาคุณภาพบริการแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการ (ค่าเฉลี่ย = 4.03) ซึ่งเป็นเพียงด้านเดียว ที่มีค่าเฉลี่ยเกิน 4.00 คะแนน (ร้อยละ 80 จากคะแนนเต็ม 5) ส่วนในด้านอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ 3) กระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการและวิทยากรในแหล่งเรียนรู้เพื่อ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสำรวจความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการ (2) ปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพ การบริการในด้านต่าง ๆ (3) พัฒนาวิทยากร/นักสื่อความหมายให้มีคุณภาพ และ (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้คุณภาพการบริการ | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5823 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | คุณภาพการบริการ | |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร | |
dc.title | กระบวนการยกระดับคุณภาพการบริการของแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3709 |